รูปแบบการแข่งขัน ของ แบทเทิลออฟเดอะเยียร์

รูปแบบการแข่งขันรอบคัดเลือกระดับโลก

รูปแบบการแข่งขันในรอบคัดเลือกเป็นการแสดงเบรกแดนซ์ในรูปแบบปกติต่าง ๆ เพื่อแสดงความสามารถของทีม โดยจำกัดเวลาไว้ไม่เกิน 6 นาที กรรมการตัดสินจะตัดสินโดยใช้เงื่อนไขบางประการ ขึ้นอยู่กับการแสดง รอบนี้เรียกว่ารอบโชว์เคส (Showcase Round) รอบต่อมาจากรอบโชว์เคส สี่ทีมที่มีคะแนนสูงสุดจากการตัดสินในรอบแรก จะได้รับเลือกเพื่อแข่งขันในรอบรองสุดท้ายในประเภททีมปะทะทีม (Crew VS Crew) แบบเพลย์ออฟ ในรอบนี้ ทีมที่มีคะแนนเป็นอันดับ 1 จะแข่งกับทีมอันดับ 4 และทีมอันดับ 2 จะแข่งกับทีมอันดับ 3 โดยผู้ชนะในแต่ละคู่จะไปแข่งขันต่อในรอบชิงชนะเลิศ นอกจากการแข่งในรอบสุดท้ายแล้ว ยังมีการมอบรางวัล "การแสดงยอดเยี่ยม" (Best Show) สำหรับทีมที่มีคะแนนการแสดงโชว์เคสสูงสุดอีกด้วย

เกณฑ์การให้คะแนน

ผู้ตัดสินจะประเมินผลของการแสดงในแต่ละรอบเป็นหลักทั้ง ศิลปะ และ เทคนิค ซึ่งรวมไปถึงเกณฑ์การให้คะแนนเป็นหลัก ทั้ง ศิลปะ รวมไปถึงใจความ เพลงประกอบ ความพร้อมเพรียงกัน การออกแบบท่าเต้น และอื่นๆ รวมไปถึงเทคนิคเป็นหลัก ทั้ง TopRock ,Uprock ,FootWork ,PowerMove และอื่นๆ

คุณสมบัติและเบื้องต้น

ผู้ชนะเลิศการแข่งขันรอบสุดท้ายระดับโลกคือสิ่งสำคัญที่สุดในปีต่อไปก็ยังคงรักษาตำแหน่งแชมป์ได้ เหล่านี้คือเป็นการปกป้องตำแหน่งแชมป์ ทีมอื่นๆทั้งหมดต้องมีความเหมาะสมกับการแข่งขันตั้งแต่ต้น โดยปกติแม้ว่าได้มีเกี่ยวข้องประวัติการแข่งขัน เชิญทีมโดยตรงเล็กน้อย (โดยปกติแม้ว่าจะไม่ได้อยู่ทีมส่วนภูมิภาคตั้งแต่ต้นก็ตาม)

คุณสมบัติอีกอย่างคือได้กระตุ้นไปสู่ระบบ 2 จังหวะ (Two Step) ประกอบไปด้วยตัวแทนประเทศ และ ตัวแทนจังหวัด จะเกี่ยวข้องกับประวัติ ประเทศเบื้องต้นในแต่ละบุคคล และส่งทีมเข้าไปแข่งขันระดับโลกรอบสุดท้าย อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปประเทศที่เคยไปแข่งขันระดับภูมิภาคซึ่งจะจัดการแข่งขันกันตลอดทุกปี เช่น เริ่มตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) มีผู้เข้าแข่งขัน BOTY ระดับภูมิภาคเอเชีย จะมีการส่งตัวแทนทีมเข้ามาใหม่ 3 คน เข้าไปสู่การแข่งขันระดับโลก ใน ปี ค.ศ 2006 (พ.ศ. 2549) และปีก่อน ทวีปเอเชียเช่นเดียวกันกับ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จีน และ ไต้หวัน ได้ส่งตัวแทนเข้าไปแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ

ทวีปภูมิภาคส่งตัวแทนเข้าร่วม (ทีม)ประเทศที่เข้าร่วม
BOTY เอเชีย3 จีน,  อินโดนีเซีย,  ญี่ปุ่น,  เกาหลีใต้,  ลาว,  มาเลเซีย,  ฟิลิปปินส์,  สิงคโปร์,  ไต้หวัน,  ไทย,  เวียดนาม
BOTY บอลข่าน1 แอลเบเนีย,  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา,  บัลแกเรีย,  ไซปรัส,  กรีซ,  นอร์ทมาซิโดเนีย,  มอนเตเนโกร,  โรมาเนีย,  เซอร์เบีย,  ตุรกี
BOTY เบเนลักซ์1 เบลเยียม,  ลักเซมเบิร์ก,  เนเธอร์แลนด์
BOTY อีเบเรีย1 โปรตุเกส,  สเปน
BOTY ยุโรปตะวันออก*0 เบลารุส,  เอสโตเนีย,  ลัตเวีย,  ลิทัวเนีย,
BOTY สแกนดิเนเวีย1 เดนมาร์ก,  ฟินแลนด์,  นอร์เวย์,  สวีเดน; ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันBOTYยุโรปตะวันออกเฉียงเหนือรวมอยู่ด้วย
BOTY ยุโรปตะวันออก1 ออสเตรีย,  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา,  โครเอเชีย,  ฮังการี,  สโลวีเนีย,  เช็กเกีย,  โปแลนด์,  สโลวาเกีย

(สแกดิเนเวีย BOTY ได้ถูกเชิญให้ประเทศที่เป็นสมาชิกยุโรปตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย)

ตามที่ที่ตารางได้มีการแสดง และประเทศไว้ รวมไปถึงทีมที่เข้าร่วมมากที่สุดเข้าไปแข่งขันในรอบสุดท้าย ตั้งแต่ ฤดูกาลปี 2007

ประเทศแรก (ในแต่ละทีม) บราซิล, ฝรั่งเศส , เยอรมัน ,อิสราเอล , อิตาลี ,แอฟริกาใต้ , สวิตเซอร์แลนด์ ,สหรัฐอมเริกา

  • BOTY ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ในส่วนภูมิภาค ได้ถูกยกเลิก เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) BOTYได้ประกาศว่าประเทศที่เป็นสมาชิกยุโรปตะวันออกเฉียงเหนือ ได้เข้าไปร่วมกับBOTY สแกดิเนเวียรวมอยู่ด้วย

รูปแบบการแข่งขันรอบสุดท้าย

ก่อนปี พ.ศ. 2549 การแข่งขันโบตีไม่ได้เป็นการแข่งขันแบบเพลย์ออฟ แต่มีการแข่งขันเพียงสองกลุ่ม คือกลุ่มเบรกแดนซ์สองกลุ่มแรกจะแข่งชิงชนะเลิศ และอีกสองกลุ่มที่เหลือจะแข่งเพื่อชิงอันดับสาม โดยมีกรรมการตัดสินว่ากลุ่มเบรกแดนซ์ใดสมควรได้เข้าชิงตำแหน่งชนะเลิศ แต่ก็ยังมีรางวัล "การแสดงยอดเยี่ยม" สำหรับกลุ่มเบรกแดนซ์ที่แสดงได้ยอดเยี่ยมตามคำตัดสินของคณะกรรมการอยู่ การที่มีกรรมการตัดสินว่ากลุ่มเบรกแดนซ์ใดสมควรชิงตำแหน่งชนะเลิศนั้น ทำให้มีบ่อยครั้งที่กลุ่มเบรกแดนซ์ได้รับรางวัล "การแสดงยอดเยี่ยม" แต่ไม่ได้เข้าชิงตำแหน่งชนะเลิศ แต่กลับได้เข้าชิงอันดับสามแทน ตัวอบ่างของกลุ่มเบรกแดนซ์ที่อยู่ในกรณีดังกล่าวได้แก่กลุ่ม เบรกเดอะฟังก์ (Break the Funk; พ.ศ. 2547) ไฟร์เวิร์กส์ (Fire Works; พ.ศ. 2546) และกลุ่ม วิชัวช็อก (Visual Shock; พ.ศ. 2544) การเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันรอบสุดท้ายเป็นแบบเพลย์ออฟ ทำให้รูปแบบการแข่งขันของโบตีในรอบสุดท้ายเป็นการแข่งขันของผู้ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกในรอบแรกมาแล้ว เช่น ในรอบอุ่นเครื่องของโบตีในประเทศเกาหลี ใช้ระบบเพลย์ออฟ โดยแต่ละทีมมีผู้เล่น 4 คน และใช้ระบบนี้เป็นเวลาหลายปี

ใน พ.ศ. 2547 มีการจำกัดเวลาการแข่งรอบสุดท้ายของโบตีไว้ที่ 6 นาที โดยหากแสดงเกินเวลา 6 นาที จะนำเวลาที่แสดงเกินไปเป็นส่วนหนึ่งในการหักคะแนนของกรรมการ ข้อกำหนดนี้กำหนดเพื่อให้การแข่งขันรอบสุดท้ายของโบตีจบลงโดยใช้เวลาที่สั้นลงกว่าเดิม โดยในขั้นต้นของการออกกฎ ไม่มีผู้ใดคัดค้านกฎดังกล่าว

ใน พ.ศ. 2533 โบตีซึ่งเป็นที่รู้จักขณะนั้นในชื่อ "การแข่งขันเบรกแดนซ์ระดับนานาชาติ" (อังกฤษ: International Breakdance Cup) ไม่มีการแข่งขันเพื่อหาตำแหน่งชนะเลิศ มีเพียงการแสดงเบรกแดนซ์อย่างเดียว ในปี พ.ศ. 2534 ถึง พ.ศ. 2539 มีการแข่งขันเฉพาะตำแหน่งชนะเลิศ แต่ไม่มีการมอบรางวัล "การแสดงยอดเยี่ยม"

ใกล้เคียง

แบทเทิลฟีเวอร์ เจ แบทเทิลออฟเดอะเยียร์ แบทเทิลชิป ยุทธการเรือรบพิฆาตเอเลี่ยน แบทเทิลสเตเดียม ดี. โอ. เอ็น. แบทเทิลเน็ตเวิร์ค ร็อคแมนเอ็กเซ่ 2 แบทเทิลเรลส์ แบทเทิลกราวด์ (2015) แบทเทิลเน็ตเวิร์ค ร็อคแมนเอ็กเซ่ 3 แบทเทิลกราวด์ (2014) แบทเทิลกราวด์ (2013)