เป็นการปรับตัวที่ควบคุมไม่ดี ของ แนวคิดวิวัฒนาการเกี่ยวกับความซึมเศร้า

ความซึมเศร้า โดยเฉพาะในสังคมปัจจุบัน อาจจะไม่ใช่เป็นการปรับตัวที่ดี แม้ว่าสมรรถภาพในการรู้สึกเจ็บหรือประสบกับความซึมเศร้า จริง ๆ เป็นกลไกป้องกันตัวที่เป็นการปรับตัว[27]เพราะว่าเมื่อ "จุดชนวนง่ายเกินไป รุนแรงไป หรือคงยืนอยู่นาน" ก็จะกลายเป็น "สิ่งที่ควบคุมได้ไม่ดี"[27]ในกรณีเช่นนี้ แม้กลไกป้องกันตัวก็สามารถกลายเป็นโรคได้ เช่น "ความเจ็บปวดที่ยาวนานและการเสียน้ำ จากอาการท้องร่วง" ความซึมเศร้า ซึ่งอาจจะเป็นกลไกป้องกันตัวคล้าย ๆ กัน อาจกลายเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ไม่ดีเช่นกัน[28]

ดังนั้น โดยไม่เหมือนกับทฤษฎีทางวิวัฒนาการอื่น ๆ ทฤษฎีนี้มองความซึมเศร้าว่าเป็นการปรับตัวสุดขั้วแบบผิดพลาด เป็นอะไรที่มีประโยชน์ถ้ามีน้อยกว่าโดยเฉพาะก็คือ ทฤษฎีหนึ่งพุ่งความสนใจไปที่ลักษณะบุคลิกภาพ neuroticism (ความไม่เสถียรทางอารมณ์)คือ ระดับ neuroticism ที่ต่ำอาจเพิ่มความเหมาะสมของบุคคลในกระบวนการต่าง ๆ แต่ที่มากเกินไปอาจลดความเหมาะสม เช่น โรคซึมเศร้าที่ซ้ำ ๆดังนั้น กระบวนการวิวัฒนาการก็จะคัดเลือกปริมาณที่ดีที่สุด และคนโดยมากจะมี neuroticism ใกล้ ๆ ระดับนี้แต่ว่า ความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้นใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา และดังนั้น บางคนก็จะมี neuroticism ในระดับสูงซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อความซึมเศร้า[11]

ใกล้เคียง

แนวคิดวิวัฒนาการเกี่ยวกับความซึมเศร้า แนวคิดปฏิเสธเอดส์ แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท แนวคิดหลังยุคนวนิยม แนวคิดว่าด้วยกัมพูชาในช่วงการปฏิวัติขอม แนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง แนวคิดโลกเป็นศูนย์กลาง แนวคิดโฮจิมินห์ แนวคิดไกสอน พมวิหาน แนวคิดที่ตรงกันข้ามกับประชาธิปไตย

แหล่งที่มา

WikiPedia: แนวคิดวิวัฒนาการเกี่ยวกับความซึมเศร้า http://www.abc.net.au/rn/science/mind/stories/s107... http://www.biopsychiatry.com/depression/adaptive.h... http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S01650... http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S01650... http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S10905... http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S10905... http://books.google.com/?id=aVh9jtWbG0wC&pg=PA95&d... http://books.google.com/?id=toRX7Zyo_pMC http://www.nature.com/mp/journal/vaop/ncurrent/pdf... http://query.nytimes.com/gst/fullpage.html?res=980...