เวชศาสตร์ฟื้นฟูในประเทศไทย ของ เวชศาสตร์ฟื้นฟู

ในอดีต เคยมีการจัดตั้งสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟูในประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ต่อมาถูกระงับโครงการไป และได้มีงานกายภาพบำบัดขึ้นมาทดแทน ต่อมาเมื่อเกิดสงครามเวียดนามขึ้น ทางราชการได้เล็งเห็นว่าสมควรจะมีแพทย์ทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูขึ้นในประเทศไทยอีกครั้ง โดยการส่งแพทย์ไปเรียนต่อยังต่างประเทศและเปิดแผนกขึ้นมาในโรงพยาบาลของทหาร และของมหาวิทยาลัยต่างๆ

ภายหลังเมื่อจึงมีการจัดอัตราแผนกเวชกรรมฟื้นฟูในโรงพยาบาลส่วนภูมิภาคต่างๆขึ้น โดยจัดให้มีแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู งานกายภาพบำบัด งานกิจกรรมบำบัด และงานกายอุปกรณ์ แต่เนื่องจากแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและนักกิจกรรมบำบัดในประเทศไทยมีจำนวนไม่มากนักและศักยภาพของแต่ละโรงพยาบาลไม่เท่ากัน จึงทำให้ในบางจังหวัดยังไม่มีแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและนักกิจกรรมบำบัด อีกทั้งการจัดหอผู้ป่วยเฉพาะทางเวชกรรมฟื้นฟูมีได้เพียงแค่ในบางโรงพยาบาลเท่านั้น

อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษา ฟื้นฟู และให้คำแนะนำได้ ในโรงพยาบาลของรัฐระดับโรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยต่างๆ โรงพยาบาลของทหารและตำรวจบางแห่ง ที่มีการให้บริการ นอกจากนี้ในโรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง และในโรงพยาบาลชุมชน (โรงพยาบาลอำเภอ) บางโรง อาจมีการเปิดบริการงานเวชศาสตร์ฟื้นฟูอีกด้วย

อนึ่ง แต่ละโรงพยาบาล อาจมีบุคลากร และ/หรือ ชนิดของการรักษาและฟื้นฟูต่างๆไม่เท่ากัน ขึ้นกับรูปแบบและศักยภาพของโรงพยาบาลนั้นๆ

ใกล้เคียง

เวชศาสตร์ฟื้นฟู เวชศาสตร์ฉุกเฉิน เวชศาสตร์ป้องกัน เวชศาสตร์การกีฬา เวชศาสตร์ชะลอวัย เวชศาสตร์อิงหลักฐาน เวชศาสตร์ เวชศาสตร์ชันสูตร นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย เวชสารสนเทศ