การเตรียมความพร้อม ของ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์

ในการเตรียมความพร้อมสำหรับการนำแท็บเล็ตไปปรับใช้ในการศึกษา ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านต่างๆ ต้องมีการเตรียมตัวเพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนสอนสอนด้วยแท็บเล็ตประสบความเร็จ โดยแบ่งการปรับความพร้อมเป็นด้านต่างๆ[7] ดังนี้

ด้านหน่วยงานที่รับผิดชอบ

ควรจัดตั้งหน่วยงานในระดับเขตพื้นที่การศึกษาในการให้บริการ ประสานงาน ซ่อมบำรุง และเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ ซึ่งควรประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอน ทำหน้าที่คณะกรรมการของหน่วยงานด้านสภาพแวดล้อม/โครงสร้างพื้นฐาน/การใช้งานแท็บเล็ตพีซีในการเรียนการสอนนั้น สามารถใช้งานได้ 2 ลักษณะดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น คือ แบบ mCAI และแบบ mWBI หรือแบบออฟไลน์และแบบออนไลน์นั้นเอง ซึ่ง mCAI เป็นการใช้แท็บเล็ตพีซีในการเรียนการสอนโดยบรรจุบทเรียนสำเร็จรูปและสื่อมัลติมีเดียไว้ในแท็บเล็ต เพื่อให้ผู้เรียนใช้ในการเรียนรู้โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ส่วนการใช้งานแบบ mWBI เป็นการใช้แท็บเล็ตพีซีเป็นเครื่องมือในการสืบค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ ซึ่งจำเป็นต้องเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต ไร้สายความเร็วสูง ดังนั้นสถานศึกษาจึงต้องวางโครงสร้างระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายให้ครอบคลุมพื้นที่ โดยมีความเร็วมากพอในการดาวน์โหลดและอัปโหลด และต้องมีจุดปลั๊กไฟสำหรับชาร์ทแบตเตอรี่ที่เพียงพอ ด้วยข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานของสถานศึกษา และตัวอุปกรณ์แท็บเล็ต จึงทำให้ประเทศไทยใช้แท็บเล็ตพีซีในการจัดการเรียนการสอนแบบ mCAI เท่านั้นนอกจากนี้ ต้องมีการเตรียมผู้สอนทั้งด้านความสามารถในการใช้แท็บเล็ต และการออกแบบการจัดการเรียนการสอนผ่านแท็บเล็ต โดยการอบรม ให้ความรู้แก่ผู้สอน รวมทั้งนิเทศติดตามการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ ประเมินผล ดูแลรักษา และออกแบบการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสูงสุดต่อผู้เรียน ปัจจุบันรัฐบาลมอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ จัดการอบรมการใช้งานแท็บเล็ตพีซีให้แก่ผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เรียบร้อยแล้ว แต่ในปีการศึกษา 2556 ซึ่งผู้เรียนได้เลื่อนชั้นไปยังชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ยังไม่มีการจัดการอบรมการใช้แท็บเล็ตในการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แต่อย่างใด

ด้านผู้เรียน

การเตรียมความพร้อมของผู้เรียนถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในการใช้งานแท็บเล็ตพีซี เนื่องจาก นโยายที่ให้ผู้เรียนสามารถนำแท็บเล็ตไปใช้นอกสถานศึกษาได้ โดยใช้วิธียืมและส่งคืนเมื่อจบการศึกษาหรือย้ายสถานศึกษา ดังนั้นต้องปลูกฝังผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบในการใช้งาน รววมทั้งต้องรู้จักการบำรุงรักษาเครื่องอย่างถูกวิธี ในบริบทประเทศไทยการเตรียมความพร้อมของผู้เรียนเป็นหน้าที่ของผู้สอนในการฝึกทักษะการใช้งาน และการดูแลรักษา

ด้านผู้ปกครอง/ชุมชน

ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนสำคัญอย่างมากในการกำกับดูแลการใช้งานของผู้เรียนในปกครอง ดังนั้นควรมีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจหลักการ เป้าหมาย การใช้งานที่ถูกวิธี การบำรุงรักษา รวมถึงความรับผิดชอบต่อเครื่องแท็บเล็ตพีซี เมื่อเกิดความเสียหายหรือสูญหาย ในประเทศไทยการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาในการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว

ด้านนโยบายรัฐบาล

แผนการจัดการเรียนรู้ถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการเรียนรู้ให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำแผนจัดการเรียนรู้ด้วยแท็บเล็ตพีซี และจัดส่งให้ทุกสถานศึกษา เพื่อให้ผู้สอนผู้รับผิดชอบนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ทันที โดยกระทรวงศึกษาธิการได้วางรูปแบบการใช้แท็บเล็ตพีซีเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก เพื่อเป็นต้นแบบในการนำเอาไปปรับใช้[8] ดังนี้

  1. รูปแบบการฝึกทักษะการใช้แท็บเล็ตพีซีเบื้องต้นโดยการสอนเป็นทีม แนวทางการใช้รูปแบบการฝึกทักษะการใช้แท็บเล็ตพีซีโดยการสอนเป็นทีม มีแนวทางที่สำคัญ คือ สถานศึกษาขนาดเล็กที่อยู่ใกล้กันมาจัดการเรียนรู้ร่วมกัน ลดปัญหาการขาดแคลนผู้สอน และอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยคัดเลือกผู้สอนที่มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้แท็บเล็ตพีซีที่ดีที่สุดให้เป็นผู้สอนหลัก ส่วนผู้สอนท่านอื่นมีบทบาทในการเป็นผู้สอนผู้ช่วยจัดการเรียนรู้ สถานศึกษาที่เป็นสถานที่ทำการเรียนการสอนต้องจัดเตรียมสื่ออุปกรณ์ให้พร้อมสมบูรณ์ อาจเป็นความร่วมมือของทุกสถานศึกษาที่ดำเนินการเรียนการสอนร่วมกัน เช่น เครื่องฉายโปรเจกต์เตอร์ เครื่องฉายทึบแสง เอกสารคู่มือ เป็นต้น โดยดำเนินเตรียมความพร้อมสำหรับผู้เรียนก่อนเป็นอันดับแรก ได้แก่การฝึกทักษะการใช้งานเบื้องต้น การใช้บำรุงรักษาเครื่อง และการสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนด้วยแท็บเล็ตพีซี
  2. รูปแบบการใช้แท็บเล็ตพีซีเป็นสื่อการจัดการเรียนรู้ (ปกติ)แนวทางการใช้รูปแบบการใช้แท็บเล็ตพีซีเป็นสื่อการเรียนรู้ มีแนวทางที่สำคัญ คือ ใช้แท็บเล็ตเป็นสื่อในการเรียนรู้ ผู้สอนต้องปรับแผนจัดการเรียนรู้ใหม่โดยนำแท็บเล็ตพีซีมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งขั้นนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนที่บรรจุอยู่ในแท็บเล็ตพีซีเป็นสื่อ ขั้นสรุปโดยใช้แอปพลิเคชันในการสรุปสาระสำคัญที่เรียนรู้ไปแล้ว ขั้นการฝึกทักษะสามารถใช้แอปพลิเคชันเป็นแบบฝึกหัด แบบทดสอบ ช่วยฝึกทักษะที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
  3. รูปแบบการฝึกทักษะการใช้แท็บเล็ตพีซีแทนสื่อและอุปกรณ์การสอน รูปแบบการฝึกทักษะการใช้แท็บเล็ตพีซีแทนสื่อและอุปกรณ์การสอนนี้เน้นการใช้แท็บเล็ตพีซีแทนสื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้ เช่น การใช้แท็บเล็ตพีซีเป็นเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ในการจัดการเรียนการสอนวิชาดนตรี การใช้แท็บเล็ตพีซีเป็นอุปกรณ์เครื่องเขียนในการวาดภาพระบายสีในวิชาศิลปศึกษา การใช้แท็บเล็ตพีซีเป็นอุปกรณ์เขียนคำตอบจากโจทย์ปัญหาต่างๆ เป็นต้น
  4. รูปแบบการใช้แท็บเล็ตพีซีเป็นแหล่งการเรียนรู้ แนวทางเป็นรูปแบบการใช้แท็บเล็ตพีซีเป็นแหล่งการเรียนรู้ สำหรับการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งเป็นการเรียนการสอนตามกระบวนวิจัย กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกระบวนการแก้ปัญหา ตามแนวคิดที่ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง (Constructivism) โดยผู้เรียนจะเรียนรู้ด้วยสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง (Inquiry Learning & Self Directed Learning) ซึ่งในขั้นตอนการค้นคว้านั้น ผู้เรียนสามารถใช้แท็บเล็ตพีซีในการเป็นเครื่องมือในการสืบค้นข้อมูล รวมถึงการบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า
  5. รูปแบบการใช้แท็บเล็ตพีซีเป็นสื่อการสอนซ่อมเสริม ความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสิ่งที่ผู้สอนต้องให้ความสำคัญ ดังนั้นผู้เรียนในห้องเรียนจะมีทั้งผู้เรียนที่เรียนเก่งและผู้เรียนที่เรียนอ่อน ผู้สอนต้องช่วยปรับปรุงผู้เรียนที่เรียนอ่อนและจัดกิจกรรมส่งเสริมผู้เรียนที่เรียนเก่ง การซ่อมเสริมแบบนี้อาจเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการขึ้นอยู่กับนโยบายและบริบทของสถานศึกษา อาจใช้เวลาช่วงพักกลางวัน หลังเลิกเรียน หรือจัดชั่วโมงเรียนซ่อมเสริมโดยเฉพาะ ผู้สอนสามารถใช้แท็บเล็ตพีซีเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนซ่อมเสริม โดยอาศัยบทเรียนที่บรรจุอยู่ในแท็บเล็ตพีซีเป็นสื่อการเรียนการสอน

รูปแบบการสอนดังกล่าว เป็นเพียงแนวทางที่ผู้สอนจะนำไปใช้ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนด้วยการใช้แท็บเล็ตพีซี โดยที่ผู้สอนสามารถนำรูปแบบต่างๆ เหล่านี้ ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพ และบริบทในชั้นเรียนของตน เพื่อยกระดับคุณภาพของผู้เรียน ให้สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ต่อไป

แหล่งที่มา

WikiPedia: แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ http://202.143.189.100/otpc/onweb/salub.pdf http://202.28.199.4/tdc/ http://chompoonikkampan.blogspot.com/ http://otpc-cm1.blogspot.com/2013/07/tablet-1-2555... http://www.pcmag.com/encyclopedia_term/0,2542,t=ta... http://dictionary.reference.com/browse/tablet+comp... http://www.tabletd.com/articles/289 http://nipaporn27739.wordpress.com/2012/09/11/tabl... http://www.sepkpt1.net/onechildok/file_onechildOK/... http://www.royin.go.th/th/webboardnew/answer.php?G...