อาชีพด้านการวิจัย ของ แคโรลีน_เบอร์ทอซซี

หลังจากเบอร์ทอซซีจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เธอเข้าทำงานวิจัยหลังปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโกกับสตีเวน โรเซน เธอศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของโอลิโกแซ็กคาไรด์บริเวณเนื้อเยื่อบุผิวซึ่งช่วยให้เซลล์ยึดเกาะบริเวณที่เกิดการอักเสบ[17][18] เธอสามารถดัดแปลงโมเลกุลของโปรตีนและน้ำตาลในเยื่อหุ้มเซลล์เพื่อให้เซลล์สามารถรับวัสดุจากภายนอกเช่นอวัยวะเทียมได้[19]

เบอร์ทอซซีเข้าเป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์และนักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอว์เรนซ์ เบิร์กลีย์ใน ค.ศ. 1996 โดยเธอดำรงตำแหน่งเป็นประธานศูนย์วิจัยโมเลกุลาร์ฟาวน์ดรี[17][20] และดำรงตำแหน่งเป็น investigator ที่สถาบันการแพทย์ฮาเวิร์ด ฮิวส์ตั้งแต่ ค.ศ. 2000[6] ใน ค.ศ. 1999 เธอพัฒนาเคมีสาขาใหม่ที่เรียกว่าเคมีไบโอออร์โกโกนอล (bioorthogonal chemistry) และบัญญัติวลีดังกล่าวใน ค.ศ. 2003[21][22][23] เคมีสาขาใหม่นี้ทำให้นักวิจัยสามารถดัดแปลงโมเลกุลในสิ่งมีชีวิตได้โดยไม่รบกวนกระบวนการทำงานของเซลล์[24] ใน ค.ศ. 2015 เบอร์ทอซซีย้ายไปประจำที่สถาบัน ChEM-H มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด[25]

เบอร์ทอซซีศึกษาชีววิทยาน้ำตาลของโรคเรื้อรังเช่นมะเร็ง อาการอักเสบเช่นข้ออักเสบ และโรคติดเชื้อเช่นวัณโรค เธอมีส่วนสำคัญทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจโครงสร้างของโอลิโกแซ็กคาไรด์บนผิวเซลล์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการระบุเซลล์และการสื่อสารระหว่างเซลล์ เบอร์ทอซซีใช้เทคนิคในสาขาเคมีออร์โทโกนอลเพื่อศึกษาไกลโคคาลิกซ์ซึ่งเป็นน้ำตาลที่อยู่รอบเยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งทำให้การวิจัยในสาขาการบำบัดทางชีวภาพ (biotherapeutics) พัฒนาขึ้นอย่างมาก[26] กลุ่มวิจัยของเธอยังพัฒนาเครื่องมือสำหรับการวิจัยด้วย เช่นเครื่องมือทางเคมีสำหรับศึกษาไกลแคนในระบบสิ่งมีชีวิต[6] งานวิจัยของกลุ่มวิจัยเบอร์ทอซซีซึ่งใช้นาโนเทคโนโลยีในการตรวจวัดในระบบทางชีววิทยานำไปสู่การพัฒนาชุดทดสอบวัณโรคในสถานพยาบาลซึ่งให้ผลเร็ว[27][28] ใน ค.ศ. 2017 เธอได้รับเชิญให้บรรยายในเท็ดทอล์กในหัวข้อเรื่อง "What the sugar coating on your cells is trying to tell you"[29]

ธุรกิจสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

นอกเหนือจากงานวิชาการแล้ว เบอร์ทอซซียังมีส่วนร่วมกับองค์กรธุรกิจสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีชีวภาพหลายองค์กร ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 เบอร์ทอซซีและสตีเวน โรเซนร่วมก่อตั้ง Thios Pharmaceuticals เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการสังเคราะห์ซัลเฟตเอสเทอร์ทางชีวภาพ[30] ต่อมาใน ค.ศ. 2008 เบอร์ทอซซีได้ก่อตั้ง Redwood Bioscience ขึ้นที่เมืองเอเมอรีวิลล์ รัฐแคลิฟอร์เนีย[31] Redwood Bioscience เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ SMARTag ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการดัดแปลงโครงสร้างโปรตีนเพื่อให้โมเลกุลยาที่มีขนาดเล็กสามารถยึดเกาะได้เพื่อใช้ในการรักษามะเร็ง[15][32] บริษัทดังกล่าวถูก Catalent Pharma Solutions ซื้อกิจการใน ค.ศ. 2014 โดยเบอร์ทอซซียังคงดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านชีววิทยาของบริษัท[32] นอกจากนี้ใน ค.ศ. 2014 เธอยังร่วมก่อตั้ง Enable Biosciences ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการวินิจฉัยเบาหวานชนิดที่ 1 เอชไอวี และโรคอื่น ๆ ที่บ้าน[21][33]

ธุรกิจสตาร์ตอัปอื่น ๆ ที่เบอร์ทอซซีมีส่วนร่วมก่อตั้งตั้งแต่ ค.ศ. 2015 ได้แก่

  • Palleon Pharma (ค.ศ. 2015)[34] – มุ่งเน้นด้านการศึกษาตัวยับยั้งเพื่อนำไปสู่การรักษามะเร็ง[35]
  • InterVenn Biosciences (ค.ศ. 2017) – มุ่งเน้นด้านการใช้เทคนิคแมสสเปกโตรเมตรีและปัญญาประดิษฐ์ในการวินิจฉัยมะเร็งรังไข่[21][36]
  • OliLux Biosciences (ค.ศ. 2019) – มุ่งเน้นด้านการพัฒนาวิธีการตรวจหาเชื้อวัณโรค[21][37]
  • Lycia Therapeutics (ค.ศ. 2019) – มุ่งเน้นด้านการวิจัย lysosome-targeting chimeras (LYTACs) เพื่อจัดการเซลล์เป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและโรคมะเร็ง

เบอร์ทอซซียังเคยเป็นสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาของบริษัทยาหลายแห่งรวมทั้งแกล็กโซสมิทไคลน์และอีลี ลิลลี[38] นอกจากนี้ ใน ค.ศ. 2018 เธอได้ก่อตั้งมูลนิธิ Grace Science Foundation เพื่อพัฒนาวิธีการรักษาอาการเอนไซม์ NGLY1 บกพร่องที่ได้ผลดีและราคาไม่สูง[39]

ผลงานตีพิมพ์

เบอร์ทอซซีมีผลงานตีพิมพ์ที่สำคัญมากกว่า 600 ฉบับ โดยผลงานสำคัญที่มีผู้อ้างอิงเป็นจำนวนมากที่สุดมีดังนี้


ใกล้เคียง

แคโรลีน เบอร์ทอซซี แคโรล โอร์เซิล แคโรล แลนดิส แคโรล คิง แคโรไลน์ มาทิลดาแห่งบริเตนใหญ่ แคโรทีนอยด์ แคโรทีน แคโรไลน์ อเมลีแห่งออกัสเตนบวร์ค แคโรไลน์ น็อกซ์ แฮโรลด์ พินเทอร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: แคโรลีน_เบอร์ทอซซี http://intervenn.bio/ http://www.ebar.com/news/article.php?sec=news&arti... http://www.scientificamerican.com/article/women-in... http://berkeley.edu/news/berkeleyan/2007/02/21_awa... http://web.mit.edu/physics/people/faculty/bertozzi... http://news.stanford.edu/news/2015/june/chemistry-... http://publications.nigms.nih.gov/chemhealth/chemi... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10720325 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11269316 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/1481973