กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์ ของ เอเธล์วูลฟ์_กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์


ภาพพระเจ้าเอเธล์วูล์ฟในพงศาวดารพงศาวลีกษัตริย์อังกฤษ คริสต์ศตวรรษที่ 13

ในช่วงเวลาดังกล่าวพระเจ้าเอ็กเบิร์ตได้การันตีการสืบทอดตำแหน่งของเอเธล์วูล์ฟด้วยการทำสัญญากับศาสนจักรโดยมีซีออลนอธ อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์บรีผู้ทรงอำนาจให้การสนับสนุน เมื่อพระเจ้าเอ็กเบิร์ตสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 839 เอเธล์วูล์ฟได้ขึ้นเป็นกษัตริย์โดยไม่มีขุนนางเวสเซ็กซ์คนใดคิดท้าชิงตำแหน่ง


ในเวลานั้นพระองค์ได้สมรสอยู่แล้วกับออสเบอร์และอาเธล์สตาน พระโอรสของพระองค์ก็มีพระชนมายุมากพอที่จะขึ้นเป็นอนุกษัตริย์แห่งเคนต์, เอสเซ็กซ์, ซัสเซ็กซ์ และเซอร์รีย์ พระเจ้าเอเธล์วูล์ฟเริ่มต้นการเมืองด้วยการพระราชทานดินแดนให้แก่ขุนนางเวสเซ็กซ์หลายคนเพื่อเป็นการเอาใจและทำการกระชับไมตรีกับเมอร์เซียด้วยข้อสัญญาและการเจรจามากมาย หลักฐานถึงการเมืองที่เอเธล์วูล์ฟมีต่อกลุ่มขุนนางถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1780 ในรูปของแหวนที่มีชื่อของพระองค์ แหวนสลักเป็นรูปนกยูงสองตัวยืนขนาบข้างต้นไม้แห่งชีวิตของชาวคริสต์และมีคำว่า "เอเธล์วูล์ฟเร็กซ์ (พระเจ้าเอเธล์วูล์ฟ)" สลักอยู่ข้างใต้ เข้าใจกันว่าแหวนดังกล่าวถูกมอบให้แก่ขุนนางที่จงรักภักดีต่อพระองค์


ในช่วงปี ค.ศ. 844–855 พระเจ้าเอเธล์วูล์ฟได้ออกกฎบัตรล้างบางซึ่งเป็นกฎบัตรที่ว่าด้วยการปลดปล่อยพื้นที่หนึ่งในสิบของราชอาณาจักรจากการรับใช้และการจ่ายบรรณาการให้แก่กษัตริย์ กฎบัตรเป็นที่ถกเถียงในปัจจุบันเนื่องจากนักวิชาการมีความเห็นไม่ตรงกันเรื่องวัตถุประสงค์ของการออกกฎบัตรว่าเพื่อต้องการผ่อนปรนภาระภาษีให้แก่แคว้นต่างๆ และเพื่อยกระดับมาตรฐานชีวิต หรือเพื่อการันตีว่ากลุ่มขุนนางและศาสนจักรจะให้การสนับสนุนต่อไป หรือเพื่อเพิ่มการสนับสนุนและตบรางวัลให้แก่กลุ่มขุนนางที่ช่วยต่อสู้กับผู้รุกรานชาวไวกิง หรืออาจจะไม่มีความหมายพิเศษอะไรเลย


ในปีนั้นพระเจ้าเอเธล์วูล์ฟได้พ่ายแพ้ต่อชาวไวกิลที่มีกองกำลังเต็มเรือ 35 ลำที่คาร์เมาธ์ ในช่วงคริตทศวรรษ 830 ชาวไวกิงได้ตั้งอาณานิคมขึ้นในคาร์เมาธ์เพื่อความสะดวกในการบุกครั้งต่อไป ในช่วงปี ค.ศ. 843–851 การรุกรานของชาวไวกิงอาจดำเนินต่อไปในสเกลที่เล็กลงหรือไม่ก็เป็นเพียงการออกตระเวนสำรวจ ไม่ใช่การรุกราน


ทว่าในปี ค.ศ. 851 ชาวไวกิงได้มาถึงพร้อมกับกองกำลังเต็มอัตราในเรือ 350 ลำที่ล่องขึ้นมาตามแม่น้ำเธมส์เพื่อโจมตีแคนเทอร์บรีและลอนดอน พระเจ้าเอเธล์วูล์ฟร่วมกับเอเธล์บาลด์ พระโอรสปกป้องดินแดนบนพื้นดิน ขณะที่เอเธล์สตานกับอีลเฮียร์ เอิร์ลแห่งเคนต์นำกองเรือเข้าสู้รบกับศัตรูในทะเล กองกำลังเวสเซ็กซ์ได้รับชัยชนะและกองกำลังไวกิงที่เหลืออยู่ไม่มากได้ล่าถอยไป ทว่าเอเธล์สตานน่าจะสิ้นพระชนม์หลังจากนั้นไม่นานจากบาดแผลที่ได้รับ ไม่มีการพูดถึงพระองค์ในบันทึกหลังจากปี ค.ศ. 852 เป็นต้นไป

ใกล้เคียง

เอเธล์วูลฟ์ กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์ เอเธล์บาลด์ กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์ เอเธล์เบิร์ท กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์ เอเธล แบร์รีมอร์ เอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์ เอเลี่ยน (แฟรนไชส์) เอเธนส์ เอเจ ลี เอเลี่ยน (สัตว์ประหลาดในแฟรนไชส์เอเลี่ยน) เอเลียส ดอเลาะ