การจาริกแสวงบุญไปโรมและการก่อกบฏ ของ เอเธล์วูลฟ์_กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์


เพื่อกระชับสายสัมพันธ์ระหว่างเวสเซ็กซ์กับเมอร์เซียเพื่อรับมือการรุกรานของชาวไวกิง เอเธล์สตานได้จับเอเธล์สวิธ พระธิดาคนเดียวของพระองค์สมรสกับพระเจ้าเบิร์กเรดแห่งเมอร์เซียในปี ค.ศ. 853 แหวนที่สลักชื่อเอเธล์สวิธถูกค้นพบในยอร์คเชอร์ในปี ค.ศ. 1870 และคิดว่าน่าจะเป็นแหวนที่ถูกมอบให้แก่กลุ่นขุนนางที่จงรักภักดีต่อพระนางและพระเจ้าเบิร์กเรดเช่นเดียวกับแหวนของพระเจ้าเอเธล์วูล์ฟ


ออสเบอร์ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 854 และเรื่องนี้อาจเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้พระเจ้าเอเธล์วูล์ฟออกจาริกแสวงบุญไปโรมโดยมีอัลเฟรด พระโอรสติดตามไปด้วย ชีวประวัติของพระเจ้าอัลเฟรดที่เขียนโดยแอสเซอร์กล่าวว่าอัลเฟรดร่วมเดินทางครั้งนี้ตอนพระชนมายุ 4 หรือ 5 พรรษา พระองค์เสด็จพระราชสมภพในปี ค.ศ. 849 จึงประมาณการได้ว่าการจาริกแสวงบุญน่าจะเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 854 พระเจ้าเอเธล์วูล์ฟอาจต้องการให้พระเจ้าชี้แนะแนวทางในการรับมือกับการคุกคามของชาวไวกิงหรือไม่ก็อาจจะด้วยเหตุผลอื่น ทว่าน่าแปลกที่กษัตริย์ออกจาริกแสวงบุญทางไกลในช่วงที่ราชอาณาจักรของพระองค์กำลังถูกคุกคาม


ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด พระเจ้าเอเธล์วูล์ฟได้เดินทางออกจากโรมพร้อมกับอัลเฟรดและผู้ติดตามกลุ่มใหญ่หลังจากราชอาณาจักรไปเป็นเวลาหนึ่งปี พระองค์ได้ทิ้งเวสเซ็กซ์ให้อยู่ในการปกครองของเอเธล์บาลด์ ขณะที่เคนต์กับแคว้นอื่นๆ ถูกยกให้เอเธล์เบิร์ต พระโอรสในลำดับถัดไป


ระหว่างการเดินทางคณะแสวงบุญได้แวะที่ราชสำนักของพระเจ้าชาร์ลส์ผู้ศีรษะล้าน กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก จากนั้นทั้งคู่ได้ออกเดินทางต่อไปโรมเพื่อพบปะสมเด็จพระสันตะปาปา (ที่ว่ากันว่าได้เจิมน้ำมันให้อัลเฟรดเป็นกษัตริย์) และอยู่ที่โรมต่อไปอีกระยะหนึ่ง ระหว่างเดินทางกลับคณะแสวงบุญได้แวะที่ราชสำนักของพระเจ้าชาร์ลส์อีกครั้งและได้มีการเตรียมการให้พระเจ้าเอเธล์วูล์ฟสมรสกับจูดิธ พระธิดาวัยแรกรุ่นของพระเจ้าชาร์ลส์ เมื่อเสร็จสิ้นงานเทศกาลฉลองการสมรส ทั้งคณะก็ได้เดินทางกลับเวสเซ็กซ์


ทว่าเมื่อกลับมาเอเธล์บาลด์ไม่ได้มีท่าทียินดีกับการกลับมาของพระบิดาและไม่ยอมคืนเวสเซ็กซ์ให้แก่พระองค์ นักประวัติศาสตร์เรียกการกระทำดังกล่าวของเอเธล์บาลด์ว่าเป็น "การก่อกบฏ" แต่ดูไม่น่าจะเป็นเช่นนั้นเนื่องจากพระองค์ได้ควบคุมราชอาณาจักรเป็นเวลาหนึ่งปีในช่วงที่อดีตกษัตริย์ไม่อยู่และกลับมาอีกครั้งโดยมีพระธิดาของกษัตริย์ต่างแดนเป็นเจ้าสาว ส่วนหนึ่งของเงื่อนไขการสมรสระบุชัดเจนว่าจูดิธต้องได้เป็น "พระราชินี" ตามมาตรฐานทั่วไปในราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกแต่ไม่ใช่ในราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ที่หญิงซึ่งสมรสกับกษัตริย์จะเป็นแค่ "พระมเหสีของกษัตริย์" ไม่ใช่ "พระราชินี"


การเพิกเฉยต่อธรรมเนียมเวสเซ็กซ์ของพระเจ้าเอเธล์วูล์ฟและการไม่อยู่เป็นเวลานานอาจทำให้เอเธล์บาลด์มองว่าพระบิดาไม่คู่ควรจะปกครองต่อไป ในอดีตเคยมีตัวอย่างที่ทำให้เอเธล์บาลด์คิดว่าพระบิดาจะไม่กลับมาจากโรม แคดวัลลา อดีตกษัตริย์เวสเซ็กซ์เคยสละราชสมบัติเพื่อจาริกแสวงบุญไปโรมและไม่ได้กลับมาอีกเลย


แม้เอเธล์บาลด์จะทำสิ่งที่เรียกว่า "การก่อกบฏ" แต่พระเจ้าเอเธล์วูล์ฟก็เคารพการตัดสินใจของพระโอรสแม้ว่าจะมีผู้สนับสนุนให้พระองค์กลับไปครองบัลลังก์ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดสงครามกลางเมือง พระเจ้าเอเธล์วูล์ฟได้แบ่งราชอาณาจักรออกเป็นสามส่วนให้เอเธล์บาลด์, เอเธล์เบิร์ต และตัวพระองค์เอง

ใกล้เคียง

เอเธล์วูลฟ์ กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์ เอเธล์บาลด์ กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์ เอเธล์เบิร์ท กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์ เอเธล แบร์รีมอร์ เอเธล์เรดแห่งเวสเซ็กซ์ เอเลี่ยน (แฟรนไชส์) เอเธนส์ เอเจ ลี เอเลี่ยน (สัตว์ประหลาดในแฟรนไชส์เอเลี่ยน) เอเลียส ดอเลาะ