ปฏิกิริยา ของ เหตุขบวนเสด็จฯ_ผ่านที่ชุมนุมบริเวณถนนพิษณุโลก_14_ตุลาคม_พ.ศ._2563

อานนท์ นำภากล่าวหาว่ามีผู้จงใจจัดขบวนเสด็จฯ ฝ่ากลุ่มผู้ชุมนุม[7] สุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ กล่าวหาว่าพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง และว่าตนสงสัยว่าอาจเกิดรัฐประหาร[8] ด้าน นพเก้า คงสุวรรณ ผู้สื่อข่าวประจำหนังสือพิมพ์ข่าวสด​ ตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดไม่มีการเคลียร์เส้นทางตามแบบปฏิบัติมาแต่รัชกาลก่อน และไม่ใช่เส้นทางอื่นโดยรอบที่ไม่มีผู้ชุมนุม[9]

คืนวันเดียวกัน ประยุทธ์กล่าวหาว่าผู้ประท้วงขวางขบวนเสด็จฯ และมีการดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ และเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบ[10] วันที่ 15 ตุลาคม ตั้งแต่เวลา 4.00 น. ประยุทธ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานครโดยอ้างเหตุขวางขบวนเสด็จฯ ดังกล่าว[11] และสลายการชุมนุมของคณะราษฎรบริเวณรอบทำเนียบรัฐบาลไทย[12][13] และมีผู้ถูกจับกุม 20 คน เป็นแกนนำ 3 คน[14] มีการตั้งกองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (กอร.ฉ.) และสั่งห้ามเผยแพร่สื่อที่เผยแพร่เนื้อหาเข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคง[14] นายตำรวจ 3 นายถูกสั่งย้ายและสอบสวน[15]

มีนักกิจกรรม 2 คนถูกจับกุมฐานพยายาม "ประทุษร้ายต่อเสรีภาพของพระราชินี" (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 110)[16][17] ซึ่งต่อมาได้รับประกันตัว[18]

หลังจากนั้นการประท้วงยังดำเนินต่อไป แม้ว่าตำรวจแจ้งว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดของ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในวันที่ 16 ตุลาคม มีการสลายการชุมนุมอย่างสงบที่แยกปทุมวันด้วยปืนฉีดน้ำแรงดันสูง[19][20] และผู้บัญชาการตำรวจนครบาลแจ้งว่ามีผู้ถูกจับกุมอย่างน้อย 100 คน[21]

รัฐบาลประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในวันที่ 22 ตุลาคม 2563[22][23] และออกพระราชกฤษฎีกาเปิดสมัยประชุมวิสามัญ[24] ซึ่งพรรคร่วมฝ่ายค้านแถลงว่า เป็นการเปิดญัตติเฉพาะเรื่องขบวนเสด็จเท่านั้น เป็นการจงใจใส่ร้ายผุ้ชุมนุม[25] ด้านพรรคก้าวไกลเตรียมยื่นญัตติตั้งคณะกรรมาธิการสอบสวนการจัดเส้นทางขบวนเสด็จฯ[26]

กลุ่มและสื่อฝ่ายขวาใช้เหตุการณ์นี้โจมตีผู้ประท้วง[27][28] ผู้นิยมเจ้าซึ่งมักเป็นผู้สูงอายุมีความเห็นว่า จะต่อต้านรัฐบาลอย่างไรก็ได้ แต่ห้ามต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์[29]

ใกล้เคียง

เหตุข่มขืนกระทำชำเราหมู่และฆาตกรรมที่เดลี พ.ศ. 2555 เหตุขบวนเสด็จฯ ผ่านที่ชุมนุมบริเวณถนนพิษณุโลก 14 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เหตุข่มขืนกระทำชำเราหมู่และฆาตกรรมที่หาถรัส พ.ศ. 2563 เหตุการณ์ 6 ตุลา เหตุการณ์ 14 ตุลา เหตุผลวิบัติ เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563 เหตุกราดยิงที่สยามพารากอน เหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิส พ.ศ. 2551 เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554

แหล่งที่มา

WikiPedia: เหตุขบวนเสด็จฯ_ผ่านที่ชุมนุมบริเวณถนนพิษณุโลก_14_ตุลาคม_พ.ศ._2563 https://www.bangkokpost.com/thailand/politics/2002... https://www.bangkokpost.com/thailand/politics/2002... https://www.bangkokpost.com/thailand/politics/2006... https://www.bbc.com/thai/live/thailand-54508182 https://www.bbc.com/thai/thailand-54539098 https://edition.cnn.com/2020/10/22/asia/thailand-p... https://www.cnn.com/2020/10/16/asia/thai-protester... https://www.facebook.com/watch/?v=748250372391598 https://www.khaosodenglish.com/news/crimecourtscal... https://www.khaosodenglish.com/news/crimecourtscal...