ประวัติศาสตร์ ของ แก่งน้ำตกแห่งแม่น้ำไนล์

คำว่า แก่งน้ำตก หรือ " cataract " มีรากคำมาจากภาษากรีก καταρρέω (แปลว่า "ไหลลง") ถึงแม้ว่าคำภาษากรีกดั้งเดิมจะอยู่ในรูปของพหูพจน์เท่านั้น (Κατάδουποι) อย่างไรก็ตาม ในทางตรงกันข้าม แก่งน้ำตกหลักทั้งหกแห่งของแม่น้ำไนล์ก็ไม่สามารถอธิบายได้อย่างถูกต้องว่าเป็นแก่งน้ำตก และให้คำจำกัดความที่กว้างขึ้น แก่งน้ำตกเหล่านี้ก็เช่นเดียวกันกับแก่งน้ำตกขนาดเล็ก ๆ อีกหลายแห่ง

ในสมัยโบราณ อาณาจักรอียิปต์บนได้แผ่ขยายอาณาเขตจากทางใต้ของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ไปยังแก่งน้ำตกแห่งที่หนึ่ง ในขณะที่อยู่ดินแดนบริเวณต้นแม่น้ำที่อยู่ภายใต้การปกครองโดยอาณาจักรคุชโบราณ ซึ่งต่อมาจะเข้ายึดครองดินแดนอียิปต์ในช่วงตั้งแต่ 760 ถึง 656 ปีก่อนคริสตกาล[3] นอกจากการรุกรานชาวคุชแล้ว สำหรับประวัติศาสตร์อียิปต์ส่วนใหญ่ ในแก่งน้ำตกแห่งแม่น้ำไนล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่แก่งน้ำตกแห่งที่หนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ทำหน้าที่เป็นพรมแดนตามธรรมชาติ เพื่อป้องกันการข้ามเข้ามาจากทางใต้ เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวจะต้องอาศัยการเดินทางของแม่น้ำเพื่อเดินทางไปทางเหนือและใต้ ซึ่งส่งผลให้ชายแดนทางใต้ของอียิปต์ได้รับการปกป้องจากการรุกราน และนอกเหนือจากการปกครองในอียิปต์ของชนชาติคุชในระยะเวลาสั้น ๆ แล้ว มันยังคงเป็นพรมแดนตามธรรมชาติสำหรับประวัติศาสตร์อียิปต์ส่วนใหญ่[4]

เอราทอสเทนีสแห่งไซรีเน ได้ให้คำอธิบายที่แม่นยำของแก่งน้ำตกแห่งแม่น้ำไนล์ไว้ว่า[5]

มันมีรูปร่างคล้ายกับตัวอักษร N กลับหลัง โดยแม่น้ำไหลไปทางเหนือจากเมโรวีประมาณ 2,700 สตาเดีย แล้ววกกลับมาทางทิศใต้และพระอาทิตย์ตกในฤดูหนาวประมาณ 3,700 สตาเดีย และเกือบจะถึงแนวขนานเดียวกันกับภูมิภาคเมโรวีและเดินทางไปไกลถึงลิเบีย จากนั้นแม่น้ำจะวกเลี้ยวอีกครั้งและไหลไปทางเหนือ 5,300 สตาเดีย ไปยังที่แก่งน้ำตกใหญ่โค้งไปทางทิศตะวันออกเล็กน้อย จากนั้นอีก 1,200 สตาเดียแม่น้ำไหลไปยังแก่งน้ำตกขนาดเล็กที่ไซยีน (หรือ เมืองอัสวานในปัจจุบัน) และอีก 5,300 สตาเดีย แม่น้ำจะไหลออกสู่ทะเล

แก่งน้ำตกทั้งหกแห่งของแม่น้ำไนล์ได้ถูกบรรยายโดยนักท่องเที่ยวชาวยุโรปจำนวนมาก โดยเฉพาะวินสตัน เชอร์ชิลล์ในหนังสือ The River War (1899) ซึ่งเขาเล่าถึงความพยายามของชาวอังกฤษที่พยายามจะกลับไปยังซูดานระหว่างปี ค.ศ. 1896 ถึง ค.ศ. 1898 หลังจากที่พวกเขาถูกบังคับให้ออกจากซูดานไปในปี ค.ศ. 1885

แหล่งที่มา

WikiPedia: แก่งน้ำตกแห่งแม่น้ำไนล์ http://fummo.com/info/Cataracts_of_the_Nile.html http://adititaylor.weebly.com/geography.html http://www.utdallas.edu/geosciences/remsens/papers... //doi.org/10.1016%2Fj.jafrearsci.2004.07.027 //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%...