การประชุมและสนธิสัญญา ของ เอกราชอัสซีเรีย

การประชุมสันติภาพปารีส

ใน พ.ศ. 2462 บิชอปนิกายซีรีแอกออร์ทอดอกซ์ มอร์ อาฟรัม บาร์ซอม เขียนจดหมายถึงฝ่ายสัมพันธมิตร[5]ว่าชาวอัสซีเรียกว่า 90,000 คนถูกฆาตกรรมโดยชาวตุรกี และชาวอัสซีเรียคัดค้านการขอปกครองตนเองของชาวเคิร์ด จดหมายนี้ทำให้ฝรั่งเศสเชิญตัวแทนของชาวอัสซีเรียสามกลุ่มเข้าร่วมในที่ประชุมระหว่างการประชุมสันติภาพ ได้แก่ชาวอัสซีเรียจากสหรัฐ อิรักและอิหร่าน

ชาวอัสซีเรียจากอิหร่านมาถึงฝรั่งเศสเป็นกลุ่มแรก อังกฤษซึ่งกลัวการปรากฏตัวของชาวอัสซีเรียที่อยู่นอกการควบคุมได้บีบบังคับให้ตัวแทนจากอิหร่านออกจากปารีสไป ต่อมาตัวแทนของชาวอัสซีเรียในสหรัฐมาถึง พวกเขาต้องการดินแดนอัสซีเรียที่เป็นอิสระ ซึ่งรวมภาคเหนือของเบต-นะห์เรน เริ่มตั้งตาทางใต้ของแม่น้ำซับ ดิยาร์ บากีร์ไปจนถึงเทือกเขาอาร์เมเนีย และดินแดนนี้ควรอยู่ในอาณัตของมหาอำนาจ

ตัวแทนจากสหรัฐและอังกฤษปฏิเสธแผนการนี้ อธิบายว่าประชาชนของสหรัฐกังวลเกี่ยวแผนการแบ่งแยกตุรกีทุกรูปแบบ ทำให้ตัวแทนชาวอัสซีเรียไม่ประสบความสำเร็จ ตัวแทนอัสซีเรียจากอิรักเดินทางมาถึงล่าช้าเพราะต้องรอให้อังกฤษอนุญาต ออกเดินทางมาปารีสเมื่อ 21 กรกฎาคม โดยต้องเดินทางผ่านลอนดอนและถูกกักตัวที่ลอนดอนจนการประชุมที่ฝรั่งเศสยุติ ตัวแทนของกลุ่มนี้คือนายซูร์มา คานิม เขาต้องการให้อนุญาตให้ชาวอัสซีเรียเดินทางกลับไปฮักการี และผู้ที่ทำร้ายชาวอัสซีเรียต้องถูกลงโทษ

สนธิสัญญาแซแวร์ส

สนธิสัญญาแซแวร์สลงนามเมื่อ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2463 ระหว่างอังกฤษ ชาติพันธมิตรและตุรกีเกี่ยวกับการสถาปนาตุรกีใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวอัสซีเรียไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมเนื่องจากชาวอัสซีเรียไม่ได้มีอำนาจเท่าเทียมกับชาติอื่นๆ แต่มีการนำข้อเสนอของชาวอัสซีเรียมาพิจารณา และมีข้อกำหนดการคุ้มครองชนกลุ่มน้อยในทางศาสนาในสนธิสัญญา[6] ผลของสนธิสัญญานี้ โมซูลเป็นของอิรักโดยฝรั่งเศสได้ส่วนแบ่ง 25% จากรายได้จากน้ำมันในโมซูล

สนธิสัญญาโลซาน

การประชุมระหว่างตุรกีกับชาติพันธมิตรเริ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 เมื่อตุรกีร้องขอให้ทบทวนเรื่องการรวมโมซูลเข้ากับอิรักจนนำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญาโลซานเมื่อ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 การประชุมครั้งนี้ชาวอัสซีเรียถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าร่วมประชุมอีกเช่นเคย โดยพวกเขาได้คำสัญญาจากอังกฤษว่าสิทธิของพวกเขาจะได้รับการคุ้มครอง ทั้งนี้ อาคา เปโตรส นายพลแห่งกองทัพอัสซีเรียได้เข้าร่วมในการประชุม ผลของสนธิสัญญา ตัวแทนจากสหรัฐยืนยันตามข้อเสนอของอังกฤษ ทำให้ตุรกีไม่ได้ดินแดนโมซูลคืนอย่างที่ต้องการ ทั้งนี้รายได้จากน้ำมัน 20% เป็นของสหรัฐ อังกฤษอ้างว่าดินแดนโมซูลนี้จะถูกรักษาไว้เพื่อจัดตั้งรัฐของชาวเคิร์ดและชาวอัสซีเรียในอนาคต[7]

การประชุมที่คอนสแตนติโนเปิล

การประชุมนี้จัดขึ้นเมื่อ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2467 เป็นการประชุมระหว่างตุรกีกับอังกฤษ ชาวอัสซีเรียไม่ได้เข้าร่วม โดยเชื่อว่าอังกฤษจะต่อสู้เพื่อพวกตน จดหมายจากตัวแทนของชาวอัสซีเรียเขียนขึ้นโดยการชี้นำของเซอร์ Henry Conway Dobbs ผู้ตรวจการณ์อิรักจากอังกฤษ ในหัวข้อที่ว่า “แถลงการณ์เรื่องโครงการการจัดตั้งถิ่นฐานของชาวอัสซีเรียในอิรัก[8] รัฐบาลตุรกีกล่าวอ้างว่าโมซูลเป็นส่วนหนึ่งของตุรกี และ Fet’hi Beg ประกาศว่าชาวอัสซีเรียซึ่งเขาเรียกว่าชาวเนสโตเรียนั้นจะได้รับการต้อนรับในการกลับสู่ดินแดนเดิมในตุรกี พวกเขาจะได้รับสิทธิเสรีภาพ เซอร์ Percy Cox กล่าวว่าโมซูลเป็นของอิรักและชาวคริสต์อัสซีเรียต้องการความคุ้มครองจากการข่มเหงของตุรกี

ในที่สุด การประชุมนี้ไม่บรรลุข้อตกลง ตุรกีสั่งให้ยกทหารเข้าประชิดชายแดนเพื่อรวมโมซูลโดยใช้กำลัง กองกำลังทหารเกณฑ์ชาวอัสซีเรีย 2000 คนถูกส่งขึ้นเหนือเพื่อป้องกันอิรัก เพราะกองทัพอิรักในขณะนั้นไม่พร้อมสำหรับหน้าที่นี้ กองทัพชาวอัสซีเรียมีบทบาทมากในการผนวกโมซูลเข้ากับอิรักตามการรับรองของสันนิบาตชาติ

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอกราชอัสซีเรีย http://www.unhchr.ch/tbs/doc.nsf/(Symbol)/CERD.C.2... http://www.assyrianlevies.com/gpage1.html http://www.bethsuryoyo.com/images/Articles/AframBa... http://www.bethsuryoyo.com/images/Articles/AframBa... http://www.csmonitor.com/2004/0921/p06s01-woiq.htm... http://www.zindamagazine.com/html/archives/2005/11... http://net.lib.byu.edu/~rdh7/wwi/versa/sevres1.htm... http://www.assyriacouncil.eu/ http://www.iraqdemocracyproject.org/about_isdp.htm... http://links.jstor.org/sici?sici=0002-9300(193301)...