ข้อชี้แนะของสันนิบาตชาติ ของ เอกราชอัสซีเรีย

มีขึ้นเมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2468 โดยกล่าวว่าชาวอัสซีเรียจะได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่ถ้าพวกเขากลับสู่ตุรกี และความสูญเสียระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 จะได้รับการชดใช้[9] และยังระบุว่าหัวหน้าชาวอัสซีเรีย มัร เอไช ชีมุนเบ มีสิทธิในการดูแลชาวอัสซีเรีย แต่คำชี้แนะนี้ไม่ได้รับการยอมรับ

ใน พ.ศ. 2468 ศาลถาวรเพื่อการตัดสินระหว่างชาติ (Permanent Court of International Justice) เข้ามาแทรกแซงปัญหาเส้นแบ่งแดน และในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2468 เสนอการแก้ปัญหาโดยปฏิเสธการอพยพชาวอัสซีเรียกลับสู่ฮักการีและยกดินแดนนั้นให้ตุรกี ส่วนดินแดนโมซูลยกให้อิรัก และให้มีการจัดแนวชายแดนใหม่ รวมทั้งแนะนำให้อังกฤษดูแลอิรักในฐานะดินแดนในอาณัติต่อไปอีก 25 ปี เพื่อคุ้มครองชาวอัสซีเรีย[10]

สิทธิมนุษยชนของชาวอัสซีเรีย

เมื่อ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 ชาวอัสซีเรียยังคงคัดค้านการกระทำทารุณต่อพวกเขาและยังส่งจดหมายถึงสันนิบาตชาติ ร้องขอรายงานจากรัฐบาลอังกฤษและอิรักเกี่ยวกับสถานะของตน ศาลถาวรเพื่อการตัดสินระหว่างชาติไม่เชื่อถือรายงานจากอังกฤษและอิรัก และร้องขอให้ประเทศทั้งสองปฏิบัติตามภาระผูกพันต่อชาวอัสซีเรีย

สัญญาของอังกฤษและการร้องทุกข์ของอัสซีเรีย

บริเวณสามเหลี่ยมอัสซีเรีย

อังกฤษปฏิเสธข้อชี้แนะของคณะกรรมการอาณัติด้วยเหตุผลว่าข้อแนะนำเหล่านั้นควรส่งไปที่รัฐบาลตุรกี ไม่ใช่อิรัก แม้ว่าฮักการีเป็นบ้านเกิดของชาวอัสซีเรีย แต่ผู้อพยพออกมาแล้วไม่ควรกลับเข้าไปอีก ควรอยู่ในที่ที่รัฐบาลอิรักจัดให้

สนธิสัญญามากมายที่มีการลงนามระหว่างอังกฤษกับอิรักแสดงให้เห็นว่าอังกฤษเตรียมให้อิรักเข้าเป็นสมาชิกสันนิบาตชาติ ข้อเรียกร้องหลักที่คณะกรรมการอาณัติได้จากชาวอัสซีเรียคือ พวกเขากลัวการสิ้นสุดของการอยู่ภายใต้อาณัติของอังกฤษ ข้อเรียกร้องดังกล่าวระบุวันที่ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2474 20 ตุลาคม พ.ศ. 2474 และ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ข้อเรียกร้องนี้บางส่วนถูกปฏิเสธโดยเซอร์ Francis Humphrys เพราะส่งในนามบุคคลไม่ได้ส่งในนามชาวอัสซีเรีย

ข้อเรียกร้องที่ลงวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ส่งโดยมัร เอไช ชีมุนที่ 13 เรียกร้องให้อนุญาตให้ชาวอัสซีเรียออกจากอิรักก่อนการสิ้นสุดการอยู่ภายใต้อาณัติของอังกฤษ และเป็นไปไม่ได้ที่ชาวอัสซีเรียจะอยู่ในอิรัก ผลจากการเรียกร้อง ทำให้คณะกรรมการอาณัติมีความกังวลเกี่ยวกับชาวคริสต์และควรให้สิทธิ์กลุ่มชนเหล่านี้ส่งข้อเรียกร้องสู่สันนิบาตชาติได้โดยตรงในอนาคต ในการตอบสนองต่อข้อเรียกร้อง รัฐบาลอิรักได้จัดที่อยู่ให้ชาวอัสซีเรีย แต่บริเวณนั้นเป็นบริเวณที่มีไข้มาลาเรียชุกชุม ทำให้ชาวอัสซีเรียนับร้อยคนต้องตายด้วยไข้มาลาเรีย

สภาแห่งสันนิบาตชาติยอมรับคำชี้แนะและข้อเสนอของอิรักในการรับประกันการคุมครองชนกลุ่มน้อยเมื่อ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 ทำให้อิรักได้เป็นสมาชิกสันนิบาตชาติเมื่อ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2475 [11]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอกราชอัสซีเรีย http://www.unhchr.ch/tbs/doc.nsf/(Symbol)/CERD.C.2... http://www.assyrianlevies.com/gpage1.html http://www.bethsuryoyo.com/images/Articles/AframBa... http://www.bethsuryoyo.com/images/Articles/AframBa... http://www.csmonitor.com/2004/0921/p06s01-woiq.htm... http://www.zindamagazine.com/html/archives/2005/11... http://net.lib.byu.edu/~rdh7/wwi/versa/sevres1.htm... http://www.assyriacouncil.eu/ http://www.iraqdemocracyproject.org/about_isdp.htm... http://links.jstor.org/sici?sici=0002-9300(193301)...