วิเคราะห์ ของ แปะเฉีย

ล่อกวนตง ผู้เขียนวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ได้บิดเบือนคำพูดของโจโฉที่พูดหลังจากสังหารครอบครัวของแปะเฉีย การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดคือการเปลี่ยนคำว่า "ผู้อื่น" (人; ความหมายตามตัวอักษรคือ "คน") เป็นคำว่า "โลก" (天下人; ความหมายตามตัวอักษรคือ "คนในใต้ฟ้า"). อี้ จงเทียน ศาสตราจารย์ประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเซี่ยเหมินได้สันนิษฐานว่าโจโฉอาจจะพยายามปลอบใจตัวเองด้วยความสำนึกผิดหลังสังหารครอบครัวของแปะเฉีย อี้ จงเทียนเชื่อว่าล่อกวนตงจงใจเปลี่ยนคำในคำพูดของโจโฉเพื่อสะท้อนว่าโจโฉไม่มีความรู้สึกสำนึกผิด เพราะคำว่า "โลก" มีความหมายที่หนักหน่วงกว่าคำว่า "ผู้อื่น" จึงเป็นการเพิ่มภาพลักษณ์ตัวร้ายของโจโฉในวรรณกรรม [6]