เบื้องหลัง ของ แนวรบด้านตะวันออก_(สงครามโลกครั้งที่สอง)

แม้เยอรมนีกับสหภาพโซเวียตจะชังในอุดมการณ์ของอีกฝ่าย แต่ทั้งสองต่างไม่ชอบผลของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งด้วยกัน สหภาพโซเวียตเสียดินแดนผืนใหญ่ในยุโรปตะวันออกไป อันเป็นผลมาจากสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ ซึ่งได้ยกให้ตามข้อเรียกร้องของเยอรมนีและยอมยกโปแลนด์ ลิทัวเนีย เอสโตเนีย ลัตเวียและฟินแลนด์ ฯลฯ ให้แก่ "ฝ่ายมหาอำนาจกลาง" ต่อมา เมื่อเยอรมนียอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรบ้าง ดินแดนเหล่านี้ถูกปลดปล่อยภายใต้เงื่อนไขของการประชุมสันติภาพปารีส ค.ศ. 1919 แต่ขณะนั้นรัสเซียอยู่ในภาวะสงครามกลางเมือง ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่รับรองรัฐบาลบอลเชวิค และสหภาพโซเวียตยังไม่ถูกก่อตั้งขึ้นจนอีก 4 ปีให้หลัง ฉะนั้นจึงไม่มีผู้แทนรัสเซียเข้าร่วมประชุม

สนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ซึ่งมีการลงนามเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1939 เป็นความตกลงไม่รุกรานระหว่างนาซีเยอรมนีกับสหภาพโซเวียต ซึ่งมีพิธีสารลับที่มุ่งย้อนยุโรปกลางคืนสู่สถานะเดิมก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยการแบ่งดินแดนระหว่างเยอรมนีกับสหภาพโซเวียต ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวียและลิทัวเนียจะกลับไปอยู่ในการควบคุมของโซเวียต ขณะที่โปแลนด์และโรมาเนียจะถูกแบ่งระหว่างทั้งสอง

ตามข้อมูลของแอนดรูว์ นากอร์สกี (Andrew Nagorski) (2007; The Greatest Battle) อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้ประกาศเจตนารมณ์ในการบุกครองสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1939 ต่อคาร์ล ยาคอบ บูร์คฮาร์ดท์ ข้าหลวงสันนิบาตชาติ โดยกล่าวว่า "ทุกอย่างที่ผมทำมุ่งต่อต้านพวกรัสเซีย ถ้าทางตะวันตกโง่และตาบอดเกินกว่าจะฉวยสิ่งนี้ เช่นนั้นผมจะถูกบังคับให้หันไปทำความตกลงกับพวกรัสเซีย เอาชนะตะวันตก และจากนั้นหลังประเทศเหล่านั้นแพ้แล้ว ค่อยหันกำลังของผมทั้งหมดต่อสหภาพโซเวียต ผมต้องการยูเครนเพื่อที่เขาจะทำให้เราอดอยากไม่ได้ เหมือนที่เคยเกิดในสงครามครั้งที่แล้ว"

เยอรมนีกับสหภาพโซเวียตบุกครองและแบ่งโปแลนด์ใน ค.ศ. 1939 เดือนพฤศจิกายนปีนั้น หลังฟินแลนด์ปฏิเสธเงื่อนไขสนธิสัญญาความร่วมมือร่วมกันของโซเวียต สหภาพโซเวียตจึงรุกรานฟินแลนด์ในสงครามที่ต่อมาได้ชื่อว่า สงครามฤดูหนาว ซึ่งเป็นความขัดแย้งอันขมขื่นที่ลงเอยด้วยชัยชนะเพียงบางส่วนของโซเวียต เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 สหภาพโซเวียตยึดครองและผนวกรัฐบอลติกทั้งสามอย่างมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นพฤติการณ์ที่ละเมิดอนุสัญญาเฮกปี 1899 และ 1907 อนุสัญญาและสนธิสัญญาทวิภาคีที่สหภาพโซเวียตลงนามกับรัฐบอลติกจำนวนมาก และรัฐตะวันตกส่วนมากไม่เคยรับรอง[7] สนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพให้หลักประกันอย่างเห็นได้ชัดแก่โซเวียตในการยึดครองทั้งรัฐบอลติกและภูมิภาคทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของโรมาเนีย (บูโควินาเหนือและเบสซาราเบีย) แม้ฮิตเลอร์จะประกาศการบุกครองสหภาพโซเวีตย โดยอ้างการผนวกดินแดนบอลติกและโรมาเนียของโซเวียตว่าละเมิดความเข้าใจต่อสนธิสัญญาฯ ของเยอรมนี ดินแดนโรมาเนียที่ถูกผนวกนั้นถูกแบ่งระหว่างสาธารณรัฐโซเวียตยูเครนและมอลโดวา

ใกล้เคียง

แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง) แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง) แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง) แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง) แนวรบด้านตะวันตก เหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง แนวรบยูเครนที่ 1 แนวรบเบียโลรัสเซียที่ 1 แนวรบทะเลทราย แนวรบด้านเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลาง แนวรบด้านตะวันออกของสงครามกลางเมืองอเมริกา

แหล่งที่มา

WikiPedia: แนวรบด้านตะวันออก_(สงครามโลกครั้งที่สอง) http://rkkaww2.armchairgeneral.com/ http://www.borodulincollection.com/war/english/ind... http://www.feldgrau.com/index.html http://books.google.com/books?ei=cm01R5fMF5SysgP38... http://books.google.com/books?vid=ISBN076030923X&i... http://www.onwar.com/maps/wwii/eastfront1/index.ht... http://www.questia.com/PM.qst?a=o&d=22785646 http://www.balsi.de/Weltkrieg/Verlauf/Russland/Rus... http://www.russlandfeldzug.de/ http://www.torweihe.de/