เทคนิคการระบุแผนที่ภูมิลักษณ์ ของ แผนที่ภูมิลักษณ์

มีหลายเทคนิคที่ใช้กำหนดแผนที่ภูมิลักษณ์ต่าง ๆ ในสมองในยุคต้น ๆ ความมีอยู่ของแผนที่ภูมิลักษณ์ปรากฏด้วยการกระตุ้นคอร์เทกซ์ด้วยไฟฟ้า ที่ใช้เพื่อสืบหารูปแบบของการชักเหตุโรคลมชัก, ความสัมพันธ์ในสมองต่อตัวกระตุ้น, และความบกพร่องที่เกิดขึ้นเนื่องจากรอยโรคส่วนหลายละเอียดของแผนที่ปรากฏในยุคต่อ ๆ มาด้วยการใช้เทคนิคการกระตุ้นและบันทึกสัญญาณด้วยไมโครอิเล็กโทรดที่กลายเป็นเทคนิคที่ใช้ทั่ว ๆ ไปในการแสดงแผนที่ความรู้สึกทางกาย และหลังจากนั้น ในการแสดงแผนที่ในระบบการได้ยินและระบบการเห็น ทั้งในโครงสร้างในคอร์เทกซ์และทั้งโครงสร้างใต้คอร์เทกซ์เช่น colliculus และ geniculate nucleus ที่อยู่ในทาลามัส[27]

หลังจากนั้นมา Single-cell recording (การบันทึกสัญญาณในเซลล์เดียว), Transcranial magnetic stimulation (การกระตุ้นสมองผ่านกะโหลกด้วยแม่เหล็ก), การกระตุ้นคอร์เทกซ์ด้วยไฟฟ้า และการสร้างภาพสมองโดยกิจด้วยเรโซแนนท์แม่เหล็ก (fMRI) ก็กลายเป็นเทคนิคที่ใช้ในการศึกษาแผนที่ต่าง ๆ ในสมองแผนที่ภูมิลักษณ์ที่มีอยู่แล้วก็ได้รับการศึกษาเพิ่มเติมโดยใช้ fMRI ด้วยตัวอย่างเช่น ฮูเบลและวีเซิลเป็นผู้เริ่มต้นในการศึกษาแผนที่ภูมิลักษณ์ของเรตินาในคอร์เทกซ์สายตาปฐมภูมิโดยใช้ single-cell recordingแต่พึ่งเร็ว ๆ นี้ ก็มีการทำภาพของแผนที่ภูมิลักษณ์ของเรตินาในคอร์เทกซ์และในเขตใต้เปลือกสมองอื่น ๆ เช่น lateral geniculate nucleus ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยใช้เทคนิค fMRI[28]