ภูมิศาสตร์ ของ แก่งน้ำตกแห่งแม่น้ำไนล์

นักธรณีวิทยาได้ระบุว่า พื้นที่ทางตอนเหนือของซูดานมีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกและการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในบริเวณนี้ส่งผลให้แม่น้ำมีลักษณะ "อ่อนเยาว์"[1] ซึ่งส่วนตวัดโค้งของแม่น้ำไนล์ในนิวเบียได้เปลี่ยนเส้นทางของแม่น้ำไนล์ไปทางทิศตะวันตก ในขณะเดียวกันก็ทำให้ระดับความลึกในแม่น้ำตื้นขึ้นและก่อให้เกิดแก่งน้ำตก ถึงแม้ว่าพื้นแม่น้ำจะสึกกร่อนจากการกัดเซาะ แต่ผืนดินก็กลับถูกยกตัวขึ้น ทำให้ส่วนต่างๆ ของพื้นแม่น้ำเป็นพิ้นที่โล่ง ภูมิลักษณ์ที่โดดเด่นเหล่านี้ของแม่น้ำไนล์ระหว่างเมืองอัสวานและเมืองคาร์ทูม ซึ่งเกิดและพบได้ในหลายจุด จึงเรียกกันว่าแก่งน้ำตกแห่งแม่น้ำไนล์ ในขณะที่ส่วนปลายแม่น้ำบางครั้งจะเรียกว่า "แม่น้ำไนล์อียิปต์" ความแตกต่างทางธรณีวิทยาระหว่างสองส่วนของแม่น้ำนี้มีความสำคัญมาก ทางเหนือของเมืองอัสวาน ซึ่งมีท้องแม่น้ำที่ไม่เป็นหิน แต่กลับเต็มด้วยตะกอน และอยู่ห่างไกลจากส่วนที่แม่น้ำตื้นเขิน จึงเชื่อกันว่า[2] ในอดีตหินบริเวณดังกล่าวถูกกัดเซาะให้มีความลึกหลายพันฟุต ซึ่งส่งผลให้เกิดหุบเขากว้างใหญ่ และในปัจจุบันจึงเต็มไปด้วยตะกอน

แหล่งที่มา

WikiPedia: แก่งน้ำตกแห่งแม่น้ำไนล์ http://fummo.com/info/Cataracts_of_the_Nile.html http://adititaylor.weebly.com/geography.html http://www.utdallas.edu/geosciences/remsens/papers... //doi.org/10.1016%2Fj.jafrearsci.2004.07.027 //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%...