ลักษณะทั่วไป ของ แบรคิโอพอด

Lingula anatina

แบรคิโอพอดอาจจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ แบรคิโอพอดอินอาร์ทิคูเลตที่ใช้กล้ามเนื้อยึดเปลือกฝาทั้งสองให้เชื่อมปะกบเข้าหากัน ขณะที่แบรคิโอพอดอาร์ทิคูเลตเปลือกฝาทั้งสองเชื่อมประกบกันที่แนวหับเผย แบรคิโอพอดทั้งหลายเป็นสัตว์ทะเลพบได้ทั้งที่ยึดเกาะกับพื้นทะเลด้วยอวัยวะที่เรียกว่าเพดิเคิล หรืออาจจะอาศัยอยู่พื้นโคลน แบรคิโอพอดกินอาหารที่แขวนลอยอยู่ในน้ำด้วยอวัยวะที่เรียกว่าโลโฟพอร์ ซึ่งพบได้ให้สัตว์อื่นของไฟลั่มไบรโอซัวและไฟลั่มโฟโรนิดา

แบรคิโอพอดปัจจุบันมีขนาดเปลืกฝาระหว่างน้อยกว่า 5 มม. ถึงมากกว่า 8 ซม. โดยซากดึกดำบรรพ์แบรคิโอพอดจะมีขนาดเปลือกฝาในช่วงดังกล่าว แต่แบรคิโอพอดโตเต็มวัยบางชนิดอาจมีขนาดน้อยกว่า 1 มม. และบางชนิดอาจมีขนาดเปลือกฝากว้างถึง 38.5 ซม.

เปลือกฝา

แบรคิโอพอดมีเปลือกฝา 2 เปลือกฝาแม้ว่าจะไม่ได้จัดให้เป็นหอยกาบคู่ โดยที่เปลือกฝาทั้งสองของแบรคิโอพอดจะเป็นเปลือกฝาด้านบนและเปลือกฝาด้านล่างแทนที่จะเป็นเปลือกฝาด้านซ้ายและเปลือกฝาด้านขวา โดยเปลือกฝาทั้งสองของแบรคิโอพอดจะเรียกว่าเปลือกฝาเพดิคอลและเปลือกฝาบราเชียล เปลือกฝาเพดอลถูกยึดติดกับเพดิคอลและมีกล้ามเนื้อแอดจัสเตอร์ยึดตรึงไว้ เปลือกฝาแบรเชียลอยู่ที่แบรเชียเดียรองรับอวัยวะโลโฟพอร์ แบรคิโอพอดจะเหมือนแอมโมไนต์คือมีลักษณะหกคะเมนด้วยเปลือกฝาเพดิคอลเป็นด้านท้องและเปลือกฝาแบรเชียลเป็นด้านหลัง ซึ่งไม่เป็นจริงในธรรมชาติ

โครงสร้างเปลือกฝาอาร์ทิคูเลต

เปลือกฝาของแบรคิโอพอดอาร์ทิคูเลตจะประกอยด้วยสารแคลเซียมคาร์บอเนต เปลือกฝาประกอบด้วยชั้นลามินาร์อยู่ด้านนอกและชั้นไฟบรัสอยู่ด้านในซึ่งเอียงลาดเข้าหาชั้นลามินาร์ไปในทิศทางเข้าหาขอบของเปลือกฝา ชั้นไฟบรัสมีช่องเปิดที่เรียกกันว่าพัลเลียลไซนัสซึ่งขณะที่มีชีวิตจะมีวัตถุแมนเทิล ลักษณะรูปแบบของพัลเลียลไซนัสในซากดึกดำบรรพ์จะใช้ในการวินิจฉัยแบรคิโอพอดสกุลต่างๆ

เปลือกฝาแบรคิโอพอดอาร์ทิคูเลตอาจเป็นแบบอิมพังเทต พังเทต หรือซูโดพังเทต เปลือกฝาแบบอิมพังเทตจะทึบยกเว้นส่วนของช่องเปิดพัลเลียลในชั้นไฟบรัส เปลือกฝาแบบพังเทตจะมีรูเล็กๆของทิวบูลหรือพอร์หรือที่เรียกว่าพังตัมที่แผ่ขยายออกไปจากด้านในของชั้นไฟบรัส ไปจนเกือบทั้งหมดด้านนอกของชั้นลามินาร์ ส่วนเปลือกฝาแบบซูโดพังเทตมีรูปร่างเป็นแท่งของแร่แคลไซต์ไร้โครงสร้างในชั้นไฟบรัสที่อาจผุพังไปเหลือเปิดออกมาที่อาจเข้าใจว่าเป็นพังตัม