เหตุโจมตีทางอากาศที่ท่าอากาศยานนานาชาติแบกแดด_พ.ศ._2563
เหตุโจมตีทางอากาศที่ท่าอากาศยานนานาชาติแบกแดด_พ.ศ._2563

เหตุโจมตีทางอากาศที่ท่าอากาศยานนานาชาติแบกแดด_พ.ศ._2563

เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2563 ท่ามกลางความตึงเครียดที่กำลังเพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐกับอิหร่าน สหรัฐได้ปฏิบัติการการโจมตีด้วยอากาศยานไร้คนขับใส่ขบวนรถขบวนหนึ่งขณะกำลังเดินทางออกจากท่าอากาศยานนานาชาติแบกแดดในอิรัก มีผู้โดยสารหลายคนอยู่ในขบวนรถดังกล่าว รวมถึงกอเซม โซเลย์มอนี นายพลและผู้บัญชาการกองกำลังโกดส์แห่งกองพิทักษ์ปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน และอะบู มะฮ์ดี อัลมุฮันดิส รองผู้บัญชาการกองกำลังระดมพลประชาชน กองกำลังติดอาวุธอิรักซึ่งมีความใกล้ชิดกับอิหร่านการโจมตีครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่สหรัฐถอนตัวจากความตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านใน พ.ศ. 2561[4] และหลังวิกฤตการณ์อ่าวเปอร์เซียระหว่าง พ.ศ. 2562–2563 ในสัปดาห์ก่อนการโจมตี ฐานทัพอากาศอิรักแห่งหนึ่งถูกโจมตี ส่งผลให้พลเรือนซึ่งเป็นผู้รับเหมารายหนึ่งของสหรัฐเสียชีวิต สหรัฐตอบโต้ด้วยการสังหารนักรบอาสาสมัครชีอะฮ์ที่อิหร่านหนุนหลัง 25 นาย ไม่กี่วันต่อมาด้านนอกของสถานทูตสหรัฐในอิรักก็ถูกผู้ประท้วงชาวชีอะฮ์ทำลายเพื่อเป็นการตอบโต้ สหรัฐกล่าวหาอิหร่านและพันธมิตรที่ไม่ใช่รัฐของอิหร่านว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์เหล่านี้[5][6]การโจมตีทางอากาศดังกล่าวทำให้ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับอิหร่านเพิ่มขึ้นอย่างมาก อะลี คอเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่านให้คำมั่นว่าจะแก้แค้นสหรัฐอย่างรุนแรง[7] ในขณะที่เจ้าหน้าที่สหรัฐกล่าวว่าพวกเขาจะดำเนินการต่อกองกำลังกึ่งทหารใด ๆ ก็ตามที่อิหร่านสนับสนุนในอิรัก หากมีสิ่งบ่งชี้ว่ากองกำลังเหล่านี้กำลังวางแผนโจมตีสหรัฐ[8]สมาชิกพรรคริพับลิกันในสหรัฐส่วนใหญ่สนับสนุนการโจมตี เช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล[9][10][11] ในขณะที่สมาชิกพรรคเดโมแครตในสหรัฐรับรู้ว่าโซเลย์มอนีมีส่วนร่วมในการสังหารทหารอเมริกันไปเป็นจำนวนมาก แต่ตั้งคำถามถึงความรอบคอบในการโจมตีแบบยั่วยุซึ่งจะเพิ่มความตึงเครียดในตะวันออกกลางเช่นนี้[12] ซีเรียออกมาประณามเหตุโจมตี[9][13] รัสเซียเชื่อว่าเหตุการณ์นี้จะเพิ่มความตึงเครียดในตะวันออกกลาง[14] ส่วนจีน อินเดีย ปากีสถาน ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหราชอาณาจักรเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความอดกลั้นและการเจรจาทางการทูต[9][10][15][16]

เหตุโจมตีทางอากาศที่ท่าอากาศยานนานาชาติแบกแดด_พ.ศ._2563

ผู้ลงมือ  สหรัฐ
ผู้บังคับบัญชา ดอนัลด์ ทรัมป์
เป้าหมาย กองกำลังโกดส์
กองกำลังระดมพลประชาชน
ผู้สูญเสีย ผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 10 คน[3]
ตำแหน่ง ใกล้ท่าอากาศยานนานาชาติแบกแดด แบกแดด อิรัก
33°15′29″N 44°15′22″E / 33.25806°N 44.25611°E / 33.25806; 44.25611พิกัดภูมิศาสตร์: 33°15′29″N 44°15′22″E / 33.25806°N 44.25611°E / 33.25806; 44.25611
ชนิด การโจมตีด้วยอากาศยานไร้คนขับ[1]
ผลลัพธ์ การเสียชีวิตของกอเซม โซเลย์มอนี และอะบู มะฮ์ดี อัลมุฮันดิส
วันที่ 3 มกราคม 2563 (2020-01-03)
ประมาณ 1 นาฬิกา ตามเวลาท้องถิ่น[2] (UTC+3)

ใกล้เคียง

เหตุโจมตีในนอร์เวย์ พ.ศ. 2554 เหตุโจมตีในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2566 เหตุโจรกรรมร้านทองในจังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2563 เหตุโจมตีโครคุสซีตีฮอลล์ เหตุโจมตีทางอากาศใส่โรงพยาบาลในมารีอูปอล เหตุโจมตีทางอากาศใส่โรงละครในมารีอูปอล เหตุโจมตีสถานีรถไฟกรามาตอสก์ เหตุโจมตีในปารีส เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เหตุโจมตีด้วยขีปนาวุธในประเทศปากีสถาน พ.ศ. 2567 เหตุโจมตีทางอากาศใส่อาคารอยู่อาศัยในดนีปรอ พ.ศ. 2566

แหล่งที่มา

WikiPedia: เหตุโจมตีทางอากาศที่ท่าอากาศยานนานาชาติแบกแดด_พ.ศ._2563 //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //www.worldcat.org/issn/0362-4331 https://www.aljazeera.com/news/2020/01/world-react... https://apnews.com/e36db7c72c1adba1a6cae75091bc273... https://www.arabnews.com/node/1608386/middle-east https://www.axios.com/qasem-soleimani-killed-iran-... https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-01-03... https://www.cnn.com/2020/01/02/middleeast/baghdad-... https://www.euronews.com/2020/01/03/a-declaration-... https://www.forbes.com/sites/sebastienroblin/2020/...