สิ้นสุดสงครามและการสละราชบัลลังก์ ของ แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก

การสงบศึก

ชาวลักเซมเบิร์กออกมาเฉลิมฉลองการปลดปล่อยลักเซมเบิร์กและต้อนรับการเข้ามาของฝ่ายสัมพันธมิตรหลังจากการสงบศึกกับเยอรมัน ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2461

ในฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2461 สถานะของเยอรมนีในสงครามกลับต้านทานไม่ได้ การรุกฤดูใบไม้ผลิครั้งใหญ่ได้เป็นหายนะที่ไม่ลดน้อยลงไป ในขณะที่การโต้กลับของฝ่ายไตรภาคีพันธมิตร การรุกร้อยวันสามารถผลักดันให้ทหารเยอรมันกลับสู่แนวชายแดนของตนเอง ในวันที่ 6 พฤศจิกายน นายพลฟอน เทสมาร์ได้ประกาศถอนกองทัพทั้งหมดออกจากลักเซมเบิร์ก[29] 5 วันหลังจากคำประกาศของฟอน เทสมาร์ เยอรมนีได้ลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกที่จะนำมาสู่การสิ้นสุดสงครามที่เป็นระยะเวลา 4 ปี ข้อตกลงของการสงบศึกรวมถึงการถอนทหารเยอรมันออกจากลักเซมเบิร์ก กับประเทศอื่นที่ถูกยึดครอง[30]

ฝ่ายพันธมิตรเห็นด้วยกับการที่เยอรมนีถอนทหารออกจากลักเซมเบิร์กซึ่งจะได้รับการสังเกตการณ์จากสหรัฐอเมริกา และสหรัฐอเมริกาได้รับเกียรติในการปลดปล่อยประเทศที่ถูกยึดครอง ในวันที่ 18 พฤศจิกายน นายพลจอห์น เจ. เพรสชิงได้ประกาศต่อประชาชนในลักเซมเบิร์กในการเริ่มต้นก่อตั้งกองทัพที่สามของสหรัฐอเมริกาที่จะเคลื่อนผ่านลักเซมเบิร์กโดยยึดครองไรน์แลนด์ของเยอรมนี แต่อเมริกาจะมาในฐานะพันธมิตรและผู้ปลดปล่อยว่า:

หลังจากสี่ปีแห่งความรุนแรงในดินแดน ราชรัฐลักเซมเบิร์กโชคดีที่ได้รับการปลดปล่อย...ทหารอเมริกันเข้ามาในราชรัฐด้วยฐานะของมิตรและจะประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศอย่างเข้มงวด การประพฤติตัวครั้งนี้ของพวกเขาที่ซึ่งจะไม่ขยายไปมากกว่านี้เมื่อเป็นสิ่งจำเป็นที่แท้จริง จะไม่เป็นภาระสำหรับคุณ การดำเนินงานของรัฐบาลและสถาบันจะไม่ถูกขัดขวาง ชีวิตและการดำรงชีวิตของคุณจะไม่ถูกรบกวน ตัวคุณและทรัพย์สินจักได้รับการเคารพ[31]

การก่อกบฏ วิกฤตสถาบันพระมหากษัตริย์และการสละราชบัลลังก์

แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก

แม้ว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะพึงพอใจกับการแก้ไขปัญหาครั้งนี้ ในขณะนั้นรัฐบาลลักเซมเบิร์กต้องประสบปัญหาการก่อความไม่สงบของกลุ่มคอมมิวนิสต์ หลังจากการถอนทัพของเยอรมนี นักปฏิวัติได้ทำการจัดตั้งอิทธิพลของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียในสภาคณะกรรมกรเหนือลักเซมเบิร์ก ในวันที่ 10 พฤศจิกายน หนึ่งวันหลังจากคาร์ล ไลป์เน็คท์และโรซา ลุกเซมบวร์กได้ประกาศรัฐสังคมนิยมในเยอรมนี กลุ่มคอมมิวนิสต์ในลักเซมเบิร์ก (เมือง)ประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐซึ่งต่อจากนั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง[32] การก่อกบฏอื่นๆได้เกิดขึ้นที่อิสช์-ซูร์-อัลแซตในชั่วโมงแรกๆของวันที่ 11 พฤศจิกายน แต่ก็ล้มเหลว[33] นักสังคมนิยมได้ทำการโจมตีพฤติกรรมของแกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีด ผู้ซึ่งทรงเข้าแทรกแซงและขัดขวางอดีตนายกรัฐมนตรีไอส์เซนอยู่เสมอ ในวันที่ 12 พฤศจิกายน นักการเมืองสายสังคมนิยมและเสรีนิยมได้พบสาเหตุของปัญหาเก่าที่เรื้อรังมานาน พวกเขาได้กราบบังคมทูลขอให้แกรนด์ดัสเชสทรงสละราชสมบัติ[34] ญัตติรัฐสภาลักเซมเบิร์กในเรื่องการยกเลิกราชาธิปไตยในลักเซมเบิร์กได้พ่ายแพ้ด้วยคะแนนเสียง 21 ต่อ 19 เสียง(งดออกเสียง 3 เสียง) แต่ทางรัฐสภาได้ทำการให้รัฐบาลจัดทำการออกเสียงประชามติในประเด็นนี้[32]

ถึงแม้ว่ากลุ่มฝ่ายซ้ายที่พยายามทำการก่อตั้งสาธารณรัฐลักเซมเบิร์กจะล้มเหลว สาเหตุหลักมาจากความไม่พอใจในการจัดการปัญหา และตราบเท่าที่พระนางมารี-อาเดลาอีดยังทรงดำรงเป็นแกรนด์ดัสเชส ฝ่ายเสรีนิยมจึงเป็นพัมธมิตรกับฝ่ายสังคมนิยมในการต่อต้านพระนาง รัฐบาลฝรั่งเศสปฏิเสธที่จะทำงานร่วมกับรัฐบาลที่นำโดยผู้ร่วมมือ[33] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส สเตเฟน ปิชองได้เรียกผู้ร่วมมือในฐานะ"ผู้ทำการประนีประนอมกับศัตรูของฝรั่งเศสขั้นร้ายแรง"[32] จากการที่พระนางทรงเป็นผู้"นิยมเยอรมัน" รัฐบาลฝรั่งเศสโดยปิชอง รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศได้ประกาศในเดือนธันวาคม ปีพ.ศ. 2461 ถึงตัวแทนจากคณะรัฐบาลของแกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดว่า

รัฐบาลฝรั่งเศสเราไม่ประสงค์พิจารณาที่จะเจรจาต่อรองกับรัฐบาลขององค์แกรนด์ดัสเชสแห่งลักเซมเบิร์ก ผู้ซึ่งเราได้พิจารณาแล้วว่าแกรนด์ดัสเชสทรงเป็นผู้ร่วมมือในฐานะ"ผู้ทำการประนีประนอมกับศัตรูของฝรั่งเศสขั้นร้ายแรง"[35]

แกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก ได้สืบราชสมบัติต่อจากพระเชษฐภคินี พระนางทรงแบกรับวิกฤตสถาบันพระมหากษัตริย์ลักเซมเบิร์ก

แรงกดดันจำนวนมากเกิดจากสิ่งเหล่านี้ ในวันที่ 9 มกราคม กองร้อยทหารหนึ่งของกองทัพลักเซมเบิร์กได้ก่อกบฏขึ้น โดยได้ประกาศว่าเป็นกองทัพแห่งสาธารณรัฐใหม่[33] นำโดยอีมิล แซร์เวียส (บุตรชายของเอ็มมานูเอล แซร์เวียส อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 5 ของลักเซมเบิร์กในสมัยสมเด็จพระเจ้าวิลเลมที่ 3 แห่งเนเธอร์แลนด์) ในฐานะของ"ประธานคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะ"[36] อย่างไรก็ตามโดยในเดือนมกราคม ภาวะสุญญากาศทางการเมืองได้เกิดขึ้นโดยการออกไปของเยอรมันและแทนที่ด้วยทหารอเมริกันและฝรั่งเศส ประธานรัฐสภาลักเซมเบิร์ก ฟรองซัวส์ อัล์ทวีส์ได้ขอให้ทหารฝรั่งเศสเข้ามาแทรกแซง[37] ความกระตือรือร้นพยายามที่จะตัดขาดการก่อปฏิวัติโดยผู้นิยมเบลเยียม กองทัพฝรั่งเศสได้เข้าปราบปรามกลุ่มที่คาดว่าจะเป็นนักปฏิวัติ

ถึงแม้ว่าแกรนด์ดัสเชสจะไม่ทรงกระทำสิ่งต่างๆที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม กระแสความไม่จงรักภักดีได้สร้างการต่อต้านมากเกินไปสำหรับแกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีด เสียงของรัฐสภาได้เรียกร้องให้พระนางสละราชบัลลังก์ขณะมีพระชนมายุ 25 พรรษา ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2462 แก่พระขนิษฐา เจ้าหญิงชาร์ล็อต[34] เบลเยียมซึ่งต้องการที่จะผนวกลักเซมเบิร์กในฐานะรัฐร่วมประมุขต้องยอมรับแกรนด์ดัสเชสชาร์ล็อตในฐานะพระประมุขของลักเซมเบิร์กอย่างเลี่ยงไม่ได้ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พระราชวงศ์ยังทรงดำรงอย่างแทบจะไม่มีความหมายจนกระทั่งเดือนกันยายน พ.ศ. 2462 เมื่อการลงคะแนนเสียงประชามติซึ่งกำหนดอนาคตของราชรัฐผลคือคะแนนเสียงจากประชาชนถึง 77.8% ต้องการให้มีสถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้ราชวงศ์นัสเซา-ไวล์บูร์กต่อไป[38]

ตารางผลการลงประชามติในด้านประมุขแห่งชาติปีพ.ศ. 2462

เลือกคะแนนเสียง%
แกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก66,81177.8
สาธารณรัฐ16,88519.7
ยังคงพระราชวงศ์เช่นเดิม แต่ถอดถอนแกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อต1,2861.5
ยังคงสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นเดิม แต่แทนที่ด้วยราชวงศ์อื่น8891.0
บัตรเสีย5,113
รวมทั้งสิ้น90,984100
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง/จำนวนผู้มาใช้สิทธิ126,19372.1
แหล่งที่มา: Nohlen & Stöver

ใกล้เคียง

แกรนด์เธฟต์ออโต V แกรนด์เธฟต์ออโต แกรนด์เอ็กซ์ แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก แกรนด์สแลมแชมเปียนชิป แกรนด์ดัชเชสเอลิซาเบธ เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย แกรนด์เธฟต์ออโต VI แกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์ก แกรนด์เธฟต์ออโต IV แกรนด์พรินเซส (เรือ)

แหล่งที่มา

WikiPedia: แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก http://www.ewtn.com/library/HOMELIBR/FR94303.TXT http://books.google.com/books?id=oLDTy3k1cT4C&dq http://www.lib.byu.edu/~rdh/wwi/1914m/lux-pm.html http://www.servicehistorique.sga.defense.gouv.fr/I... http://www.gouvernement.lu/publications/download/g... http://www.gouvernement.lu/publications/download/g... http://www.monarchie.lu/fr/histoire/souverains/mar... http://www.legilux.public.lu/leg/a/archives/1868/0... http://www.gwpda.org/1914/luxemboo.html http://www.worldstatesmen.org/Luxembourg.htm