รูปสัญลักษณ์ ของ เอากุสตุสแห่งปรีมาปอร์ตา

ภาพเหมือน

ศีรษะ

ทรงผมเป็นผมเส้นหนาและมีลักษณะเป็นผมม้าบนหน้าผาก จากทางซ้ายมีปอยผมสองปอยออกไปทางด้านหน้า และทางขวาสามปอย ซึ่งเป็นลักษณะทรงผมที่พบเป็นครั้งแรกบนประติมากรรมชิ้นนี้ ทรงผมนี้ใช้ในการเปรียบเทียบกับภาพเหมือนของเอากุสตุสบนเหรียญที่ทำให้สามารถบ่งเวลาที่สร้างหรือทำได้[3] ลักษณะทรงผมนี้ใช้ในการบ่งว่าเป็นประติมากรรมแบบปรีมาปอร์ตา แบบที่สองที่เป็นที่นิยมใช้ที่สุดในบรรดาสามแบบที่ใช้ ทรงผมแบบอื่น ๆ ของเอากุสตุสอาจจะพบบนแท่นเอากุสตุส (Ara Pacis Augustae) ประติมากรรมเต็มตัวของเอากุสตุสแบบปรีมาปอร์ตาอีกชิ้นหนึ่งก็ได้แก่เอากุสตุสเวียลาบิคานา ซึ่งเป็นภาพเอากุสตุสในบทของพอนติเฟ็กซ์แม็กซิมัสที่ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งกรุงโรม

ใบหน้าของประติมากรรมเป็นใบหน้าแบบอุดมคติเช่นเดียวกับประติมากรรมของโพลิคลิตัส ศิลปะได้รับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสมัยการปกครองของเอากุสตุส การสร้างงานที่มีลักษณะเป็นสัจนิยมอย่างแท้จริงในสมัยสาธารณรัฐมาเปลี่ยนเป็นประติมากรรมที่มีอิทธิพลจากงานประติมากรรมของกรีก ที่จะเห็นได้จากงานประติมากรรมของจักรพรรดิหลายพระองค์ การสร้างงานแบบอุดมคติเป็นการรวบยอดคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ผู้ที่มีความสามารถเหนือผู้ใดผู้ควรค่าต่อการปกครองจักรวรรดิควรจะมี ประติมากรรมเหมือนในสมัยแรกของเอากุสตุสจะออกมาในรูปแบบของการเป็นพระราชา แต่ในสมัยต่อมารูปลักษณ์นี้ก็ค่อยกลายมาเป็นลักษณะที่อ่อนลงในรูปแบบที่เรียกว่า “ความเป็นเอกในบรรดาผู้เสมอภาค” (Primus inter pares) ศีรษะและคอสร้างจากหินอ่อนที่แยกจากกันและนำมาต่อกับลำตัวภายหลัง

ภาพนูนบนเกราะหน้าอก

รูปสัญลักษณ์ที่ใช้มักจะเปรียบเทียบกับรูปสัญลักษณ์ที่ใช้ใน “เพลงสดุดีคาร์เมน” (Carmen Saeculare) โดยโฮราซ และฉลองโอกาสที่เอากุสตุสก่อตั้ง “สันติภาพโรมัน” (Pax Romana) เกราะหน้าอกเป็นงานภาพนูนที่มีจุลรูปของการนำธงประจำกองทหารโรมันที่เสียให้กับพาร์เธียกลับคืนมาโดยมาร์ค แอนโทนีราวสี่สิบปีก่อนคริสต์ศักราช และ โดยคราสซัสในปี 53 ก่อนคริสต์ศักราชที่เป็นผลมาจากความสามารถทางการทูตของเอากุสตุส

จุลรูปตรงกลางเกราะหน้าอกตามการตีความหมายโดยทั่วไปเป็นภาพพระมหากษัตริย์พาร์เธียพระราชทานธงของคราสซัสคืนให้แก่ทหารโรมันสวมเกราะ (อาจจะเป็นมาร์ส อุลทอร์) ภาพนี้เป็นหัวข้อที่นิยมกันในการสร้างเสริมชื่อเสียงของเอากุสตุสเพราะเป็นการแสดงความสำเร็จครั้งใหญ่ทางด้านการต่างประเทศของเอากุสตุส และเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องเน้น เพราะเอากุสตุสใช้การเจรจาทางทูตแทนการเข้าสงครามกับพาร์เธียซึ่งมีอำนาจทางการทหารที่เหนือกว่า ทางด้านซ้ายและขวาเป็นภาพสตรีนั่งเศร้า จุลรูปทางด้านหนึ่งเป็นบุคคลาธิษฐานของชาวตะวันออกที่ถูกบังคับให้ส่งบรรณาการให้แก่โรม และอีกด้านหนึ่งเป็นดาบที่เป็นบุคคลาธิษฐานของชาวเมืองขึ้นของโรม (เคลต์) จากตอนบนตามเข็มนาฬิกา:

แต่ก็ไม่มีจุลรูปใดที่ไม่ได้รับการคัดค้าน เทพทั้งหมดอาจจะเป็นสัญลักษณ์ของความต่อเนื่องและความคงเส้นคงวาของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับการขึ้นการตกของพระอาทิตย์หรือพระจันทร์ที่เกิดขึ้นทุกวันโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ฉะนั้นความสำเร็จของชาวโรมันจึงเป็นสิ่งที่แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่เกิดจากการช่วยเหลือของเทพ นอกจากนั้นความสำเร็จต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก็มีความเกี่ยวข้องกับเอากุสตุสผู้ที่สวมเกราะด้วย บุคคลสำคัญคนเดียวบนเกราะที่ไม่ได้เป็นเทพคือพระมหากษัตริย์พาร์เธียน ซึ่งเป็นนัยยะว่าสิ่งอื่น ๆ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามความประสงค์ของเทพเบื้องบน หรือ สิ่งที่เทพเบื้องบนมีความเห็นด้วย

ฐานะความเป็นเทพ

เมื่อยังมีชีวิตอยู่เอากุสตุสไม่ต้องการที่จะแสดงตัวเป็นเทพ (ซึ่งไม่เหมือนจักรพรรดิองค์ต่อมาที่พยายามทำตนเป็นเทพ) แต่ประติมากรรมชิ้นนี้มีนัยยะหลายอย่างที่บ่งถึง “ความเป็นเทพ” (divine nature) ของเอากุสตุส เอากุสตุสที่ไม่สวมรองเท้าบ่งว่าเป็นวีรบุรุษและอาจจะเป็นเทพ และ อาจจะเป็นการสร้างรายละเอียดทางด้านการพลเรือนในภาพที่ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นภาพเกี่ยวกับทหารอย่างเต็มที่ การไม่สวมรองเท้าเดิมใช้กับงานที่เป็นภาพของเทพเท่านั้น แต่ก็อาจจะเป็นการนัยยะว่าเป็นงานประติมากรรมที่สร้างขึ้นหลังจากการเสียชีวิตของเอากุสตุสที่เป็นงานก็อปปีของประติมากรรมชิ้นเดิมในเมือง ที่เอากุสตุสอาจจะสวมรองเท้า

คิวปิด (ลูกของวีนัส) ที่เท้าของเอากุสตุส (ขี่โลมา) เป็นการอ้างอิงของทั้งเอากุสตุสและบิดาเลี้ยงจูเลียส ซีซาร์ว่าตระกูลจูเลียนสืบเชื้อสายมาจากเทพีวีนัส - การอ้างอิงว่าสืบเชื้อสายมาจากเทพโดยไม่ได้อ้างอิงว่ามีฐานะเป็นเทพซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในกรีซแต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันในโรม

ใกล้เคียง

เอากุสโต ปิโนเช เอากุสตุสแห่งปรีมาปอร์ตา เอากุสเทอ วิคโทรีอา แห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ เอากุสทาแห่งซัคเซิน-โกทา-อัลเทินบวร์ค เอากุสทาแห่งซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซอนัค เอากุสท์ ไนท์ฮาร์ท ฟ็อน กไนเซอเนา เอากุสท์ แบร์ เอากุสตุส ซีซาร์ เอากุสท์ ไฮม์ เอซากุ ซาโต