เอสเทอร์
เอสเทอร์

เอสเทอร์

อลิฟาติก
อโรมาติก
เฮเทอรโรไซคลิก
แอลกอฮอล์
แอลดีไฮด์
สารประกอบอะลิไซคลิก
อะไมด์
อะมีน
คาร์โบไฮเดรต
กรดคาร์บอกซิลิก
เอสเตอร์
อีเทอร์
คีโตน
ลิพิด
เมอร์แคปแทน
ไนไตรล์
คอมฟิกุรุเชัน
อิแนนทิโอเมอร์
จีออเมตริกไอโซเมอริซึม
คอนฟอร์เมชัน
ปฏิกิริยาการแทนที่
ปฏิกิริยาการกำจัด
อัลตราไวโอเลต-วิซิเบิลสเปกโทรสโกปี
อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี
นิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโทรสโกปี
แมสส์สเปกโทรสโกปี
เอสเทอร์ เป็นสารประกอบทางเคมีที่เกิดจากออกโซแอซิด (หนึ่งในหมู่ oxo , X=O), และสารประกอบไฮดรอกซิล เช่น แอลกอฮอล์หรือฟีนอล เป็นต้น[1] เอสเทอร์ประกอบด้วยกรดอนินทรีย์หรือกรดอินทรีย์โดยที่หมู่ -OH (ไฮดรอกซิล) อย่างน้อยหนึ่งหมู่ถูกแทนที่ด้วยหมู่ -O-แอลคิล (แอลคอกซี) คล้ายกับเกลือที่ใช้แอลกอฮอล์อินทรีย์แทนที่ไฮดรอกไซด์ของโลหะเอสเทอร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง มีไขมันและน้ำมันจำนวนมากที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นเอสเทอร์กรดไขมันของกลีเซอรีน โมเลกุลของเอสเทอร์มีน้ำหนักเบา ปกติมีกลิ่นหอมพบในน้ำมันหอมระเหยและฟีโรโมน ฟอสโฟเอสเทอร์เป็นรูปร่างแกนหลักของโมเลกุล DNA เอสเทอร์ไนเตรต เช่น ไนโตรกลีเซอรีน มีคุณสมบัติในการทำระเบิด ขณะที่โพลีเอสเตอร์เป็นพลาสติกที่สำคัญที่มอนอเมอร์เชื่อมโดยเอสเทอร์ส่วนหนึ่งกรดบางชนิดที่ปกติจะเปลี่ยนเป็นเอสเทอร์ คือ กรดคาร์บอกซิลิก, กรดฟอสฟอริก, กรดกำมะถัน, กรดไนตริก, และ กรดบอริก วัฏจักรเอสเทอร์เรียกว่าแลกโทน