การรักษาและฟื้นฟูด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู ของ เวชศาสตร์ฟื้นฟู

ยกตัวอย่าง เช่น

  • การตรวจ รักษา และฟื้นฟูผู้ป่วยและผู้พิการทางกายและการเคลื่อนไหว ทั้งผู้ป่วยที่นอนในโรงพยาบาลและผู้ป่วยนอก (ไป-กลับ)
  • การตรวจสภาพเส้นประสาท ระบบประสาท และกล้ามเนื้อ ด้วยวิธีการทางไฟฟ้าวินิจฉัย (ใช้ไฟฟ้ากระตุ้นในตรวจ) หรือเรียกว่า ELECTRODIAGNOSTIC STUDY
  • การรับผู้ป่วยทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูไว้นอนในโรงพยาบาล เพื่อทำการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ (ในกรณีที่มีหอผู้ป่วย หรือเตียงเฉพาะ)
  • การรักษาเฉพาะที่ต่างๆ เช่น การฉีดยาเฉพาะที่เพื่อลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ (Local antispastic agent injection) , การฉีดยาเฉพาะจุดเพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อ (Myofascial pain release injection) , การฉีดยาเข้าข้อต่อหรืออวัยวะต่างๆเพื่อลดการอักเสบ (Anti-inflammatory agent injection) เป็นต้น
  • การตรวจประเมิน รักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ และป้องกันการเป็นซ้ำ แก่ผู้ป่วยที่มีความผิดปรกติทางการเคลื่อนไหว ทั้งที่เป็นมาแต่กำเนิด หรือเป็นในภายหลัง เช่น อัมพาตครึ่งซีกจากโรงหลอดเลือดสมอง (Cerebral vascular disorder) , อัมพาตจากภาวะไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ (Spinal cord injury) , ความผิดปรกติทางการเคลื่อนไหวและพฤติกรรมภายหลังสมองได้รับบาดเจ็บ (Traumatic brain injury) เป็นต้น
  • การตรวจประเมิน รักษา และฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีโรคหรือความผิดปรกติของระบบกล้ามเนื้อ และข้อต่อ รวมถึงผู้ป่วยหลังการผ่าตัดทางออร์โธปิดิคส์ (กระดูกและข้อ) อีกด้วย
  • การตรวจประเมินการทำงานของระบบควบคุมการถ่ายปัสสาวะส่วนล่าง (ตั้งแต่กระเพาะปัสสาวะลงมา) ด้วยเครื่องยูโรพลศาสตรN (Urodynamic study) และให้การรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาการถ่ายปัสสาวะซึ่งมีความผิดปรกติจากการควบคุมด้วยระบบประสาท (Neurogenic bladder dysfunction)
  • ให้การรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาการถ่ายอุจจาระซึ่งมีความผิดปรกติจากการควบคุมด้วยระบบประสาท (Neurogenic bowel dysfunction)
  • การตรวจประเมิน และออกเอกสารรับรองความพิการ สำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหวชนิดต่างๆ
  • การตรวจประเมิน และสั่งการรักษาด้วยกายอุปกรณ์เทียม (Prostheses หรือคืออวัยวะเทียมนั่นเอง) สำหรับผู้พิการแขน-ขาขาด (Limb amputation)
  • การตรวจประเมิน และสั่งการรักษาด้วยด้วยกายอุปกรณ์เสริม (Orthoses หรือคือเครื่องประคองร่างกายชนิดต่างๆ) สำหรับผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ เช่น ปวดหลังที่บั้นเอว, เส้นเอ็นมือขาด, ข้อเท้าตก เป็นต้น
  • การตรวจประเมิน รักษา และกระตุ้นพัฒนาการ (Early intervention) สำหรับผู้ป่วยเด็กกลุ่มต่างๆที่มีความพิการ (Child disabled) เช่น มีปัญหาพัฒนาการช้า มีปัญหาทางการเคลื่อนไหว หรือพิการทางสมอง เป็นต้น
  • การตรวจประเมินหาสาเหตุ และรักษาฟื้นฟูสภาพ แก่ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวด (Pain) ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การฉีดยาคลายจุดเจ็บปวดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ (Trigger point injection) การทำกายภาพบำบัด การฝังเข็ม (Acupuncture) การออกกำลังแบบต่างๆ (อาทิ การยืดกล้ามเนื้อ, การออกกำลังเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เป็นต้น) การฉีดยาเข้าข้อ เป็นต้น
  • การตรวจประเมิน รักษา และให้การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหัวใจ (Cardiac rehabilitation) ประเภทต่างๆ (เช่น โรคหัวใจขาดเลือด, ลิ้นหัวใจรั่ว ฯลฯ) ทั้งก่อนและหลังการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดหรือสวนหัวใจ
  • การตรวจประเมิน รักษา และให้การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคทางปอด (Pulmonary rehabilitation) กลุ่มต่างๆ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD ซึ่งมักเกิดจากการสูบบุหรี่) เป็นต้น
  • การตรวจประเมิน รักษา และฟื้นฟูผู้ที่บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือนักกีฬาที่บาดเจ็บ รวมถึงการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์เพื่อเพิ่มสมรรถภาพแก่นักกีฬาอีกด้วย (Sport clinic)
  • การตรวจประเมิน รักษา ฟื้นฟู และป้องกันภาวะแทรกซ้อนหรือการกลับเป็นซ้ำ สำหรับผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็นต้น
  • การประชุมและให้ปรึกษาระหว่างทีมผู้รักษา กับผู้ป่วย/ผู้พิการและญาติ (Team meeting)
  • การฟื้นฟูนอกสถานพยาบาล เช่น การฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องที่บ้าน (Home-based rehabilitation) หรือ ในชุมชน (Community-based rehabilitation) เป็นต้น
  • ฯลฯ

ใกล้เคียง

เวชศาสตร์ฟื้นฟู เวชศาสตร์ฉุกเฉิน เวชศาสตร์ป้องกัน เวชศาสตร์การกีฬา เวชศาสตร์ชะลอวัย เวชศาสตร์อิงหลักฐาน เวชศาสตร์ เวชศาสตร์ชันสูตร นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย เวชสารสนเทศ