ประวัติ ของ แผนตะวันออก

นับตั้งแต่ได้มีการสร้างชาติโปแลนด์ขึ้นมาใหม่หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุด สาธารณรัฐโปแลนด์ที่สองต้องตกอยู่ท่ามกลางสงครามและความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านเกือบทั้งหมด (สหภาพโซเวียต เยอรมนี ยูเครน ลิทัวเนีย และเชโกสโลวาเกีย) อย่างไรก็ตาม มีเพียงสองประเทศเท่านั้นที่ถูกพิจารณาว่าเป็นภัยคุกคามหลัก - เยอรมนีและสหภาพโซเวียต[1]

ระหว่างช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920-1930 ผู้นำของโปแลนด์มุ่งความสนใจไปยังการรับมือกับภัยคุกคามจากทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นความทรงจำจากสงครามโปแลนด์-โซเวียต ทั้งกองทัพโปแลนด์และรัฐบาลต่างก็เชื่อว่าสงครามกับสหภาพโซเวียตนั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ และยังมีการเตรียมการเหนือกว่าการรับมือในกรณีที่เกิดความขัดแย้งกับเยอรมนี จนกระทั่งหลังจาก ค.ศ. 1935 เมื่อการโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านเยอรมนีเริ่มเข้มข้นขึ้นในเยอรมนี นักวางแผนจึงได้หันมาร่างแผนการตะวันตกเพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากทางตะวันตกที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ที่มั่นและปราการตามแนวชายแดนตะวันออกของโปแลนด์ก็มีจำนวนมากกว่าในทางตะวันตกอยู่มาก

ความขัดแย้งตามแนวชายแดนด้านตะวันออก

แนวชายแดนโปแลนด์ที่ติดต่อกับสหภาพโซเวียตมีความยาวกว่า 1,412 กิโลเมตร ซึ่งเมื่อเทียบกับแนวชายแดนที่ติดกับเยอรมนีแล้ว มีความยาว 1,912 กิโลเมตร แต่แนวชายแดนทั้งสองด้านไม่มีปราการตามธรรมชาติเลย ทำให้การป้องกันเป็นไปด้วยความยากลำบาก

รัฐบาลโซเวียตฉีกสนธิสัญญาสันติภาพริกา ซึ่งลงนามในกรุงมอสโก เมื่อ ค.ศ. 1921 ในตอนต้นของคริสต์ทศวรรษ 1920 สหภาพโซเวียตได้ส่งกองโจรมาโจมตีหัวเมืองโปแลนด์ตามแนวชายแดนหลายครั้ง ซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งกองกำลังป้องกันชายแดน การโจมตีดังกล่าวเกิดขึ้นตลอดทศวรรษ แต่เริ่มลดจำนวนลงเมื่อถึงคริสต์ทศวรรษ 1930 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างโซเวียต-โปแลนด์ เมื่อ ค.ศ. 1932

ใกล้เคียง