การออกฤทธิ์ทางสรีรวิทยา ของ เอทิลีน

  • การตอบสนองต่อภาวะน้ำท่วมขัง พืชที่ถูกน้ำท่วมจะสังเคราะห์เอทิลีนได้มาก ทำให้พืชเกิดการเปลี่ยนแปลงคือ ใบเหลือง เหี่ยว หุบลู่ลง แล้วหลุดร่วง
  • การยับยั้งความยาวของราก ผลของเอทิลีนต่อรากจะแตกต่างกันไปในพืชแต่ละชนิด พืชที่เจริญในดินที่ระบายอากาศได้ดี จะผลิตเอทิลีนจำนวนน้อย และจะแสดงผลการอย่างชัดเจนเมื่อได้รับเอทิลีนจากภายนอก ส่วนพืชที่เจริญในพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ข้าว รากพืชจะผลิตเอทิลีนในปริมาณที่สูงกว่า และทนต่อการได้รับเอทิลีนจากภายนอกน้อยกว่า [6]
  • การยืดขยายความยาวของลำต้น เอทิลีนยับยั้งการยืดยาวของลำต้น ทำให้อ้วนหนาขึ้น พบมากในพืชใบเลี้ยงคู่ ส่วนยอดของลำต้นจะโค้งงอเป็นตะขอ [7]
  • ผลต่อการเจริญของกิ่งและใบ เอทิลีนกดการเจริญของกิ่งและใบ โดยเฉพาะบริเวณปล้อง เอทิลีนมีส่วนในการกระตุ้นการเกิดของใบ แต่เมื่อเกิดใบขึ้นแล้วจะยับยั้งการแผ่ขยายของใบ (Dugardeyn, and Van Der Straeten, 2008)
  • ผลต่อการออกดอก เอทิลีนชักนำการออกดอกของมะม่วงและพืชวงศ์สับปะรดในขณะที่ยับยั้งการออกดอกของพืชชนิดอื่นๆ ในพืชวงศ์แตง เอทิลีนปริมาณสูงส่งเสริมการเจริญของดอกเพศเมีย
  • ทำให้กลีบดอกร่วงหลังจากการปฏิสนธิ โดยการถ่ายละอองเกสรทำให้มีการสังเคราะห์เอทิลีนสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการปล่อยออกซินในขณะละอองเรณูงอก ทำให้มีการปล่อยเอทิลีนมากขึ้น
  • ชักนำให้เกิดขนรากมากขึ้นด้วย [8]
  • เร่งให้เกิดการสุกในแอปเปิล กล้วย มะม่วง แคนตาลูบและมะเขือเทศ โดยจะเพิ่มการผลิตเอทิลีนในระยะที่แก่เต็มที่แต่ยังเป็นสีเขียวอยู่ การเพิ่มขึ้นของเอทิลีนทำให้มีอัตราการหายใจเพิ่มขึ้น คลอโรฟิลล์สลายตัว การสร้างสารสี รส และกลิ่น การอ่อนตัวลงของเนื้อเยื่อ และเตรียมพร้อมสำหรับการหลุดร่วง [9]
  • เอทิลีนถูกผลิตมากขึ้นเมื่อพืชติดเชื้อ เป็นไปได้ว่าเอทิลีนยับยั้งการกระจายตัวของเชื้อโรคโดยกระตุ้นให้ชิ้นส่วนนั้นของพืชหลุดร่วงไป[10]