ที่มาของชื่อ ของ เอลฟ์

คำว่า "เอลฟ์" ในภาษาอังกฤษ มาจากภาษาอังกฤษเก่าว่า ælf (บ้างเรียกว่า ylf) ซึ่งมาจากคำในตระกูลโปรโต-เยอรมันว่า *albo-z, *albi-z ภาษานอร์สโบราณว่า álfr เยอรมันยุคกลางชั้นสูงว่า elbe ในตำนานอังกฤษยุคกลางนับถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถือว่า เอลฟ์ (elf) เป็นเพศชาย ส่วนเพศหญิงจะเรียกว่า elven (ภาษาอังกฤษเก่าว่า ælfen ซึ่งมาจาก *albinnja)

แต่รากคำดั้งเดิมยิ่งกว่านั้นน่าจะมาจากคำในภาษาตระกูล โปรโต-อินโด-ยูโรเปียน คือ *albh- ซึ่งมีความหมายว่า "ขาว" อันเป็นรากเดียวกันกับคำในภาษาละติน albus ที่แปลว่า "ขาว"[1] อย่างไรก็ดีมีอีกทฤษฎีหนึ่งเสนอว่า คำนี้น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับ Rbhus นายช่างนักพยากรณ์ในตำนานเก่าแก่ของอินเดีย (ดู พจนานุกรมของออกซฟอร์ด) แนวคิดนี้ดูหนักแน่นกว่ารากคำในภาษาละตินมาก

คำเรียกเอลฟ์แบบต่างๆ ในภาษากลุ่มเจอร์แมนิก นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ มีดังนี้

  • เจอร์แมนิกเหนือ
  • เจอร์แมนิกตะวันตก
    • ดัตช์ : elf, elfen, elven, alven
    • เยอรมัน : Elf (ชาย) , Elfe (หญิง) , Elfen "fairies", Elb (ชาย, พหูพจน์ Elbe หรือ Elben) [2] เป็นคำสร้างขึ้นใหม่ ส่วน Elbe (หญิง) เป็นคำในภาษาเยอรมันยุคกลางชั้นสูง Alb Alp (ชาย) พหูพจน์ Alpe มีความหมายเหมือนกับ "incubus" (ภาษาเยอรมันโบราณชั้นสูงเรียก alp พหูพจน์ *alpî หรือ *elpî)
  • โกธิค : *albs, พหูพจน์ *albeis (โปรคอพิอุส นักปราชญ์ชาวโรมัน มีชื่อเดิมว่า Albila)

ใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ฉบับแปลภาษาไทย ใช้คำว่า "พราย" สำหรับความหมายของ เอลฟ์ ซึ่งทำให้เกิดนิยามใหม่สำหรับความหมายของ "พราย" นอกเหนือจากความหมายแต่เดิมที่หมายถึง ผีจำพวกหนึ่ง (มักใช้กับผีผู้หญิงตายทั้งกลม)

ใกล้เคียง

เอลฟ์ เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) เอลฟ์ตัวนี้น่ารำคาญจริง ๆ เอลฟ์เฟลด (พระมเหสีของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส) เอลฟ์จิฟูแห่งนอร์แธมตัน เอลฟ์จิฟู มเหสีของเอ็ดวี เอลฟ์ประจำบ้าน เกลฟ์และกิเบลลิเน เอาฟ์แอร์ชตันเดินเอาส์รูอีเนิน เอาฟ์เซ็ส