แนวคิดว่าด้วยกัมพูชาในช่วงการปฏิวัติขอม

ประวัติศาสตร์กัมพูชามาจากพระราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา และบันทึกราชทูตคังไถ่ราชฑูตชาวจีนในสมัยอาณาจักรอู๋ และบันทึกของ โจว ต้ากวน ราชฑูตจีนในสมัยราชวงศ์เหวียนที่เข้ามายังเมืองพระนครหลวงในสมัย พระเจ้าอินทรวรมันที่ 3 โดยพระราชพงศาวดารกรุงกัมพูชาฉบับรบากษัตริย์ระบุว่าพระเจ้าแตงหวานหรือพระบาทสมเด็จพระศรีสุริโยพันธุ์ที่ 1 เป็นพระมหากษัตริย์ในบรรดาพระมหากษัตริย์ทั้ง 19 พระองค์ของจักรวรรดิเขมร แม้พระองค์จะทรงปกครองเพียงช่วงเวลาสั้นๆ แต่ก็เป็นช่วงเวลาสำคัญของการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์กัมพูชา แนวคิดว่าด้วยกัมพูชาในช่วงการปฏิวัติขอมนั้นเกิดจากการวิเคราะห์จากนักวิชาการและนักประวัติศาสตร์ไทยหลายคน ซึ่งมองว่าพระราชพงศาวดารกรุงกัมพูชาอาจไม่มีความน่าเชื่อถือ แต่ได้นำพงศาวดารของสยาม จามปา และจีน ที่มีการบันทึกช่วงเวลาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกันกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในกัมพูชาบางเหตุการณ์ที่มีความสอดคล้องกันกับช่วงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นมาวิเคราะห์จนเกิดเป็นแนวคิดขึ้นมา

ใกล้เคียง

แนวคิดวิวัฒนาการเกี่ยวกับความซึมเศร้า แนวคิดปฏิเสธเอดส์ แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท แนวคิดหลังยุคนวนิยม แนวคิดว่าด้วยกัมพูชาในช่วงการปฏิวัติขอม แนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง แนวคิดโลกเป็นศูนย์กลาง แนวคิดโฮจิมินห์ แนวคิดไกสอน พมวิหาน แนวคิดที่ตรงกันข้ามกับประชาธิปไตย