เว็บเบราว์เซอร์ที่รองรับ ของ เอ็มเอชทีเอ็มแอล

กระบวนการเก็บบันทึกเว็บเพจโดยฝังทรัพยากรลงไปด้วยให้เป็นรูปแบบเอ็มเอชทีเอ็มแอลไม่ได้ถูกตั้งเป็นมาตรฐานให้เว็บเบราว์เซอร์ทั้งหมดมารองรับ ด้วยเหตุผลนี้แฟ้มเอ็มเอชทีเอ็มแอลเดียวกันก็ยังอาจแสดงผลต่างกันบนเว็บเบราว์เซอร์คนละตัว เหมือนกับเว็บเพจทั่วไปที่แสดงผลผิดแปลกออกไปในเว็บเบราว์เซอร์ต่างชนิดกัน

อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์

รูปแบบ .mht ถูกนำเสนอขึ้นใน พ.ศ. 2542 ในอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ รุ่นที่ 5[1] ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเก็บบันทึกเว็บเพจและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในแฟ้มเดียว ดังการเก็บแฟ้มถาวร อย่างไรก็ตาม ลักษณะสำคัญนี้ไม่อาจเก็บบันทึกเว็บเพจที่มีความซับซ้อนมากๆ ได้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะเพจที่มีการเรียกใช้สคริปต์ ส่วนรูปภาพอื่นๆ สามารถเก็บบันทึกลงไปได้ทั้งหมด

การเก็บบันทึกสามารถทำได้โดยไปยังหน้าเว็บเพจที่ต้องการ เลือกเมนู "File" และ "Save As" จากนั้นเลือกประเภทของแฟ้มให้เป็น "Web Archive (.mht)" แล้วตั้งชื่อแฟ้มเพื่อทำการบันทึก

โอเปร่า

การเก็บบันทึกเว็บเพจพร้อมทรัพยากรให้เป็นแฟ้ม MHTML เริ่มมีการใช้งานได้ในโอเปร่า รุ่นที่ 9 ตั้งแต่รอบการพัฒนารายสัปดาห์ที่ 8265 (ออกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2549) การเก็บเว็บเพจที่มีสคริปต์ยังเป็นปัญหาเช่นเดียวกับที่มีในอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์

ไฟร์ฟอกซ์

มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ ตั้งแต่รุ่นที่ 2 ไม่ได้รองรับการบันทึกหรือการแสดงผลแฟ้ม MHTML ได้โดยตรง (ระบุไว้ใน ข้อผิดพลาดหมายเลข 18764) แต่ฟังก์ชันนี้สามารถใช้งานได้บนวินโดวส์ที่ติดตั้งส่วนขยาย Mozilla Archive Format แม้ว่าแฟ้ม .mht ที่ส่วนขยายนี้สร้างขึ้นมายังไม่รองรับกับผลิตภัณฑ์อื่นของไมโครซอฟท์ได้อย่างเต็มที่ก็ตาม[2]

ซาฟารี

ซาฟารีของแอปเปิลตั้งแต่รุ่นที่ 2 (ออกเมื่อ 29 เมษายน พ.ศ. 2548) รองรับการบันทึกเว็บเพจให้เป็นแบบ MHTML แต่ไม่สามารถเปิดอ่านเพื่อแสดงผลแฟ้มดังกล่าวได้ ดังนั้นการรองรับแฟ้ม MHTML จึงยังคงเป็นข้อด้อยของเบราว์เซอร์นี้

ใกล้เคียง

เอ็มเคานต์ดาวน์ เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป เอ็มเอ็กซ์เอ็ม เอ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์ 2020 เอ็มเอ็นแอลโฟร์ตีเอต เอ็มเอส ซานดัม เอ็มเอสเอ็น เอ็มเอส เวสเตอร์ดัม เอ็มเอชทีเอ็มแอล เอ็มเพก