ประวัติ ของ แซ็งต์-ชาแปล

ภาพเดือนมิถุนายนแสดงแซ็งต์-ชาแปลสูงเด่นเหนือภูมิทัศน์ของพระราชวังหลวง (ภาพจากหนังสือกำหนดเทศกาลดยุกเดอแบร์รีโดยพี่น้องลิมบูร์ก ราว ค.ศ. 1400เพดานของชาเปลชั้นล่าง

แซ็งต์-ชาแปล[1] ที่ตั้งอยู่ลานของพระราชวังหลวงสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่เก็บรักษาเรลิกแห่งแซ็งต์-ชาแปล เช่น มงกุฎหนามของพระเยซู, ภาพเอเดสซา และเรลิกอื่น ๆ เกี่ยวกับพระเยซูอีกสามสิบชิ้นที่เดิมเป็นของพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1239 ที่ทรงได้รับจากนักบวชคณะดอมินิกันสององค์ที่เวนิส พระเจ้าหลุยส์ทรงทำการซื้อเรลิกที่เกี่ยวกับพระทรมานของพระเยซูจากจักรพรรดิละตินแห่งคอนสแตนติโนเปิล, จักรพรรดิบอลด์วินที่ 2 แห่งคอนสแตนติโนเปิลเป็นจำนวนเงินมหาศาลถึง 135,000 ลีฟวร์ตูร์นัวที่จ่ายให้แก่พ่อค้าชาวเวนิสที่สมบัติเหล่านี้ถูกจำนำอยู่[2] ค่าก่อสร้างแซ็งต์-ชาแปลเองที่เป็นที่เก็บตกมงคลวัตถุราคาเพียง 40,000 ลีฟวร์ตูร์นัว ก่อนหน้าที่จะสร้างเสร็จ เรลิกได้รับการเก็บรักษาไว้ที่พระราชวังแวงแซนส์ และในชาเปลที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะที่พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล ในปี ค.ศ. 1241 ก็ได้เรลิกเพิ่มขึ้นที่รวมทั้งไม้กางเขนแท้และอื่น ๆ ฉะนั้นแซ็งต์-ชาแปลที่เสกเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1248 จึงเป็นเสมือน “หีบบรรจุวัตถุมงคล” (Reliquary)[3]

ในขณะเดียวกันก็เป็นการเผยถึงความทะเยอทยานของพระเจ้าหลุยส์ทางการเมืองและทางวัฒนธรรม เมื่อประมุขของบัลลังก์คอนสแตนติโนเปิลมีบรรดาศักดิ์เป็นเพียงเคานต์แห่งฟลานเดอร์ และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์อยู่ในสภาวะที่ยุ่งเหยิงสับสนในการที่จะเป็นผู้นำของจักรวรรดิคริสเตียนตะวันตก

แซ็งต์-ชาแปลเป็นตัวอย่างสำคัญของการวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมแรยอน็องซึ่งเป็นสมัยหนึ่งของสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมที่พยายามทำให้สิ่งก่อสร้างดูเหมือนปราศจากน้ำหนัก เชื่อกันว่าสถาปนิกผู้ออกแบบชาเปลคือปีแยร์เดอมงเตอโร[4] ตัวชาเปลตั้งอยู่ในวังหลวงซึ่งเป็นวัดสำหรับผู้ที่ประทับและอาศัยอยู่ในพระราชวัง ซึ่งเป็นที่ทำการของรัฐบาล

สิ่งที่เด่นที่สุดของแซ็งต์-ชาแปลคือหน้าต่างประดับกระจกสีที่แคบและสูงและตกแต่งด้วยกระจกที่เป็นสีแพรวพราว หน้าต่างกุหลาบมาเพิ่มเติมบนชั้นบนของชาเปลภายหลังในคริสต์ศตวรรษที่ 15

ชาเปลที่เห็นในปัจจุบันเป็นงานที่สร้างใหม่ แต่สองในสามของหน้าต่างประดับกระจกสีเป็นหน้าต่างดั้งเดิม ชาเปลได้รับความเสียหายอย่างหนักในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส เมื่อยอดและเบญจาถูกรื้อ และเรลิกกระจัดกระจายหายไป ยังคงเหลืออยู่แต่ “เรลิกแห่งแซ็งต์-ชาแปล” ที่ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส แต่หีบเก็บวัตถุมงคลที่รวมทั้ง “grande châsse” ถูกหลอม แซ็งต์-ชาแปลถูกเวนคืนเป็นหอเอกสารในปี ค.ศ. 1803 หน้าต่างยาวสองเมตรต้องถูกรื้อออกเพื่อให้แสงส่องเข้ามาได้มากขึ้น[5] งานบูรณปฏิสังขรณ์ที่ได้รับการบันทึกอย่างถี่ถ้วนทำโดยเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกในปี ค.ศ. 1855 ถือกันโดยผู้ร่วมสมัยว่าเป็นงานบูรณปฏิสังขรณ์ชั้นเยี่ยม[6] และเที่ยงตรงต่อภาพวาดและคำบรรยายดั้งเดิมของชาเปลที่ยังหลงเหลืออยู่

แซ็งต์-ชาแปลมีฐานะเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศสมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1862

ใกล้เคียง

แซ็งต์-ชาแปล แซ็งตาลบ็อง-ซูร์-ลีมาญอล แซ็งต์-ฟัว-เดอ-มงกอมรี แซ็งต์-กอลงบ์-เดอ-แปอีร์ แซ็งต์-โดแม็งก์ แซ็ง-ทรอเป แซ็ง-โล แซ็ง-เรมี-เดอ-พรอว็องส์ แซ็ง-บาร์เตเลมี แซ็งปีแยร์และมีเกอลง

แหล่งที่มา

WikiPedia: แซ็งต์-ชาแปล http://paris.arounder.com/city_tour/FR000010330.ht... http://www.cosylogis.com/en/paris-france/paris-his... http://www.forvo.com/word/Sainte-Chapelle#fr http://fromparis.com/modules/quicktime_fullscreen_... http://www.linternaute.com/sortir/patrimoine/ile-d... http://www.oldandsold.com/articles08/paris-travel-... http://www.shroud.com/pdfs/n56part5.pdf http://sainte-chapelle.monuments-nationaux.fr/en/ http://www.windows.org //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%...