แทสเมเนียนเดวิล
แทสเมเนียนเดวิล

แทสเมเนียนเดวิล

แทสเมเนียนเดวิล (อังกฤษ: Tasmanian Devil; ชื่อวิทยาศาสตร์: Sarcophilus harrisii) เป็นมาร์ซูเปียลกินเนื้อในวงศ์ Dasyuridae ปัจจุบันมีถิ่นฐานเฉพาะในรัฐแทสเมเนียของออสเตรเลีย โดยได้รับสถานะเป็นสัตว์คุ้มครองมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1941 สันนิษฐานว่าแทสเมเนียเดวิลได้สูญพันธุ์ไปจากแผ่นดินใหญ่ของออสเตรเลียไปเมื่อประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว [3]แทสเมเนียนเดวิลมีขนาดใกล้เคียงกับสุนัขตัวเล็ก ๆ ถือเป็นมาร์ซูเปียลกินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่ไทลาซีนสูญพันธุ์เมื่อปี ค.ศ. 1936 เป็นสัตว์ที่มีนิสัยดุร้าย และถือว่าเป็นสัตว์ที่มีกรามขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อเทียบกับขนาดตัว[4]แทสมาเนียนเดวิลตัวเมียสามารถมีลูกในกระเป๋าหน้าท้องได้สูงสุดถึง 6 ตัว ในระยะเวลานาน 3 เดือน ซึ่งถือว่ามีจำนวนเยอะมาก[4]ปัจจุบันแทสเมเนียนเดวิลกำลังอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ สืบเนื่องจากเกิดโรคระบาดที่ทำให้เกิดการติดเชื้อและเป็นเนื้องอกคล้ายมะเร็งบริเวณใบหน้า (Devil facial tumour disease - DFTD) มาตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1990 [5] ทำให้ประชากรลดลงอย่างรวดเร็ว นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าหากไม่สามารถคิดค้นหาวิธีรักษาได้ แทสเมเนียนเดวิลจะสูญพันธุ์ภายในปี ค.ศ. 2035 [6]

ใกล้เคียง