การประกาศใช้กฎหมาย ของ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน_พ.ศ._2548

จนถึง พ.ศ. 2563 มีการประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวรวม 8 ครั้ง ครั้งแรกคือ การประกาศใช้ในท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลา ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2548 ซึ่งมีการขยายระยะเวลาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน (ในปี 2562 มีการลดพื้นที่อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส)

ครั้งล่าสุด มีการประกาศใช้เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 ในการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการประกาศใช้กับสถานการณ์โรคระบาด และเป็นครั้งแรกที่ประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวทั่วราชอาณาจักร มีการต่ออายุแล้ว 4 ครั้ง มีการเปรียบเทียบพระราชกำหนดนี้กับพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งหลายฝ่ายเสนอว่าควรยกเลิกพระราชกำหนดฯ แล้วใช้อำนาจตามกฎหมายดังกล่าวแทน โดยมีความเหมือนและแตกต่างกัน ดังนี้[5]

ข้อเหมือนข้อต่าง
  1. การกักตัวหรือควบคุมตัวบุคคล
  2. การเข้าออก ตรวจค้นเคหสถาน
  3. การสั่งห้ามใช้อาคาร หรืออยู่ในสถานที่ที่กำหนด
  4. การสั่งห้ามใช้เส้นทางคมนาคมหรือยานพาหนะที่กำหนด
  1. เคอร์ฟิว
  2. คำสั่งห้ามชุมนุมหรือมั่วสุม
  3. ตรวจสอบหรือยับยั้งการสื่อสาร
  4. การอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนด
  5. การยกเว้นความรับผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชวังต้องห้าม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์