กระบวนการออกกฎหมาย ของ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน_พ.ศ._2548

ในช่วงที่เริ่มเกิดความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย (ตั้งแต่ปี 2547) และโดยเฉพาะเหตุระเบิดในจังหวัดยะลาเมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 2548[1] คณะรัฐมนตรีทักษิณ 2 ได้มีมติอนุมัติร่างพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. .... ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 5 กรกฎาคม 2548 ต่อมามีการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2548 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป หลังจากนั้นมีการเสนอให้รัฐสภาอนุมัติเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2548 ซึ่งมีการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 24 สิงหาคม 2548 วุฒิสภาในวันที่ 26 และ 29 สิงหาคม 2548 รัฐสภาลงมติเห็นชอบ จึงถือว่าได้รับอนุมัติจากรัฐสภาและมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติ[2]

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชวังต้องห้าม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์