ชื่อเรียก ของ แคะ

(客家 คำว่า แคะ ในภาษาไทยถูกเรียกตามภาษาแต้จิ๋วว่า แขะแก ในภาษาจีนกลางเรียกว่า เค่อเจีย มีความหมายว่า ครอบครัวผู้มาเยือน ส่วนในภาษาจีนแคะเอง เรียกว่า ขักก๊า ส่วนคำว่า "ฮากกา" ที่ใช้กันแพร่หลายนั้น มาจากการออกเสียงในภาษากวางตุ้ง) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วชาวจีนแคะมักจะเรียกตัวเองในภาษาจีนแคะว่า 客家人 ฮากกาหงิ่น

ส่วนการกล่าวเรียกตัวเองสำหรับเชื้อชาติคนจีนแคะมักจะอ้างสิทธิว่าตนสืบทอดและอนุรักษ์วัฒนธรรมสมัยราชวงศ์ฉินและราชวงศ์ฮั่นได้ดีที่สุด จึงมักเรียกตนตามภาษาจีนแคะว่า ฮอนหงิ่น (漢人; แปลว่า พสกนิกรหรือ ประชาชนของราชวงศ์ฮั่นหรือชาวฮั่น บ้างก็เรียกตนว่า ฉี่นหงิ่น (秦人; พสกนิกรหรือประชาชนแห่งราชวงศ์ฉิน (ซึ่งมักไม่เป็นที่นิยมแล้ว) ต่างกับชาวจีนแต้จิ๋วและชาวจีนกวางตุ้ง ที่มักกล่าวเรียกตนเองว่าเป็น (唐人; แปลว่า พสกนิกรหรือประชาชนราชวงศ์ถัง) (ภาษาแต้จิ๋ว: "ตึ่งนั้ง"; ภาษาจีนกวางตุ้ง: "ถ่องหยั่น" )