ผลกระทบที่เกี่ยวข้อง ของ แก๊สเรือนกระจก

การวัดค่ามลพิษในบรรยากาศชั้นโทรโปสเฟียร์MOPITT (ย่อจาก: Measurements of Pollution in the Troposphere) แสดงให้เห็นคาร์บอนมอนอกไซด์ของโลกในปี พ.ศ. 2543

คาร์บอนมอนอกไซด์ มีผลในการแผ่รังสีทางอ้อมโดยทำให้ระดับความเข้มของมีเทนและโทรโปสเฟียริกโอโซนสูงขึ้นผ่านการ “เก็บตกแก๊สอื่น” ในบรรยากาศ (เช่นอนุมูลอิสระไฮดรอกซีล (hydroxyl radical, OH) คาร์บอนมอนอกไซด์เกิดขึ้นเมื่อเชื้อเพลิงที่มีส่วนประกอบของคาร์บอนถูกเผาไม่สมบูรณ์ มันจะได้รับการเติมออกซิเจนในบรรยากาศตามกระบวนการธรรมชาติกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์มีเวลาชั่วชีวิตในบรรยากาศเพียงไม่กี่เดือน [37] ดังนั้นมันจึงมีความผันแปรเชิงเนื้อที่มากกว่าแก๊สอายุยืนอื่นๆ

แนวโน้มสำคัญในการมีผลทางอ้อมอีกประการหนึ่งมาจากมีเทนซึ่งนอกเหนือไปจากผลกระทบด้านการแผ่รังสีโดยตรงของมันแล้ว มันยังเป็นตัวช่วยสร้างโอโซนอีกด้วย ชินเดลล์และคณะ (Shindell et al 2005) [38] ให้ข้อถกเถียงว่า การมีส่วนในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ของมีเทนอย่างน้อยก็มีส่วนมากเป็น 2 เท่าจากที่เคยประมาณกันมาด้วยผลกระทบดังที่กล่าวนี้[39]

แหล่งที่มา

WikiPedia: แก๊สเรือนกระจก http://www.greenhouse.gov.au/greenhousefriendly/in... http://www.ipcc.ch/pdf/assessment-report/ar4/syr/a... http://www.ipcc.ch/pdf/assessment-report/ar4/wg1/a... http://www.ipcc.ch/pdf/assessment-report/ar4/wg1/a... http://www.ipcc.ch/pdf/assessment-report/ar4/wg1/a... http://www.planetark.com/dailynewsstory.cfm/newsid... http://www.atmo.arizona.edu/students/courselinks/s... http://adsabs.harvard.edu/abs/2003Sci...302.1719K http://web.mit.edu/globalchange/www/MITJPSPGC_Rpt3... http://ipcc-wg1.ucar.edu/wg1/wg1-report.html