ข้อวิจารณ์ ของ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน_พ.ศ._2548

ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิจารณ์แบ่งเป็นประเด็นต่าง ๆ ประกอบด้วย ประเด็นการออกพระราชกำหนด เขาเห็นว่าการอ้างเหตุระเบิดในจังหวัดยะลา พ.ศ. 2548 สามารถใช้กฎหมายอื่นแก้ไขได้ และรัฐบาลควรออกพระราชกำหนดสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น มิใช่ออกเป็นกฎหมายกลางสำหรับใช้ทั่วประเทศ ประเด็นระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เขาเห็นว่าการให้นายกรัฐมนตรีครั้งละไม่เกิน 3 เดือนนานเกินไป และเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารอย่างเดียวโดยไม่ต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา สำหรับประเด็นการตัดอำนาจของศาลปกครอง เขาสันนิษฐานผู้ร่างอาจเกรงกลัวมาตรการชั่วคราวของศาลปกครองที่ทำให้การบังคับใช้กฎหมายสะดุด หรือต้องการหลบเลี่ยงการตรวจสอบการใช้อำนาจโดยองค์กรตุลาการ เขาเห็นว่า ในสถานการณ์ฉุกเฉินยอมให้มีการผ่อนปรนลดขั้นตอนการตรวจสอบก่อนการใช้อำนาจ แต่ไม่ลดการตรวจสอบหลังการใช้อำนาจ[4]

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชวังต้องห้าม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์