ความหมายของเวลาแบบวิทยาศาสตร์ ของ เวลา

หน่วยของเวลาที่ควรทราบ
หน่วยขนาด
นาโนวินาที1/1,000,000,000 วินาที
ไมโครวินาที1/1,000,000 วินาที
มิลลิวินาที1/1,000 วินาที
วินาทีหน่วยฐานในระบบเอสไอ
นาที60 วินาที
ชั่วโมง60 นาที
วัน24 ชั่วโมง
สัปดาห์7 วัน
ปักษ์14 หรือ 15 วัน; 2 สัปดาห์
เดือน28 ถึง 31 วัน
ไตรมาส3 เดือน
ปี (ปีปฏิทิน)12 เดือน
ปีสุริยคติ365.24219 วัน (โดยเฉลี่ย)
ทศวรรษ10 ปี
ศตวรรษ100 ปี
สหัสวรรษ1,000 ปี
ทศสหัสวรรษ10,000 ปี

ตามระบบหน่วยเอสไอ[7] ได้กำหนดให้หน่วยของเวลาเป็น วินาที ดังมีนิยามต่อไปนี้

วินาที มีค่าเท่ากับระยะเวลาที่เกิดการแผ่รังสีกลับไปมาระหว่างอะตอมซีเซียม-133 ที่บริสุทธิ์อย่างยิ่งยวด และอยู่ในสถานะพื้น สองอะตอม 9 192 631 770 ครั้ง (ไป-กลับ นับเป็น 1 ครั้ง)

โลก ถูกแบ่งออกเป็นเขตเวลาต่าง ๆ โดยกำหนดให้โดยเฉลี่ย 1 เขต กินเนื้อที่ 15 องศาของลองจิจูด (แต่อาจจะปรับได้ตามเขตแดนของแต่ละรัฐหรือประเทศ) แต่ละเขตเวลามีเวลามาตรฐานจากการบวกหรือลบชั่วโมงตามลองจิจูดที่อยู่ออกจากเวลามาตรฐานกรีนิช บางทีอาจจะบวกเวลาออมแสง (daylight saving time) ได้ตามความเหมาะสม ในบางกรณีที่ต้องการปรับแก้เวลาให้ตรงกับเวลาสุริยคติเฉลี่ย ก็สามารถบวกอธิกวินาที (leap second) ได้

แหล่งที่มา

WikiPedia: เวลา http://www.friesian.com/space.htm#clarke http://www.friesian.com/space.htm#kant http://plato.stanford.edu/archives/sum2004/entries... http://plato.stanford.edu/archives/win2004/entries... http://plato.stanford.edu/archives/win2007/entries... http://plato.stanford.edu/entries/newton-stm/ http://plato.stanford.edu/entries/spacetime-bebeco... http://www-philosophy.ucdavis.edu/mattey/kant/TIME... http://www.iep.utm.edu/k/kantmeta.htm#H4/ http://www.iep.utm.edu/l/leib-met.htm#H7/