เวเลนซ์และสถานะออกซิเดชัน ของ เวเลนซ์

เนื่องจากความกำกวมของคำว่าเวเลนซ์ การใช้เลขออกซิเดชันในการอ่านชื่อสารแบบสตอก (Stock nomenclature) ของสารประกอบโคออร์ดิเนชัน (coordination compounds) [4]รวมถึงการใช้สัญกรณ์แลมบ์ดา (lambda notation) ในการอ่านชื่อสารอนินทรีย์[5] จึงจำเป็นต้องแยกความแตกต่างของคำว่า เวเลนซ์ และ สถานะออกซิเดชัน

สถานะออกซิเดชันนั้นพิจารณาการสูญเสียหรือได้รับอิเล็กตรอนเมื่ออะตอมเกิดพันธะเคมี โดยพิจารณาประจุได้จากการประมาณแบบไอออนิก (ionic apprximation) ซึ่งพิจารณาการมีส่วนร่วมของแต่ละอะตอมในออร์บิทัลเชิงโมเลกุล (MO) หรือพิจารณาได้จากค่าอิเล็กโตรเนกาทิวิตีแบบอัลเลน (Allen's electronegativity) ซึ่งสถานะออกซิเดชันของอะตอมอาจจะมีค่าเป็นบวกหรือลบ และอาจเป็นจำนวนเต็มหรือไม่ก็ได้[6] ในขณะที่เวเลนซ์เป็นค่าจำนวนเต็มบวกเท่านั้น

ตัวอย่างสารประกอบที่เวเลนซ์มีค่าตรงกับค่าสัมบูรณ์ของสถานะออกซิเดชัน

สารประกอบสูตรเวเลนซ์สถานะออกซิเดชัน
ไฮโดรเจนคลอไรด์HClH = 1   Cl = 1H = +1   Cl = −1
กรดเพอร์คลอริกHClO4H = 1   Cl = 7   O = 2H = +1   Cl = +7   O = −2
โซเดียมไฮไดรด์NaHNa = 1   H = 1Na = +1   H = −1
เฟอร์รัสออกไซด์FeOFe = 2   O = 2Fe = +2   O = −2
เฟอร์ริกออกไซด์Fe2O3Fe = 3   O = 2Fe = + 3   O = −2

ตัวอย่างสารประกอบที่เวเลนซ์มีค่าไม่ตรงกับค่าสัมบูรณ์ของสถานะออกซิเดชัน

สารประกอบสูตรเวเลนซ์สถานะออกซิเดชัน
คลอรีนCl2Cl = 1Cl = 0
ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์H2O2H = 1   O = 2H = +1   O = −1
อะเซทิลีนC2H2C = 4   H = 1C = −1   H = +1
เมอร์คิวรี(I)คลอไรด์Hg2Cl2Hg = 2   Cl = 1Hg = +1   Cl = −1

เวเลนซ์อาจจะแตกต่างจากค่าสัมบูรณ์ของสถานะออกซิเดชันเนื่องจากความแตกต่างของสภาพขั้วของโมเลกุล เช่น ไดคลอโรมีเทน (CH2Cl2) คาร์บอนมีเวเลนซ์เท่ากับ 4 แต่มีสถานะออกซิเดชันเท่ากับ 0 เป็นต้น

ใกล้เคียง