ลักษณะ ของ เอากุสตุสแห่งปรีมาปอร์ตา

เอากุสตุสเป็นรูปของ “Imperator” หรือแม่ทัพ, “thoracatus” หรือแม่ทัพเอกของกองทัพโรมัน ซึ่งหมายความว่าประติมากรรมน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของอนุสาวรีย์เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะครั้งล่าสุด เอากุสตุสแต่งตัวอย่างทหาร, ถือคทากงสุล และ ยกมือขวาสูงขึ้นในท่า “adlocutio” หรือท่ากล่าวสุนทรพจน์ต่อกองทหาร ภาพนูนบนเกราะเป็นอุปมานิทัศน์ที่ค่อนข้างจะซับซ้อนและเป็นเนื้อหาทางการเมืองที่เป็นนัยยะถึงเทพโรมันต่าง ๆ รวมทั้งเทพมาร์สเทพเจ้าแห่งสงคราม และบุคลาธิษฐานของดินแดนต่างที่เอากุสตุสพิชิตที่รวมทั้งฮิสปาเนีย, กอล, เจอร์มาเนีย, พาร์เธีย (ที่ทำให้คราสซัสเสียหน้า ที่ปรากฏเป็นภาพที่ต้องคืนธงที่ไปยึดมาได้) ตอนบนเป็นรถม้าแห่งสุรยเทพที่ส่องการภารกิจที่เอากุสตุสปฏิบัติ

ประติมากรรมเป็นงานที่มีลักษณะเป็นงานแบบอุดมคติที่มีพื้นฐานมาจากประติมากรรมคนถือหอก หรือ “โดริฟอรอส” โดยประติมากรโพลิไคลทอสจากศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช

เปรียบเทียบกับ “Orator” ที่พิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งชาติแห่งฟลอเรนซ์ ท่าตริภังค์[1]ของ “โดริฟอรอส” สร้างแนวทแยงระหว่างความตึงเครียดและความหย่อนของแขนขา ซึ่งเป็นลักษณะที่ใช้กันโดยทั่วไปของประติมากรรมแบบคลาสสิกก็นำมาใช้ในการสร้างประติมากรรมชิ้นนี้ การระบุ “โดริฟอรอส” ผิดไปในสมัยโรมันว่าเป็นภาพของอคิลลีสก็ยิ่งทำให้เห็นคุณค่าของประติมากรรมชิ้นนี้เพิ่มมากขึ้น[2] แม้ว่าส่วนหัวจะเป็นอิทธิพลของรีพับลิกันแต่ลักษณะโดยทั่วไปแล้วใกล้เคียงกับงานแบบอุดมคติแบบเฮเลนนิสติคมากกว่าที่จะเป็นงานสัจนิยมของการสร้างภาพเหมือนแบบโรมัน

แม้ว่าความเที่ยงตรงต่อรูปร่างลักษณะของเอากุสตุสจะออกมาดูห่างเหินและแสดงสีหน้าสงบในลักษณะที่เป็นแบบอุดมคติ เช่นเดียวกันกับท่าตริภังค์ แต่ลักษณะเครื่องแต่งกายเป็นแบบเครื่องแต่งกายของแม่ทัพที่ถูกต้อง แต่ในขณะเดียวกันการที่เอากุสตุสมิได้สวมรองเท้าและการมีคิวปิดขี่โลมาเป็นฐานรับก็เป็นนัยยะถึงบรรพบุรุษที่เกี่ยวข้องกับเทพีวีนัสผู้เป็นแม่ของคิวปิดจากทางสายพ่อเลี้ยงจูเลียส ซีซาร์ อิทธิพลของลักษณะประติมากรรมแบบกรีกที่เห็นได้ชัดและสัญลักษณ์สำหรับประติมากรรมเหมือนอย่างเป็นทางการที่เมื่อใช้กับจักรพรรดิโรมันแล้วก็เป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อโดยรัฐบาลซึ่งเป็นหัวใจของการรณรงค์ทางอุดมคติของเอากุสตุส ซึ่งหันเหมาจากรูปลักษณ์ในสมัยระบบสาธารณรัฐที่ความมีอาวุโสและความมีสติปัญญาถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความมีบุคลิกอันเป็นที่น่าเคารพ ฉะนั้นประติมากรรมปรีมาปอร์ตาจึงเป็นงานประติมากรรมที่เป็นจุดเปลี่ยนแปลงแนวคิดของการสร้างรูปสัญลักษณ์ไปในทางตรงกันข้ามกับสมัยกรีก และสมัยเฮเลนนิสติค ซึ่งกลายมาเป็นสมัยที่ชื่นชมกับความเยาว์วัยและความแข็งแกร่งว่าเป็นคุณสมบัติของความเป็นผู้นำ การเลียนแบบวีรบุรุษ และ การชื่นชมวีรบุรุษเช่นอเล็กซานเดอร์มหาราช วัตถุประสงค์ทางการเมืองของประติมากรรมดังว่าเป็นที่เห็นได้ชัด เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าจักรพรรดิเอากุสตุสเป็นผู้ที่มีความสามารถเหนือผู้ใด ที่เทียบได้กับวีรบุรุษที่ควรค่าแก่การยกฐานะให้อยู่บนภูเขาโอลิมปัสได้ และเป็นบุคคลที่เหมาะสมที่สุดที่จะเป็นผู้นำของโรม

พหุรงค์

แทบจะเป็นที่แน่นอนว่าประติมากรรมออกัสตัดเดิมทาสีเป็นพหุรงค์ (polychrome) แต่รอยสีถ้ามีก็แทบจะไม่มีเหลือหรออยู่ให้เห็น วินเซนซ์ บริงค์มันน์แห่งมิวนิกพยายามค้นคว้าการใช้สีบนงานประติมากรรมโบราณในคริสต์ทศวรรษ 1980 โดยใช้รังสีอัลตราไวโอเลตเพื่อที่จะพยายามหาร่องรอยสีบนประติมากรรม

ใกล้เคียง

เอากุสโต ปิโนเช เอากุสตุสแห่งปรีมาปอร์ตา เอากุสเทอ วิคโทรีอา แห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ เอากุสทาแห่งซัคเซิน-โกทา-อัลเทินบวร์ค เอากุสทาแห่งซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซอนัค เอากุสท์ ไนท์ฮาร์ท ฟ็อน กไนเซอเนา เอากุสท์ แบร์ เอากุสตุส ซีซาร์ เอากุสท์ ไฮม์ เอซากุ ซาโต