สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและวิกฤตการเมือง ของ แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก

รัฐบาลพอล ไอส์เซน

รัฐบาลนายกรัฐมนตรีพอล ไอส์เซนที่ยืนยาวถึง 4 รัชกาลสร้างความสงบและความเจริญแก่ลักเซมเบิร์ก แม้มีแนวคิดขัดแย้งกับแกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีด

แกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดไม่ทรงได้รับการเรียนรู้ด้านการเมืองการปกครองจากพระราชบิดา ในความเป็นจริงตามพระปฐมบรมราชโองการของพระนางซึ่งทรงกล่าวโดยนัย โดยในขณะนั้นพระนางจำต้องพึ่งพาคำแนะนำเกี่ยวกับประสบการณ์การเมืองจากรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำปรึกษาจากนายกรัฐมนตรี พอล ไอส์เชน ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองสูงในรัชกาลพระอัยกาและพระราชบิดา และนายกรัฐมนตรีไอส์เซนก็มีอิทธิพลมากขึ้นในช่วงที่แกรนด์ดยุควิลเล็มที่ 4 พระราชบิดาทรงพระประชวร และช่วงที่แกรนด์ดัสเชสมารี แอนน์ พระราชมารดา สำเร็จราชการแผ่นดิน แนวคิดไอส์เซนมักถูกต่อต้านโดยแกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีด

มีการปะทะกันเล็กน้อยระหว่างทั้งสองฝ่ายที่มีเหนือฝ่ายการเมืองหัวรุนแรงในตำแหน่งของรัฐบาล กลุ่มคอมมิวนิสต์, สังคมนิยมและกลุ่มลัทธิต่อต้านศาสนจักรได้รับแรงสนับสนุนในลักเซมเบิร์ก ผู้สนับสนุนลัทธิเหล่านี้ได้ใช้ถ้อยคำชักจูงโน้มน้าวเกี่ยวกับประชาธิปไตยเพื่อสร้างกระแสให้สถาบันพระมหากษัตริย์คาทอลิกเป็นศัตรูกับประชาชน โดยตรงกันข้ามกับแกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดที่ทรงศรัทธาในศาสนาสูง ซึ่งทรงทำการติดต่อและอุทิศพระองค์กับพระคณะคาร์เมไลท์ผู้ซึ่งยังคงมีอิทธิพลในการธำรงรักษาความเชื่อความศรัทธาท่ามกลางพสกนิกรของพระนาง พระนางทรงฟื้นฟูผู้จาริกแสวงบุญและพิธีเข้ารีตเป็นคริสต์ศาสนิกชนที่ซึ่งเสื่อมไปในรัชกาลพระราชบิดาของพระองค์ซื่งเป็นโปรแตสแตนต์ และทรงสามารถสร้างความพอใจแก่พสกนิกรได้ ทรงเคยตรัสและแย้งว่า

ความเชื่อความศรัทธาของพวกเขาต้องไม่น้อยกว่า แต่จะยิ่งใหญ่เมื่อข้าพเจ้าสิ้นชีพ และคุณรู้ประวัติศาสตร์ของประชาชนของข้าพเจ้า การสวดของพวกเขามักจะได้ขนมปังของตนเพียงผู้เดียว จะให้ฉันมอบหินแห่งความไม่ศรัทธาแก่พวกเขาหรือ[5]

การอุบัติอย่างรุนแรงและทันทีทีนใดของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งใน พ.ศ. 2457 จักรวรรดิเยอรมันทำลายความเป็นกลางของลักเซมเบิร์กและบุกครองลักเซมเบิร์กในวันที่ 2 สิงหาคม แม้แกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดและรัฐบาลประท้วงรัฐบาลเยอรมนีอย่างเป็นทางการ แต่ก็ไม่อาจขับไล่กองทัพออกจากประเทศได้ พระนางจึงตัดสินพระทัยไม่ต่อต้านผู้รุกราน แต่ทรงพยายามดำรงสถานะความเป็นกลางของลักเซมเบิร์กตลอดสงคราม

พิธีฝังศพอันน่าหดหู่ใจของนายกรัฐมนตรีพอล ไอส์เซนที่ถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่งเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญของชาติ การถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่งของเขานำไปสู่ความวุ่นวายทางการเมืองสามปี

ความแตกแยกระหว่างแกรนด์ดัสเชสกับนายกรัฐมนตรีไอส์เซนได้ตึงเครียดขึ้นเมื่อมีการเสนอลดบทบาทของศาสนาในระบบการศึกษา ซึ่งแกรนด์ดัสเชสทรงคัดค้านความปรารถนาของนายกรัฐมนตรี ทรงปฏิเสธที่จะลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ[6] เชื่อว่าพระนางตรัสถึงนายกรัฐมนตรีว่า

ข้าพเจ้าจะไม่ยอมให้มรดกอันล้ำค่ายิ่ง [โรมันคาทอลิก] นี้ถูกขโมยไปขณะที่ข้าพเจ้ายังรักษากุญแจนี้อยู่ [7]

ซึ่งแกรนด์ดัสเชสทรงปฏิเสธที่จะเคลื่อนไหวและมีพระราชปฏิสันถารให้นายกรัฐมนตรีไอส์เซนลาออกจากตำแหน่งถ้าเขาไม่เห็นด้วยตามพระราชเสาวนีย์ เรื่องนี้เป็นแรงกดดันให้นายกรัฐมนตรไอส์เซนเตรียมการลาออกจากตำแหน่งด้วยความเสียใจ แต่ก็ล้มเลิก[8] ก่อนที่เขาเกิดหัวใจวายซึ่งเป็นเหตุให้เขาถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2458 การอสัญกรรมของเขาทำให้ระบบการเมืองของลักเซมเบิร์กสั่นคลอน[9] เมื่อสงครามได้เริ่มต้นขึ้นขณะนั้นไอส์เซนมีอายุ 73 ปี ดำรงเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งลักเซมเบิร์กว่า 27 ปี ทำให้เป็นรัฐบาลหนึ่งเดียวที่ชาวลักเซมเบิร์กรู้จักกันมาก โดยตลอดปีแรกของการยึดครองโดยทหารเยอรมัน ทำให้เขากลายเป็นศูนย์รวมของชาวลักเซมเบิร์ก และเขาก็ได้รับความสำคัญจากการที่เป็นผู้รักษาสถานะของแกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีด[10] ในช่วงที่เกิดวิกฤต ไอส์เซนได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภาลักเซมเบิร์กและเขาจัดการโดยยึดรัฐบาลหลักร่วมกับฝ่ายการเมืองใหญ่ ๆ โดยปรากฏความเป็นเอกภาพหนึ่งเดียวไว้

รัฐบาลมัทธีอัส มองเกนาสท์

นายกรัฐมนตรีมัทธีอัส มองเกนาสท์ ลาออกจากตำแหน่งเพราะขัดแย้งกับแกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีด หลังเป็นนายกรัฐมนตรีได้เพียง 25 วัน

หลังไอส์เซนถึงแก่อสัญกรรม แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดมีพระบรมราชโองการให้มัทธีอัส มองเกนาสท์ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตั้งแต่ พ.ศ. 2425 มาเป็นนายกรัฐมนตรีจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย สถานะพิเศษของมองเกนาสท์คือ "รัฐบาลเฉพาะกาล" นายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งอย่างเป็นทางการของเขา แต่เขาไม่ได้มีสถานะเป็นหัวหน้ารัฐบาล ไม่เหมือนอย่างที่นายกรัฐมนตรีคนอื่น ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2400 เป็น แต่อย่างน้อยเขาก็ได้ดำรงตำแหน่ง "ประธานคณะรัฐมนตรี"[11]

คณะบริหารของมองเกนาสท์นั้นไม่ยืนยาวและเป็นวัตถุประสงค์หลักของแกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดเมื่อทรงแต่งตั้งมองเตนาสท์ที่มีประสบการณ์เพื่อความมั่นคง ทว่าไม่มีใครคาดว่ารัฐบาลจะสิ้นสุดลงเร็วเช่นนี้ ในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 มองเกนาสท์ได้รับการเสนอชื่อให้เข้าดำรงตำแหน่งอธิการบดีวิทยาลัยครูลักเซมเบิร์ก การสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งครั้งนี้ไม่ได้รับการอนุมัติจากราชรัฐและแกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดทรงปฏิเสธเขา[12] มองเกนาสท์ยังคงยืนกรานว่าการศึกษาเป็นงานอดิเรกของเขาและเขาคิดสรุปเอาเองว่าแกรนด์ดัสเชสจะทรงตอบรับข้อเสนอของรัฐมนตรีในฐานะที่เขามีประสบการณ์ด้านนี้ เขาคิดผิด แกรนด์ดัสเชสมีพระทัยมุ่งมั่นและไม่ทรงพอพระทัยนายกรัฐมนตรีเสียงข้างน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางสิ่งล้ำสมัยเกินไปกว่าพระราชประสงค์ของพระนาง ในวันถัดมามองเกนาสท์ถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง หลังจากเป็นนายกรัฐมนตรีได้เพียง 25 วัน

รัฐบาลฮูเบิร์ต ลูทช์

แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก (ซ้าย) และสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์ (ขวา) ในระหว่างที่แกรนด์ดัสเชสเสด็จเยือนเนเธอร์แลนด์อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2457

หลังทรงต่อสู้กับรัฐบาลมัทธีอัส มองเกนาสท์ แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดทรงตัดสินพระทัยมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐบาลอนุรักษนิยมทั้งหมดซึ่งมีฮูเบิร์ต ลูทช์เป็นผู้นำ รัฐสภาถูกต่อต้านอย่างแน่นอน พรรคฝ่ายขวาได้ที่นั่งในสภาเพียง 20 ที่นั่งจากทั้งหมด 52 ที่นั่ง แต่อีกฝ่ายได้คะแนนเสียงที่เหนือกว่า[13] แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดทรงยุติเหตุการณ์อันชะงักงันครั้งนี้โดยทรงใช้พระราชอำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎรและทรงมอบอำนาจแก่ฝ่ายอนุรักษนิยม ครั้งนี้เป็นการกระทำที่รุนแรงแก่ฝ่ายซ้าย ซึ่งถือว่าครองเสียงข้างมากในรัฐสภาแต่เพียงผู้เดียวในการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างความไว้วางใจแก่รัฐบาล[14] เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ถูกขนานนามว่า "รัฐประหารอำนาจของฝ่ายซ้ายโดยแกรนด์ดัสเชส"[15] อย่างไรก็ตาม วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2458 ลักเซมเบิร์กได้มีการสำรวจความคิดเห็น แม้ว่าที่นั่งของพรรคฝ่ายขวาจะเพิ่มขึ้นเป็น 25 ที่นั่ง แต่ยังแพ้คะแนนนิยมอีกฝ่าย ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2459 รัฐสภามีการอภิปรายไม่ไว้วางใจและนายกรัฐมนตรีลูทช์ถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง

รัฐบาลสหภาพแห่งชาติ

หลังความล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐบาลอนุรักษนิยมหลายคณะ แกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดทรงเปลี่ยนพระทัยโปรดเกล้าฯ ให้นักการเมืองแนวคิดเสรีนิยม วิกเตอร์ ทอร์น จัดตั้งรัฐบาลและเป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ผลของการมีรัฐบาลผสมทั้งหมดซึ่งรวมทุกฝ่ายในการเมืองลักเซมเบิร์ก นอกเหนือจากทอร์นซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ยังมีฝ่ายอนุรักษนิยมอย่างเลออน คลัฟแมนน์และอันโตน เลอฟอร์ท, ฝ่ายสังคมนิยมคือ มิเชล เวลเตอร์ และฝ่ายเสรีนิยมคือ เลออน มอติแยร์[16]

แรงกดดันสำคัญของรัฐบาลลักเซมเบิร์กคือ เสบียงอาหาร[17] สงครามทำให้นำเข้าอาหารไม่ได้และความต้องการของชาวเยอรมันผู้ยึดครองย่อมมาก่อนชาวลักเซมเบิร์ก[18] ด้วยระบบการจัดหาอาหารที่ล้มเหลว มิเชล เวลเตอร์ รัฐมนตรีการเกษตรและการค้า ได้ประกาศห้ามส่งออกอาหารออกนอกลักเซมเบิร์ก[19] นอกจากนี้รัฐบาลยังมีนโยบายจำกัดสิ่งของบางสิ่งและการควบคุมราคาเพื่อแก้ไขปัญหาความต้องการที่สูงขึ้นและทำให้ราคาอาหารไม่แพงมากสำหรับชาวลักเซมเบิร์กที่ยากจน อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ยังไม่เป็นไปตามต้องการ ชาวลักเซมเบิร์กยังเปลี่ยนไปขายในตลาดมืดมากขึ้น[20] และสร้างความตกใจแก่รัฐบาลลักเซมเบิร์ก กองทัพเยอรมันให้ความช่วยเหลือเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ รัฐบาลกล่าวหากองทัพเยอรมันว่ามีส่วนช่วยการผลิตของตลาดมืดโดยปฏิเสธข้อบังคับกฎเกณฑ์และกองทัพเยอรมันลักลอบนำเข้าสินค้าฃ[21]

ดวงตราไปรษณียากรลักเซมเบิร์กพิมพ์ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดใน พ.ศ. 2459

ในช่วงความยุ่งยากของประเทศนี้ แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดทรงอุทิศพระองค์ในพระราชกรณียกิจด้านกาชาดในลักเซมเบิร์กและทรงดำเนินพระราชกรณียกิจด้านการพยาบาลแก่ทหารที่ออกรบในแนวหน้า แต่ทางด้านการเมือง ทรงมีความสนพระทัยตลอดสงครามอย่างไม่ลดน้อยลง

ชาวลักเซมเบิร์กจำนวนมากโดยเฉพาะคนงานเหมือง แสดงออกถึงความชิงชังรัฐบาลที่ไม่ผ่านการเลือกโดยกล่องลงคะแนนเพียงอย่างเดียว การแสดงอารมณ์ที่เป็นไปในทางการดื้อแพ่งหรือแย่กว่านั้น นายพล ฟอน เทสมาร์ได้คุกคามแต่ละคนที่มีทีท่าก่อความรุนแรง (ซึ่งนัดหยุดงานประท้วง) ด้วยโทษประหารสถานเดียว[22] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2460 คนงานพยายามใช้อาวุธมากที่สุดโดยฝ่าฝืนคำขาดของนายพลฟอน เทสมาร์

นายพลฟอน เทสมาร์ได้ปราบปรามอย่างรุนแรง แต่เขาไม่ต้องการประหารชีวิตดังที่เขาขู่ไว้ เพียงเวลา 9 วัน การชุมนุมประท้วงถูกปราบปรามหมดสิ้นและแกนนำผู้ชุมนุมถูกจับกุม[23][23] การที่เยอรมนีปฏิเสธเคารพรัฐบาลลักเซมเบิร์กอย่างต่อเนื่องเป็นการทำลายเกียรติที่ซึ่งผู้ชุมนุมถูกปราบปรามโดยกองทัพเยอรมันแทนที่จะเป็นกองทหารลักเซมเบิร์ก (Gendarmerie) ซึ่งเป็นเรื่องที่มากเกินกำลังสำหรับนายกรัฐมนตรีทอร์น ในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2460 รัฐบาลทอร์นได้กราบบังคมทูลลาออกต่อแกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีด[16]

รัฐบาลเลออน คลัฟแมนน์

พระบรมฉายาลักษณ์แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์กใน พ.ศ. 2461 ประกอบด้วยพระปรมาภิไธย

แม้ว่าประสบการณ์การจัดตั้งรัฐบาลร่วมจะล้มเหลวและจำเป็นต้องสร้างเอกภาพทางการเมือง โดยรัฐบาลสหภาพแห่งชาติได้ถูกยุบ เลออน คลัฟแมนน์ได้สร้างพันธมิตรระหว่างพรรคของเขากับพรรคสันนิบาตเสรีนิยมของเลออน มอติแยร์ โดยหาทางให้ชีวิตทางด้านการเมืองยืนยาว[24] เป้าหมายหลักคือการแก้ไขปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานของฝ่ายซ้ายโดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2460 รัฐสภาเปิดการอภิปรายครั้งใหญ่เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ท้ายที่สุด มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญห้ามรัฐบาลทำสนธิสัญญาลับ เพิ่มรายได้ของผู้แทน (จนถึงเดี๋ยวนี้เป็น 5 ฟังก์ต่อวัน)[25] การให้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป และการเปลี่ยนคะแนนเสียงข้างมากปรกติมาเป็นการเลือกตั้งระบบสัดส่วน[24]

ขณะที่กฎหมายข้างต้นทั้งหมดได้รับความนิยมในวงกว้าง ข้ามทางแยกทางการเมืองมากที่สุดเหมือนไม่จริงของการเสนอแก้ไขกฎหมายมาตรา 32 มาตราดังกล่าวไม่มีการแก้ไขช่วงปรับปรุงใหม่ของ พ.ศ. 2411 และข้อความในมาตรายังคงไม่เปลี่ยนแปลงนับแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2391 ที่ระบุไว้ชัดเจนว่า อำนาจอธิปไตยทั้งปวงเป็นของแกรนด์ดัสเชส[25] สำหรับบางครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีความไม่พอใจในความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างแกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดกับเชื้อพระวงศ์เยอรมัน อำนาจอธิปไตยของชาติที่ขึ้นอยู่กับแกรนด์ดัสเชสอันเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ รัฐสภาได้ลงคะแนนเสียงทบทวนประมวลกฎหมายมาตรา 23 แต่คลัฟแมนน์กลับปฏิเสธไม่กระทำตาม ซึ่งเห็นว่าการเปลี่ยนให้พิจารณาทบทวนที่มาของอำนาจอธิปไตยแห่งชาติแฝงด้วยแนวคิดสาธารณรัฐนิยม[24]

ในฤดูร้อน พ.ศ. 2461 มีการแสดงถึงการล่มสลายของอนาคตของรัฐบาลอย่างน่าทึ่ง ในวันที่ 8 กรกฎาคม เขตคลอเซนกลางกรุงลักเซมเบิร์กได้ถูกกองทัพอากาศอังกฤษทิ้งระเบิด ทำให้พลเรือนเสียชีวิต 10 คน[26] แม้ว่าเหตุการณ์นี้จะไม่ได้ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นที่รักใคร่ในสายตาชาวลักเซมเบิร์ก แต่แกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดทรงใกล้ชิดกับชาวเยอรมันด้วยความเต็มพระทัย จึงทำให้ไม่ทรงเป็นที่นิยมชมชอบในหมู่พสกนิกรของพระนาง ในวันที่ 16 สิงหาคม นายกรัฐมนตรีเยอรมนี จอร์จ ฟอน เฮิร์ทลิง เดินทางเยือนลักเซมเบิร์ก แม้เฮิร์ทลิงจะเดินทางมาเพื่อเข้าเฝ้าแกรนด์ดัสเชส แต่คลัฟแมนน์ได้เข้าพบเขาด้วย ในสายตาประชาชนลักเซมเบิร์ก ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศนั้นดูจริงใจอย่างกำกวม และเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ทำให้ความน่าเชื่อถือในตัวนายกรัฐมนตรีคลัฟแมนน์หมดลง[24] ทั้งรวมทั้งข่าวในวันที่ 26 สิงหาคม ซึ่งเป็นข่าวหมั้นระหว่างเจ้าหญิงแอนโทเนียแห่งลักเซมเบิร์ก พระขนิษฐาในแกรนด์ดัสเชส กับเจ้าชายรุพเพิร์ต มกุฎราชกุมารแห่งบาวาเรีย ผู้ทรงเป็นจอมพลแห่งกองทัพเยอรมัน[27] แรงกดดันได้ส่งผลต่อนายกรัฐมนตรีคลัฟแมนน์ ด้วยพรรคของเขายังมั่นคงแต่ชื่อเสียงส่วนตัวของเขากลับหมดสิ้น เขาถูกทิ้งอย่างไม่มีทางเลือก นำมาสู่การกราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งต่อแกรนด์ดัสเชสในวันที่ 28 กันยายน โดยนายกรัฐมนตรีคนต่อมาคือ อีมิล รอยเตอร์ นักการเมืองฝ่ายอนุรักษนิยมอีกคนหนึ่ง[28]

ใกล้เคียง

แกรนด์เธฟต์ออโต V แกรนด์เธฟต์ออโต แกรนด์เอ็กซ์ แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก แกรนด์สแลมแชมเปียนชิป แกรนด์ดัชเชสเอลิซาเบธ เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย แกรนด์เธฟต์ออโต VI แกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์ก แกรนด์เธฟต์ออโต IV แกรนด์พรินเซส (เรือ)

แหล่งที่มา

WikiPedia: แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก http://www.ewtn.com/library/HOMELIBR/FR94303.TXT http://books.google.com/books?id=oLDTy3k1cT4C&dq http://www.lib.byu.edu/~rdh/wwi/1914m/lux-pm.html http://www.servicehistorique.sga.defense.gouv.fr/I... http://www.gouvernement.lu/publications/download/g... http://www.gouvernement.lu/publications/download/g... http://www.monarchie.lu/fr/histoire/souverains/mar... http://www.legilux.public.lu/leg/a/archives/1868/0... http://www.gwpda.org/1914/luxemboo.html http://www.worldstatesmen.org/Luxembourg.htm