การพัฒนา ของ เอจีเอ็ม-84_ฮาร์พูน

ฮาร์พูนรุ่นแรก

ขีปนาวุธฮาร์พูนได้รับการเปิดเผยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2520 ภายหลังเหตุการณ์เรือพิฆาตของอิสราเอลโดนโจมตีจากขีปนาวุธโจมตีเรือ พี-15 เทอร์มิต ซึ่งผลิตในโซเวียต ทำให้มีการพัฒนาขีปนาวุธสำหรับยิงจากอากาศยานลาดตระเวน พี-3 โอไรออน อีกทั้งได้รับการดัดแปลงให้ใช้ทิ้งจากเครื่องบินทิ้งระเบิด บี-52 สตราโตฟอร์เทรส ซึ่งสามารถบรรทุกได้แปดถึงสิบสองลูก ฮาร์พูนได้รับความนิยมจากชาติพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาติสมาชิกนาโต อาทิเช่น แคนาดา สหราชอาณาจักร เยอรมนี อิตาลี และชาติพันธมิตรนอกนาโต เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไทย และในส่วนอื่นๆของโลก

ฮาร์พูนได้รับการดัดแปลงให้ใช้ยิงจากเครื่องบินขับไล่ เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน ของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งได้กับอากาศยานของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เช่น พี-3 โอไรออน, เอ-6 อินทรูเดอร์, เอส-3 ไวกิ้ง, เอวี-8 แฮริเออร์, และเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท

ฺฮาร์พูนขณะถูกยิงจากเรือรบหลวงเรจินาของกองทัพเรือแคนาดา

ฮาร์พูน บล็อก ID

ฮาร์พูนรุ่นดังกล่าวได้รับการดัดแปลงเพิ่มขนาดถังเชื้อเพลิง แต่มีจำนวนการผลิตที่จำกัดในสมัยสงครามเย็น (ใช้ในสงครามกับประเทศสนธิสัญญาวอร์ซอของยุโรปตะวันออก)


แสลม เอทีเอ (บล็อก IG)

อยู่ในระหว่างการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการบินวนโจมตีเป้าหมาย มีความสามารถใกล้เคียงกับขีปนาวุธร่นโทมาฮอร์ก โดยขีปนาวุธจะทำการคำนวณเป้าหมายที่อยู่เบื้องหน้ากับเป้าหมายที่ได้ระบุไว้ โดยการเปรียบเทียบภาพเป้าหมายจริงกับภาพเป้าหมายที่บันทึกไว้ในระบบคอมพิวเตอร์[2]

ฮาร์พูน บล็อก II ทดสอบยิงจาก ยูเอสเอสธอร์น

ฮาร์พูน บล็อก II

พัฒนาโดยโบอิง โดยเพิ่มขีดความสามารถในการต่อต้านต่อต้านทางอิเล็กโทรนิก (ECM) และระบบชี้เป้าด้วยระบบดาวเทียม (GPS)


ฮาร์พูน บล็อก III

แผนการพัฒนาโดยกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา โดยการปรับปรุงระบบควบคุมการยิง สำหรับติดตั้งบนเรือลาดตระเวนติดอาวุธนำวิถี เรือพิฆาตติดอาวุธนำวิถี และใช้ติดตั้งบนเครื่องบินโจมตี/ขับไล่แบบ เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท แต่ภายหลังการพัฒนาที่ล่าช้า นโยบายการควบคุมจำนวนเรือ การทดสอบที่ถูกเลื่อนออกไป ทำให้แผนการพัฒนาถูกยกเลิกในเดือน เมษายน พ.ศ. 2552


แหล่งที่มา

WikiPedia: เอจีเอ็ม-84_ฮาร์พูน http://www.astronautix.com/lvs/harpoon.htm http://www.boeing.com/defense-space/missiles/harpo... http://www.boeing.com/defense-space/missiles/harpo... http://www.boeing.com/news/releases/2008/q1/080131... http://www.defense-aerospace.com/cgi-bin/client/mo... http://www.digitalmilitaryart.com/Modern/Harpoon2D... http://www.news.navy.mil/navydata/fact_display.asp... http://www.ausairpower.net/TE-Harpoon.html http://www.designation-systems.net/dusrm/m-84.html http://www.fas.org/man/dod-101/sys/smart/agm-84.ht...