แก้งขี้พระร่วง
แก้งขี้พระร่วง

แก้งขี้พระร่วง

แก้งขี้พระร่วง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Celtis timorensis; ตั้งชื่อตามสถานที่ค้นพบที่แรก คือ ติมอร์[3]) เป็นพืชในวงศ์ Cannabaceae หรือวงศ์กัญชา เป็นไม้ยืนต้นที่เนื้อไม้มีกลิ่นเหม็นคล้ายกลิ่นอุจจาระ มีตำนานเล่าไว้ว่าเมื่อพระร่วงหนีขอมจากละโว้ไปสุโขทัยนั้น เมื่อลงพระบังคนหนักแล้วหักกิ่งไม้มาชำระ เสร็จแล้วได้สั่งให้ไม้เป็นขึ้น ไม้นั้นได้แตกกิ่งใบกลายเป็นต้นแก้งขี้พระร่วงนี้มีชื่อเรียกอื่น ๆ ตามถิ่นว่า ตะคาย, มะหาดน้ำ, เยื้อง, หมอนดง ในภาคกลาง ภาคใต้เรียกว่า ตายไม่ทันเฒ่า จังหวัดนครราชสีมาเรียก ขี้พระร่วง, มันปลาไหล จังหวัดน่านเรียก เช็ดก้นพระเจ้า จังหวัดเชียงใหม่เรียก เช็ดขี้พระเจ้า จังหวัดลำปางเรียก แก้งขี้พระร่วง ที่จังหวัดสุโขทัยเรียก ไม้เช็ดตูดพระร่วง ทั้งนี้เนื่องจากมีกลิ่นเหม็นคล้ายอุจจาระแก้งขี้พระร่วง พบในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ของไทย ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 150–600 เมตร ในต่างประเทศพบได้ที่อินเดีย, ศรีลังกา, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ฟิลิปปินส์ จนถึงเกาะคริสต์มาส และออสเตรเลียทางตอนเหนือ ปัจจุบันเป็นไม้หายาก พบได้ในป่าดิบแล้งใกล้ลำธาร ในอุทยานแห่งชาติรามคำแหง ในกลางปี พ.ศ. 2559 สำรวจพบเพียงต้นเดียว จัดเป็นไม้มีเปลือกบาง รากแข็ง ดูแลยาก หากนำไปปลูกมักไม่ค่อยรอด เนื้อไม้แก้งขี้พระร่วงไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง แต่มักนำมาปรุงเป็นยาขับพยาธิไส้เดือนในเด็ก ใบฝนคั้นน้ำเป็นยาแก้โรคอหิวา รวมถึงใช้ขับพยาธิในไก่ชน และยังมีความเชื่อแต่โบราณว่า มีความศักดิ์สิทธิ์หากพกติดตัวจะสามารถขับไล่ภูติผีปีศาจได้

ใกล้เคียง

แก้งขี้พระร่วง แก้วขวัญ วัชโรทัย แก๊งขวานซิ่ง แป้งข้าวเจ้า แกงขี้เหล็ก แกงขนุน แป้งข้าวโพด แป้งข้าวเหนียว การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แป้งข้าวสาลี