ประวัติ ของ เอกซ์เจแปน

2520–2535: เอกซ์

ในปี พ.ศ. 2520 โยะชิกิ ฮะยะชิ และโทะชิมิสึ เดะยะมะ ได้ก่อตั้งวงดนตรีชื่อว่า ไดนาไมต์ (Dynamite) ที่บ้านเกิดของพวกเขา ทะเตะยะมะ เมื่อพวกเขาอายุได้แค่ 11 ปีเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 วงไดนาไมต์ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น นอยส์ (Noise) ขณะที่พวกเขายังเรียนอยู่ในโรงเรียนมัธยม ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 วงนอยส์ได้ถูกยกเลิก และได้ก่อตั้งวงใหม่โดยตั้งชื่อไว้ก่อนว่า เอกซ์ ขณะที่พวกเขากำลังคิดชื่อวงชื่ออื่น[4] ต่อมาวงเอกซ์ได้เริ่มดำเนินงานอย่างจริงจังในกรุงโตเกียวในปี พ.ศ. 2528 โดยมีการเปลี่ยนแปลงสมาชิกอยู่บ่อยครั้ง ต่อมาได้ออกซิงเกิลแรกของวงชื่อ "ไอล์คิลยู" เมื่อเดือนมิถุนายน ภายใต้สังกัดดาดาเรเคิดส์ซึ่งเป็นของวงเอง โดยจำหน่ายได้ 1,000 แผ่น และได้มีส่วนร่วมในแซมเพลอร์ Heavy Metal Force III ด้วยผลงานเพลง "Break the Darkness" ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งมีผลงานเพลงของวง Saver Tiger (ซึ่งมีฮิเดะเป็นสมาชิก) อยู่ในแซมเพลอร์ชุดนี้ด้วย[5][6] และในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2528 มือกีตาร์เบสวง Dementia ไทจิ ได้เข้ามาร่วมวงเอกซ์ แต่ได้ขอออกจากวงชั่วคราวหลังจากนั้นไม่นาน[7]

เพื่อความมั่นคงของวง โยะชิกิได้ก่อตั้งค่ายเพลงอิสระชื่อว่า เอกซ์ทาซีเรเคิดส์ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2529 และออกซิงเกิลชุดที่สองของวง "ออแกซึม"[8] ต่อมาไทจิได้กลับเข้ามาร่วมวงอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกัน[7] เพลง "Stab Me in the Back" และ "No Connexion" ของวงเอกซ์ได้อยู่ในแซมเพลอร์ที่มีชื่อว่า Skull Thrash Zone Volume I ของวิกเตอร์เรเคิดส์ ซึ่งออกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 โดยได้ทำการบันทึกด้วยกันกับพาตะ (จากวง Judy) ซึ่งเป็นมือกีตาร์สนับสนุนของวง[9] ต่อมาไม่นาน ฮิเดะจากวง Saver Tiger ได้เข้าร่วมมาเป็นมือกีตาร์[7] และหลังจากที่พาตะได้เข้ามาสนันสนุนวง เขาก็ได้เข้ามาร่วมเป็นสมาชิกวงอย่างเป็นทางการในที่สุด[7]

วงเอ็กซ์ราวปี ค.ศ. 2523

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2530 พวกเขาได้ทำการแสดงที่งานร็อกมอนสเตอร์อีเวนต์ (Rock Monster event) ที่เกียวโตสปอตส์วัลเลย์ (Kyoto Sports Valley) และปล่อยวิดีโอแรกของวง Xclamation[7] ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2530 วงได้มีส่วนร่วมในการออดิชัน ที่จัดขึ้นโดยโซนี่ มิวสิค เอ็นเตอร์เทนเมนท์ เจแปน ทำให้วงได้เซ็นสัญญากับค่ายเพลงนี้ในเดือนสิงหาคมของปีต่อไป[5][7] และในขณะเดียวกันวงก็ได้ออกอัลบั้มแรกมีชื่อว่า แวนิชชิงวิชัน (Vanishing Vision) ผ่านเอกซ์ทาซีเรเคิดส์ (Extasy Records) เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2531 และออกทัวร์เพื่อสนันสนุนผลงาน[8] อัลบั้มนี้มียอดจำหน่ายอัลบั้ม 10,000 ชุดและจำหน่ายหมดภายในหนึ่งสัปดาห์ ติดอันดับหนึ่งบอนชาร์ตอินดีส์ของออริคอน และอยู่ในดับ 19 ในชาร์ตหลัก[7] ในเดือนพฤศจิกายน วงเอกซ์ได้มีส่วนร่วมในงานคอนเสิร์ตสตรีตไฟติงเมน (Street Fighting Men) ของนิตยสารดนตรี Rockin'f จัดขึ้นที่ Differ Ariake Arena[7]

บลูบลัดทัวร์ได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 13 มีนาคม สองคอนเสิร์ตที่จำหน่ายหมดก่อนเวลา ได้แก่ การแสดงเมื่อวันที่ 16 มีนาคมที่ชิบุยะพับลิกฮอลล์ (Shibuya Public Hall) ซึ่งในเวลาต่อมาได้ปล่อยโฮมวิดีโอออกมาชื่อ Blue Blood Tour Bakuhatsu Sunzen Gig[7] อัลบั้ม บลูบลัด ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2532 และเปิดตัวมาอยู่อันดับ 6 ในชาร์ตออริคอน ซิงเกิล "คุเระนะอิ" เข้ามาเป็นอันดับ 5 และวงได้ออกแสดงโรสแอนด์บลัดทัวร์ ซึ่งได้ถูกระงับไว้ชั่วคราวเมื่อโยชิกิทรุดตัวลงหลังจากคอนเสิร์ตเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน[5] ความสำเร็จนี้ทำให้วงได้รับรางวัล "กรังปรีซ์ศิลปินหน้าใหม่แห่งปี" (Grand Prix New Artist of the Year) ที่งานรับรางวัลแผ่นเสียงทองคำญี่ปุ่นครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2533[10] ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 เอกซ์ได้เดินทางไปยังลอสแอนเจลิสเพื่อที่จะเริ่มบันทึกเสียงอัลบั้มชุดต่อมาชื่อว่า เจลลัสซี[5][11] เมื่อกลับมาประเทศญี่ปุ่นในเดือนมิถุนายน สมาชิก 500 คนจากกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นได้มาที่ท่าอากาศยานเพื่อมาควบคุมฝูงชนที่แน่นขนัด[5] อัลบั้มนี้ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 และเปิดตัวมาอยู่ในอันดับ 1 ด้วยยอดจำหน่าย 600,000 แผ่น[12] ต่อมาได้รับการรับรองด้วยยอดจำหน่ายหนึ่งล้านแผ่นโดยสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของญี่ปุ่น (RIAJ)[13] ในเดือนสิงหาคม วงได้แสดงคอนเสิร์ตในร่มที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก ที่โตเกียวโดม และได้มีรวมภาพจากการแสดงของวงในคอนเสิร์ตออกมาเป็นแผ่นซีดีและโฮมวิดีโอ การแสดงนี้เป็นส่วนหนึ่งของทัวร์ไวโอเลนซ์อินเจลลัสซี (Violence in Jealousy) ซึ่งกินเวลาไปจนถึงสิ้นปี และจัดขึ้นอีกครั้ง หลังจากงานแสดงดนตรีที่โยะโกะฮะมะอาเรนา (Yokohama Arena) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม[5] ต่อมาในวันที่ 8 ธันวาคม เอกซ์ได้แสดงคอนเสิร์ตกับวงออเคสตรา ที่เอ็นเอชเคฮอลล์ (NHK Hall)[5]

2536–2540: เอกซ์เจแปน

โลโก้วงเอกซ์เจแปน เริ่มใช้หลังจากเปลี่ยนชื่อวงในปี พ.ศ. 2535

พ.ศ. 2535 X เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในประเทศญี่ปุ่น และพวกเขาเริ่มมีความคิดเข้าสู่ตลาดโลก ซึ่งขณะนั้นในสหรัฐอเมริกานั้นได้มีวงที่ชื่อ X อยู่แล้ว พวกเขาจังตัดสินใจเปลี่ยนชื่อวงจาก X เป็น X Japan และช่วงนี้เองเป็นช่วงที่พวกเขาขาดมือเบส เนื่องจาก ไทจิ มือเบสคนเก่า ได้ออกจากวงไปแล้ว ในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2535 และก็ได้ ฮีธ (ฮิโรชิ โมริเอะ) เข้ามาเป็นมือเบสคนใหม่ ส่วนไทจินั้น หลังจากออกจากวง X ก็ได้ออกไปอยู่กับวง Loudness ซึ่งเป็นวงอาจารย์ของเขาเอง

4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 อัลบั้ม DAHLIA ออกวางจำหน่าย อัลบั้มนี้ออกวางจำหน่ายทั่วโลก ภายใต้สังกัด East West Japan

22 กันยายน พ.ศ. 2540 X Japan ประกาศยุบวงที่ตั้งมายาวนานถึง 15 ปี โดยประกาศการยุบวงที่โรงแรมมิยาโกะ ในการแถลงข่าวครั้งนี้มีสมาชิกที่มา 4 คน คือ โยชิกิ, ฮิเดะ, พาตะ และ ฮีธ ส่วน โทชิ นั้นได้ลาออกจากวงไปตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2540 โดยให้เหตุผลว่า มีความแตกต่างทางด้านแนวความคิดทางด้านดนตรี X Japan ไม่สามารถเปลี่ยนนักร้องนำใหม่ได้เพราะส่วนใหญ่เพลงของ X Japan แต่งโดยใช้พื้นฐานเสียงของโทชิเป็นหลัก จากการพิจารณาของสมาชิกทุกคนที่เหลือในวงหลายครั้งจึงตัดสินใจประกาศยุบวง

2541–2550: หลังยุบวง

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

2550–2551: การกลับมารวมวงใหม่

ต้นปี พ.ศ. 2550 โทชิ นักร้องนำ ได้ออกมายืนยันการกลับมารวมตัวกันใหม่ของ X Japan ผ่านทางหน้าเว็บของเขาและบนนิตยสารเล่มหนึ่ง[ต้องการอ้างอิง] ส่วนการยืนยันจาก โยชิกิ หัวหน้าวงนั้น ยังไม่มีความแน่นอน เพราะทางโยชิกิยังคงเสียใจกับการตายของฮิเดะ และการแยกวงเมื่อสิบปีก่อน เขาเขียนในมายสเปซของเขาไว้เพียงว่า "ขอเวลาสักพัก" [14]

ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2550 โยชิกิได้ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการว่า กำลังทำโปรเจตท์เพลง "Without You" ซึ่งร้องให้ฮิเดะ ร่วมกับโทชิ และกำลังทาบทาม พาตะ และ ฮีธ เพื่อกลับมารวมตัวเป็น X Japan อีกครั้งนึง ซึ่งทางวงจะหานักกีตาร์ชื่อดังมาผลัดเปลี่ยนเล่นแทนตำแหน่งของฮิเดะ

ในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2550 X Japan ได้กลับมารวมตัวกันแสดงสดที่ Aqua City เมืองโอไดบะ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อทำการถ่ายทำมิวสิกวิดีโอ เพลง I.V. เพลงประกอบของภาพยนตร์ Saw IV ที่กำลังจะออกฉายในประเทศญี่ปุ่น[15]

ล่าสุด วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2551 X Japan ได้ออกแถลงข่าวเรื่องคอนเสิร์ตที่จะจัดขึ้นในเดือนมีนาคมปีเดียวกัน ในชื่อคอนเสิร์ตว่า X JAPAN ATTACKS AGAIN 2008


และในวันที่02/05/09 ได้เล่นเพลงใหม่ชื่อว่า"Jade"ในการแสดงที่โตเกียวโดม และยัง ได้รับ สึกิโซะ มือกีต้าร์ ของวง Luna Sea เข้าเป็น สมาชิกคนที่ 6 อีกด้วย

2551–2553: หยุดชะงัก, สึกิโซะเข้าร่วมวง และการแสดงต่างประเทศครั้งแรก

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

2554–2557: เวิลด์ทัวร์ และเมดิสันสแควร์การ์เดน

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

2558–ปัจจุบัน: อัลบั้มใหม่ และเจเปนทัวร์

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 โยะชิกิประกาศว่าสตูโออัลบั้มชุดที่ 6 ซึ่งเป็นอัลบั้มแรกในรอบ 20 ปี จะออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559[16] ในวันต่อมาเอกซ์เจแปนได้ไปแสดงที่เวมบิอารีนา (Wembley Arena) ในลอนดอน ซึ่งจะมีการฉายรอบปฐมทัศน์ของภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับทางวงชื่อว่า วีอาร์เอกซ์[16] ซิงเกิลแรกจากอัลบั้ม "บอร์นทูบีฟรี" ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558[17]

การแสดงทัวร์ทั่วญี่ปุ่นครั้งแรกของเอกซ์เจแปนในรอบ 20 ปี เริ่มขึ้นด้วยการแสดง 3 วันติดกัน ที่โยะโกะฮะมะอารีนาเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ต่อด้วยที่โอะซะกะโจฮอลล์เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ที่มารีนเมสเซอฟุกุโอะกะ (福岡国際会議場) เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ที่ฮิโระชิมะกรีนอารีนา (広島県立総合体育館) เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม และสิ้นสุดในวันที่ 14 ธันวาคม ที่นิปปอนไกชิฮอลล์ (名古屋市総合体育館)[18] และยังแสดงที่ โคฮะคุอุตะกัสเซ็น (Kōhaku Uta Gassen) เป็นครั้งแรกในรอบ 18 ปีอีกด้วย

ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559 พาตะได้รับการรักษาที่ไอซียูของโรงพยาบาลโตเกียว เขาได้รับการวินิจฉัยว่าถึงขั้นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งได้แก่ การเกิดธรอมบัสหรือลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือด (Blood clot) ขั้นรุนแรง แต่อาการป่วยยังคงที่ ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ เอกซ์เจแปนจึงได้ประกาศว่าจะมีการเลื่อนการออกจำหน่ายอัลบั้ม และเลื่อนคอนเสิร์ตของปี พ.ศ. 2559 ที่เวมบลิอารีนาออกไป โดยได้เลื่อนออกไปแสดงในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2560[19]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอกซ์เจแปน http://exclaim.ca/News/finally_100_greatest_japane... http://japan-discoveries.com/index.php?main_page=p... http://jrockrevolution.com/2007/08/webzine/the-jro... http://jrockrevolution.com/2007/10/webzine/indies-... http://loudwire.com/x-japan-new-album-documentary-... http://myspace.com/index.cfm?fuseaction=blog.view&... http://www.rollingstone.com/music/features/x-japan... http://blogs.sfweekly.com/shookdown/2010/10/x_japa... http://blogs.suntimes.com/music/2010/08/x_japan_th... http://metalhammer.teamrock.com/news/2015-10-13/x-...