วัฒนธรรม ของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ดูเพิ่มเติมที่: ซีเกมส์
นาข้าวบานัวในประเทศฟิลิปปินส์

วัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความหลากหลายเป็นอย่างมาก บนแผ่นดินใหญ่จะมีการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมอินเดียและจีน ส่วนอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย และสิงคโปร์นั้นประกอบด้วยวัฒนธรรมอาหรับ, โปรตุเกส, สเปน, จีน, อินเดีย และวัฒนธรรมพื้นเมืองมลายู ส่วนบรูไนจะค่อนข้างแตกต่างจากประเทศอื่น เพราะได้รับอิทธิพลมากมายจากวัฒนธรรมอาหรับ

ในภูมิภาคนี้มีการทำนาข้าวมาแล้วนับพันปี เช่น นาข้าวบานัวที่เกาะลูซอน โดยนาข้าวต้องใช้ความมุมานะในการดูแลรักษาเป็นอย่างมาก และสามารถเข้ากับสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมได้เป็นอย่างดี

บ้านยกบนเสาสูงสามารถหาได้ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ไทยและลาว, เกาะบอร์เนียว, เกาะลูซอนในฟิลิปปินส์, ไปจนถึงปาปัวนิวกินี โดยมีเทคนิกในการสร้างไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย รวมไปถึงด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ เช่น กริช และเครื่องดนตรี เช่น ระนาด

อิทธิพล

วัฒนธรรมในภูมิภาคนี้ส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีนและอินเดีย โดยเวียดนามเป็นประเทศที่ได้รับอิทธิพลจีนชัดเจนที่สุด ส่วนวัฒนธรรมตะวันตกนั้นมีมากที่สุดที่ฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือมีการใช้กฎหมายแบบสเปนและอเมริกัน

ด้วยความที่จีนมีอิทธิพลต่อเวียดนามมาเป็นเวลานาน เวียดนามจึงถูกจัดอยู่ในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกด้วย ธรรมเนียมปฏิบัติของชาวเวียดนามมีปรัชญาเอเชียตะวันออกเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลทางศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ นิกายมหายาน, ลัทธิขงจื้อ และลัทธิเต๋า ซึ่งเกิดขึ้นในจีนทั้งหมด นอกจากนี้ในเวียดนามยังนิยมใช้ตะเกียบในการรับประทานอาหารเช่นเดียวกับประเทศในเอเชียตะวันออกประเทศอื่น ๆ และอาหารเวียดนามส่วนใหญ่ก็ได้รับอิทธิพลจากจีนและฝรั่งเศส

โดยทั่วไปแล้วผู้คนที่รับประทานอาหารด้วยมือจะเป็นพวกที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียมากกว่าจีน ซึ่งรับประทานอาหารด้วยตะเกียบและมีชาเป็นเครื่องดื่ม นอกจากนี้น้ำปลาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังค่อนข้างมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ต่างจากภูมิภาคอื่น ๆ

ศิลปกรรม

"เด็กขี่ควายเป่าฟลูต" ภาพวาดของเวียดนามนาฏศิลป์หลวงของกัมพูชา (กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี 2010)

ศิลปกรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แตกต่างจากภูมิภาคอื่นอย่างชัดเจน โดยส่วนใหญ่แล้วการร่ายรำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มักประกอบด้วยการเคลื่อนไหวของมือและเท้าตามอารมณ์และความหมายที่ต้องการสื่อให้ผู้ชมรับรู้ ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่นับว่าการรำเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมของพวกเขา โดยนาฏศิลป์หลวงของกัมพูชาเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นคริสตศตรรษที่ 7 ก่อนจักรวรรดิขแมร์ที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ค่อนข้างมาก เช่น ระบำอัปสรา การเล่นหุ่นเงาเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีมาอย่างยาวนานถึงกว่าร้อยปีโดยรูปแบบหนึ่งที่รู้จักกันดีคือวายังของอินโดนีเซีย เช่นเดียวกันศิลปกรรมและวรรณกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางประเทศก็ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์มานับร้อยปีแล้ว

ชาวไทซึ่งย้ายถิ่นฐานมาในภายหลังได้นำประเพณีจีนบางอย่างเข้ามาด้วย แต่ก็ถูกกลืนไปด้วยประเพณีเขมรและมอญ โดยสิ่งเดียวที่บ่งชี้ได้ว่าพวกเขาเคยรับศิลปกรรมจากจีนมาก่อนคือรูปแบบของวัด โดยเฉพาะหลังคาแบบเรียว

แม้จะเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามที่ต่อต้านลักษณะศิลปกรรมต่าง ๆ แล้ว แต่อินโดนีเซียก็ยังคงเหลือสิ่งที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์มากมายไม่ว่าจะเป็นหลักคำสอน, วัฒนธรรม, ศิลปกรรม และวรรณกรรม เช่น วายังกูลิต (หนังตะลุง) และวรรณกรรมอย่างรามายณะ ด้านส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ (ไม่รวมเวียดนาม) การรำและศิลปกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับเทพเจ้าตามความเชื่อของฮินดู ได้ถูกรวมเข้ากับวัฒนธรรมไทย, กัมพูชา, ลาว และพม่า โดยสิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าศิลปกรรมโบราณเขมรและอินโดมีความเกี่ยวโยงกับการพรรณนาเรื่องราวชีวิตของเทพ นอกจากนี้ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเชื่อเรื่องราวชีวิตของเทพว่าเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับชีวิตของพวกเขาทั้งความรื่นเริง, ลักษณะของโลก, การทำนายเรื่องราวที่ยังไม่เกิด

ดนตรี

เด็กชายชาวไทยตีขิม

ดนตรีพื้นบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แปรเปลี่ยนไปตามชาติพันธุ์และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน โดยแนวดนตรีที่สามารถพบเห็นได้โดยส่วนใหญ่ ได้แก่ ดนตรีคอร์ท, ดนตรีโฟล์ก, แนวดนตรีของชนกลุ่มน้อย, และดนตรีที่ได้รับอิทธิพลจากภูมิภาคอื่น

สำหรับดนตรีคอร์ทและโฟล์กนั้น ฆ้องเป็นสิ่งที่สามารถหาชมได้ทั่วไปในภูมิภาค (ยกเว้นบริเวณพื้นที่ต่ำของเวียดนาม) กัมเมลัน ของอินโดนีเซีย, วงปี่พาทย์ ของไทยและกัมพูชา รวมทั้ง Kulintang ที่เป็นเครื่องดนตรีของทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์, เกาะบอร์เนียว, เกาะซูลาเวซี และเกาะติมอร์ คือสามแนวดนตรีที่มีความโดดเด่นและมีอิทธิพลต่อดนตรีแนวอื่นในภูมิภาค นอกจากนี้ดนตรีแนวสตริงเป็นแนวที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การเขียน

อักษรบาหลีบนใบปาล์ม

วัฒนธรรมอินเดียเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้ชนพื้นเมืองได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนมาแต่ในอดีต โดยมีรูปแบบที่ปรากฏตระกูลอักษรพราหมี เช่น อักษรบาหลีที่ปรากฏบนใบปาล์ม

การเขียนในรูปแบบนี้ถูกเผยแพร่ออกไปตั้งแต่ก่อนที่กระดาษจะเกิดขึ้นราวประมาณปีที่ 100 ในจีน โดยบนใบปาล์มแต่ละใบจะประกอบด้วยตัวอักษรหลายบรรทัดเขียนไปตามความยาวของใบ และมีการใช้เชือกเรียงไปยังใบอื่น มีการตกแต่งบริเวณที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลาง ตัวอักษรของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่เป็นแบบอักษรสระประกอบ จนกระทั่งเมื่อมีชาวตะวันตกเข้ามา และมีการผสมผสานอย่างกลมกลืน ไม่ใช่แค่เสียงสระเท่านั้น แต่ยังรวมถึงรูปแบบเอกสารทางการที่ไม่ใช้กระดาษด้วย ได้แก่ คัมภีร์ทองแดงชวา ซึ่งมีความทนทานมากกว่ากระดาษในสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ http://www.newscientist.com/channel/life/endangere... http://www.worldometers.info/world-population/asia... http://asean.org/asean/asean-member-states/ http://www.asean.org http://www.imf.org/external/pubs/ft/weo/2016/02/we... http://www.nationsonline.org/oneworld/map_of_south... http://www.haribon.org.ph/index.php?view=article&i... https://books.google.com/?id=NuW3BgAAQBAJ&pg=PA7&d... https://www.cia.gov/library/publications/the-world... https://www.cia.gov/library/publications/the-world...