การผลิต ของ แผ่นปะปัก

แผ่นปะตำรวจเยอรมัน

ก่อนการถือกำเนิดของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แผ่นปะถูกสร้างขึ้นด้วยมือ อย่างไรก็ตาม กระบวนการทั่วไปยังคงเหมือนเดิมในปัจจุบัน ขั้นแรก ผ้าด้านหลังจะถูกตัดให้เป็นรูปทรงเพื่อป้องกันการหลุดลุ่ย ขอบของแผ่นรองจะถูกผนึกด้วยความร้อน จากนั้นจึงเย็บด้ายเข้าที่แผ่นงาน การออกแบบบางแบบจะใช้ส่วนรองรับเป็นพื้นหลังของแผ่นปะ ในขณะที่บางแบบใช้การเย็บปิดส่วนด้านหลังทั้งหมด เพื่อให้แผ่นปะเสร็จสิ้น อาจใช้กาวรีดที่ด้านหลังซึ่งเป็นขั้นตอนที่ในยุคสมัยแรกไม่มีใช้งาน

เครื่องจักรที่ถูกสร้างขึ้นระหว่างการปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 ได้เปลี่ยนการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปด้วยเทคโนโลยี เช่น เครื่องทอผ้าไฟฟ้าและจักรเย็บผ้า ทำให้ผ้ามีคุณภาพที่คงที่มากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอย่างมาก การปักซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นกระบวนการเย็บแบบเย็บด้วยมือซึ่งใช้เวลานานมาก่อน ได้รับการปฏิวัติโดยการนำเครื่องปักชิฟฟลีมาใช้ ซึ่งคิดค้นโดยไอแซค โกรบลี (Isaak Groebli) ชาวสวิตเซอร์แลนด์ในปี พ.ศ. 2406[3] เครื่องทำงานด้วยระบบสองด้ายเช่นเดียวกับจักรเย็บผ้าในช่วงการผลิตช่วงแรกจากเครื่องจักรหลายเข็มซึ่งขับเคลื่อนโดยข้อเหวี่ยงที่หมุนด้วยมือนั้นไม่ได้เร็วกว่างานฝีมือมากนัก แต่มีข้อแตกต่างที่สำคัญคือสามารถสร้างสำเนาของการออกแบบที่เหมือนกันหลายชุดได้ เครื่องจักรของโกรบลีใช้การผสมผสานระหว่างเข็มที่ร้อยด้ายอย่างต่อเนื่องและกระสวยที่มีกระสวยด้าย ตัวกระสวยนั้นดูคล้ายกับตัวเรือ "ชิฟฟลี" แปลว่า "เรือลำเล็ก" ในภาษาสวิสของภาษาเยอรมัน ดังนั้นเครื่องจักรของเขาจึงเป็นที่รู้จักในชื่อเครื่องจักรชิฟฟลี[4] เครื่องจักรอัตโนมัติซึ่งได้รับการออกแบบปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพโดยลูกชายคนโตของไอแซคในปี พ.ศ. 2441 ทำให้ระบบกลไกเรียบง่ายขึ้น จึงสามารถทำงานโดยผู้ปฏิบัติงานเพียงคนเดียว

ประเภทของการเย็บ เช่น ตะเข็บลูกโซ่ ตะเข็บรังดุมหรือตะเข็บผ้าห่ม ตะเข็บเนา การปักทึบ และการปักครอสติส ล้วนเป็นพื้นฐานของการปัก แผ่นปะมักทำมาจากการเย็บแบบลูกโซ่ ปักทึบ และการเย็บชายผ้า และการทำงานของเครื่องจักรต้องใช้ด้ายหลายเส้น

เทคโนโลยีขั้นสูงช่วยให้การออกแบบแทบทุกชนิดสามารถสร้างขึ้นใหม่โดยใช้ด้ายปักบนแพทช์ปัก ภาพที่ก่อนหน้านี้ทำด้วยมือด้วยกระบวนการที่ใช้เวลานานสามารถใช้วิธีการสแกนได้อย่างรวดเร็ว การสแกนแบบดิจิทัล และควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งจักรเย็บผ้าหลายหัวจะสามารถใช้ด้ายหลายสีปักได้พร้อมกัน

ความก้าวหน้าสมัยใหม่อื่น ๆ ได้แก่ การใช้พลาสติกรองบนแผ่นปะ การปรับปรุงความแข็ง และป้องกันการพันกันหรือรอยยับจากการออกแบบ แผ่นแปะมักจะถูกไดคัทเป็นรูปทรงเฉพาะโดยมีขอบที่ป้องกันไม่ให้เกิดการหลุดลุ่ยออกโดยการเย็บแบบเสิร์จ ด้ายผสมโพลีเอสเตอร์มีสีติดทนและมีความทนทานที่มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับด้ายฝ้ายแบบเดิม

แหล่งที่มา

WikiPedia: แผ่นปะปัก https://web.archive.org/web/20060411072120/http://... https://web.archive.org/web/20230315022259/https:/... http://www.tioh.hqda.pentagon.mil/ https://www.trc-leiden.nl/trc-needles/tools/embroi... http://www.mesadist.com/history.asp https://www.defense.gov/News/Feature-Stories/Story... https://www.wikidata.org/wiki/Q384074#identifiers https://d-nb.info/gnd/7565686-3 https://id.ndl.go.jp/auth/ndlna/00560290 https://web.archive.org/web/20200713230658/http://...