เส้นแบ่งความยากจน
เส้นแบ่งความยากจน

เส้นแบ่งความยากจน

เส้นแบ่งความยากจน (อังกฤษ: poverty line) หรือ ขีดแบ่งความยากจน (อังกฤษ: poverty threshold) เป็นระดับรายได้ซึ่งถือว่าเพียงพอแก่การดำรงชีพในประเทศหนึ่ง[1] ในทางปฏิบัติ เช่นเดียวกับนิยามของความยากจน เส้นแบ่งในประเทศพัฒนาแล้วมักอยู่สูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา[2][3] เส้นแบ่งความยากจนนานาชาติในอดีตอยู่ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน[4] ใน ค.ศ. 2008 ธนาคารโลกได้ปรับตัวเลขนี้เป็น 1.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน โดยให้เทียบกับความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (PPP) ณ ค.ศ. 2005[5]การกำหนดเส้นแบ่งความยากจนมากจะทำโดยการหาค่าใช้จ่ายทั้งปวงที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของคนวัยผู้ใหญ่เฉลี่ยตลอดหนึ่งปี[6] ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่มักเป็นค่าเช่าสำหรับการอยู่อาศัยในอพาร์ตเมนต์ ดังนั้นนักเศรษฐศาสตร์จึงมักให้ความใส่ใจกับตลาดอสังหาริมทรัพย์และราคาที่อยู่อาศัยว่าเป็นตัวกำหนดเส้นแบ่งความยากจนที่สำคัญ ปัจจัยในชีวิตของปัจเจกบุคคลที่นำเข้ามาพิจารณาด้วยก็ได้แก่ สถานภาพการเป็นพ่อแม่ ความชราภาพ การแต่งงาน เส้นแบ่งความยากจนอาจถูกปรับใหม่ทุกปีได้

ใกล้เคียง

เส้นแบ่งเขตแดนไทย เส้นแบ่งเขตวันสากล เส้นแบ่งความยากจน เส้นแบ่ง (มุทราศาสตร์) เส้นแวง เส้นแกงร้อน เส้นแสงที่สูญหาย เราร้องไห้เงียบงัน เส้นทางแชมเปียนส์ภายในประเทศยูฟ่ายูธลีก ฤดูกาล 2017–18 เส้นทางแพรไหม เส้นทางแซ็ง-ฌากส์-เดอ-กงโปสเต็ล