เออีเอส
เออีเอส

เออีเอส

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับ AES-128 กุญแจสามารถหาได้ด้วยวิธีที่มีความซับซ้อนเชิงคำนวณที่ 2126.1 โดยใช้ biclique attackถ้าใช้วิธีเดียวกันต่อ AES-192 และ AES-256 ความซับซ้อนจะอยู่ที่ 2189.7 และ 2254.4 ตามลำดับเออีเอส ซึ่งเป็นตัวย่อของ Advanced Encryption Standard (AES) ที่มีชื่อดั้งเดิมว่า Rijndael (เสียงอ่านภาษาดัตช์: [ˈrɛindaːl] อ่านว่า เรนดาล)[3]เป็นมาตรฐานการเข้ารหัสลับข้อมูลอิเล็กทรอนิกที่ตั้งขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติสหรัฐ (NIST) ในปี 2001[4]เออีเอสเป็นส่วนย่อยของกลุ่มบล็อกไซเฟอร์ (block cipher)[upper-alpha 4]ที่เรียกว่าเรนดาล (Rijndael)[3]และพัฒนาโดยนักวิทยาการเข้ารหัสลับชาวเบลเยียมสองท่าน คือวินเซ็นต์ เรเม็น (Vincent Rijmen) และโจน แดเม็น (Joan Daemen) ผู้ส่งวิธีการเป็นข้อเสนอ[5]แก่ NIST เมื่อองค์กรกำลังเลือกไซเฟอร์ (cipher)[upper-alpha 5]เพื่อใช้เป็นเออีเอส[6]เรนดาลเป็นกลุ่มไซเฟอร์ที่มีกุญแจและบล็อก (block) ขนาดต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานเออีเอส NIST ได้เลือกสมาชิก 3 หน่วยจากกลุ่มเรนดาล แต่ละอย่างมีขนาดบล็อก 128 บิตโดยมีกุญแจขนาดต่าง ๆ คือ 128, 192 และ 256 บิตรัฐบาลกลางสหรัฐได้เลือกใช้มาตรฐานนี้ และปัจจุบันก็ใช้กันทั่วโลกเป็นมาตรฐานแทน Data Encryption Standard (DES)[7]ซึ่งเผยแพร่ในปี 1977AES ใช้ขั้นตอนวิธีแบบกุญแจสมมาตร (symmetric-key algorithm) คือ ใช้กุญแจตัวเดียวกันเพื่อทั้งเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูลในสหรัฐ NIST ได้ประกาศเออีเอสเป็นมาตรฐานประมวลข้อมูลรัฐบาลกลางสหรัฐ (FIPS 197) เมื่อปลายปี 2001[4]นี่ทำตามหลังกระบวนการวางมาตรฐาน ซึ่งมีแบบที่เข้าแข่งขันกัน 15 แบบ เมื่อประเมินแล้วไซเฟอร์เรนดาลจึงได้เลือกว่าเหมาะสมที่สุดเออีเอสจึงกลายเป็นมาตรฐานรัฐบาลกลางสหรัฐเมื่อกลางปี 2002 หลังจากได้รับอนุมัติจากเลขาธิการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเออีเอสได้รวมเข้ามาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) และ International Electrotechnical Commission (IEC) คือ ISO/IEC 18033-3 standardเออีเอสมีใช้ในคลัง/โปรแกรมเข้ารหัสสำเร็จหลายอย่าง เป็นไซเฟอร์ที่สาธารณชนเข้าถึงได้เดียวที่สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ (NSA) อนุมัติให้ใช้เข้ารหัสข้อมูลราชการลับระดับ "top secret" โดยต้องใช้มอดูลเข้ารหัสที่องค์กรได้อนุมัติ

เออีเอส

รอบการคำนวณ 10, 12 หรือ 14 รอบ (ขึ้นอยู่กับขนาดกุญแจ)
ผู้ออกแบบ วินเซ็นต์ เรเม็น, โจน แดเม็น
แบบอนุพัทธ์ของ Square
การรับรอง AES winner, CRYPTREC, NESSIE, NSA
เผยแพร่ 1998
ขนาดบล็อก 128 บิต[upper-alpha 2]
โครงสร้าง Substitution-permutation network
แบบที่เป็นอนุพัทธ์ Anubis, Grand Cru, Kalyna
ขนาดกุญแจ 128, 192 หรือ 256 บิต[upper-alpha 1]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เออีเอส http://www.findarticles.com/p/articles/mi_m0IKZ/is... http://www.formaestudio.com/rijndaelinspector/arch... http://www.macfergus.com/pub/rdalgeq.html http://research.microsoft.com/en-us/projects/crypt... http://www.schneier.com/blog/archives/2005/05/aes_... http://www.schneier.com/crypto-gram-0010.html http://www.schneier.com/crypto-gram-0209.html http://www.schneier.com/paper-aes-performance.pdf http://www.schneier.com/paper-twofish-final.pdf http://www.springerlink.com/index/UVX5NQGNN55VK199...