ผลกระทบจากการใช้แท็บเล็ตพีซีในการเรียนการสอน ของ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์

ในการใช้แท็บเล็ตพีซีในการเรียนการสอน มีผลกระทบในด้านต่างๆ[15] ดังนี้

ผลกระทบเชิงบวก

ผลกระทบเชิงบวกจาการใช้แท็บเล็ตพีซีในการเรียนการสอนต่อตนเอง ครอบครัว สถานศึกษาและต่อสังคม อาทิเช่น แท็บเล็ตเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาให้กับเด็ก เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เด็กๆ ได้ศึกษาวัฒนธรรมต่างแดนผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา สามารถเรียนรู้ภาษาด้วยการใช้เป็นวิดีโอแชทกับชาวต่างชาติเพื่อฝึกภาษาอังกฤษโดยไม่ต้องเขินอายเหมือนกับการสื่อสารต่อหน้า ทำให้การเรียนเป็นเรื่องสนุกและเข้าใจง่ายขึ้น แตกต่างจากการเรียนจากหนังสือซึ่งไม่น่าสนใจและเข้าใจยากกว่า ทำให้ผู้สอนสามารถเข้าถึงรูปภาพ วีดิโอคลิป และข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลก เพื่อใช้สร้างบทเรียนที่น่าสนใจให้แก่ผู้เรียน

ผลกระทบเชิงลบ

การนำแท็บเล็ตพีซีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อผู้เรียนได้ อาทิเช่น อาจมีผู้เรียนจำนวนมากติดอินเทอร์เน็ต เด็กจะอยู่คนเดียว เล่นคนเดียว หรือเล่นกับเพื่อนสองสามคน ขาดการมีปฏิสัมพันธ์เชิงสังคมกับผู้อื่น ขาดหรือออกกำลังกายน้อยลง มีปัญหาเรื่องสายตาสั้น มีปัญหาด้านสุขภาพ และทำให้เด็กคุ้นเคยกับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ จนอาจทำให้ติดและทำให้ส่งผลต่อผลการเรียน

ปัญหาและอุปสรรค

นโยบายของรัฐบาลในการจัดสรรแท็บเล็ตพีซีนับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปฏิวัติการเรียนรู้ของผู้เรียนไทย เพียงแต่อาจเกิดปัญหาตามมาหลังจากที่มีการแจก Tablet ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

  1. การเรียนการสอนโดยใช้แท็บเล็ตพีซีอาจไม่จำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรขึ้นมาใหม่ แต่จำเป็นต้องมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่นำแท็บเล็ตพีซีมาใช้เป็นสื่อหรือเครื่องมือในการเรียนการสอน ซึ่งขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำแผนจัดการเรียนรู้จากส่วนกลางส่งให้ทุกสถานศึกษา เพื่อให้ผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นำไปใช้จัดการเรียนการสอน แต่มีข้อสังเกตคือแผนจัดการเรียนรู้นี้ยืดหยุ่นพอหรือไม่ในการใช้จัดการเรียนการสอนในบริบทที่แตกต่างกันของแต่ละสถานศึกษา
  2. ผู้สอนยังขาดทักษะการใช้อุปกรณ์ Tablet เพื่อการจัดการเรียนการสอน ในขณะที่ผู้เรียนมีความพร้อมที่จะเรียน[16]
  3. เมื่อผู้เรียนเลื่อนชั้น เนื้อหาบทเรียนในชั้นเดิมจะถูกลบเพื่อใส่เนื้อหาบทเรียนในชั้นใหม่เข้าไป เนื่องจากเนื้อที่การจัดเก็บข้อมูลของแท็บเล็ตมีจำกัด ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถกลับมาทบทวนเนื้อบทเรียนเดิมได้
  4. ภาระด้านการบำรุงรักษา การแก้ปัญหาเรื่องอุปกรณ์ และการใช้งานเป็นภาระของสถานศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหมดระยะประกัน[17]
  5. อุปกรณ์แท็บเล็ตเปลี่ยนรุ่นเร็วมาก ดังนั้นแท็บเล็ตที่จัดหามาแจก ควรมีมาตรฐานรองรับสื่อบทเรียนและแอปพลิเคชันที่เกิดขึ้นใหม่ ในขณะที่ด้านเทคนิคก็พบปัญหามากมาย เช่น แบตเตอรี่หมดเร็ว ใช้งานได้ติดต่อกันน้อยกว่า 1 ชั่วโมง เครื่องร้อน โดยสถานศึกษาหลายแห่งเสนอให้ส่วนกลางจัดสรรงบประมาณการจัดซ่อมบำรุงแท็บเล็ต และสำรองเครื่องเพื่อรองรับปัญหา แต่ก็ยังไม่ได้รับการจัดการมากนัก
  6. ด้วยข้อจำกัดของอุปกรณ์ที่มีขนาดหน้าจอ 7 นิ้ว ซึ่งเล็กเกินไปสำหรับการอ่านข้อความจากเว็บไซต์ การสัมผัสที่ไม่ลื่นไหล ระบบอินเตอร๋เน็ตของสถานศึกษาไม่เร็วและเสถียรพอ จึงเป็นการยากที่จะใช้แท็บเล็ตพีซีเป็นเครื่องมือในการสืบค้น

จากงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาทัศนคติของผู้เรียนหรือผู้สอน การพัฒนาแอปพลิเคชัน บทเรียน แต่ยังขาดงานวิจัยที่ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเมื่อนำแท็บเล็ตพีซีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อยืนยันว่าแท็บเล็ตสามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนได้จริง ซึงผลด้านลบจากการใช้แท็บเล็ตในการเรียนการสอนจึงเป็นสิ่งที่ผู้สอนต้องพึงตระหนักและให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก

แหล่งที่มา

WikiPedia: แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ http://202.143.189.100/otpc/onweb/salub.pdf http://202.28.199.4/tdc/ http://chompoonikkampan.blogspot.com/ http://otpc-cm1.blogspot.com/2013/07/tablet-1-2555... http://www.pcmag.com/encyclopedia_term/0,2542,t=ta... http://dictionary.reference.com/browse/tablet+comp... http://www.tabletd.com/articles/289 http://nipaporn27739.wordpress.com/2012/09/11/tabl... http://www.sepkpt1.net/onechildok/file_onechildOK/... http://www.royin.go.th/th/webboardnew/answer.php?G...