พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน_พ.ศ._2548
พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน_พ.ศ._2548

พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน_พ.ศ._2548

พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มักย่อเป็น พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เป็นกฎหมายไทยระดับพระราชกำหนด ซึ่งตราขึ้นในวันที่ 16 กรกฎาคม 2548 กฎหมายให้อำนาจนายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งในสถานการณ์ดังกล่าว นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการลัดขั้นตอนปกติ, มีอำนาจออกกฎหมายเพื่อบังคับแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน, และพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย นอกจากนี้ สิทธิและเสรีภาพของประชาชนยังถูกจำกัดอย่างกว้างขวาง รวมทั้งการจับกุม คุมขัง ค้นเคหสถาน สิทธิในการเดินทาง แสดงความเห็น และการเสนอข่าวจนถึง พ.ศ. 2563 มีการประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำหนดนี้รวม 8 ครั้งใน 6 รัฐบาล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการประกาศใช้ในบางพื้นที่เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมือง ส่วนครั้งล่าสุดมีการประกาศใช้ใน พ.ศ. 2563 ในการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาปีนั้น และยังเป็นครั้งแรกที่ประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ

พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน_พ.ศ._2548

ผู้อนุมัติ รัฐสภาไทย[lower-alpha 1]
วันเริ่มใช้ 17 กรกฎาคม 2548
วันตรา 16 กรกฎาคม 2548
ท้องที่ใช้ ประเทศไทย
ผู้ตรา คณะรัฐมนตรีทักษิณ 2
วันอนุมัติ 29 สิงหาคม 2548
ผู้รักษาการ นายกรัฐมนตรี

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชวังต้องห้าม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์