แผ่นพม่า
แผ่นพม่า

แผ่นพม่า

แผ่นพม่า (อังกฤษ: Burma Plate) เป็นแผ่นธรณีแปรสัณฐานขนาดเล็กในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บางครั้งถูกพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นยูเรเชียที่มีขนาดใหญ่กว่า โดยหมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ และเกาะสุมาตราตะวันตกเฉียงเหนือตั้งอยู่บนแผ่นนี้ หมู่เกาะรูปโค้งนี้เป็นตัวแบ่งทะเลอันดามันออกจากมหาสมุทรอินเดียทางตะวันตกทางตะวันออกของแผ่นนี้เป็นแผ่นซุนดา ซึ่งถูกแยกด้วยแนวแผ่นเปลือกโลกตามรอยเลื่อนแปรสภาพ ที่ทอดตัวไปตามแนวเหนือใต้ตามทะเลอันดามัน ขอบเขตนี้อยู่ระหว่างแผ่นพม่าและแผ่นซุนดาซึ่งเป็นการขยายตัวของพื้นมหาสมุทรบริเวณขอบ ซึ่งนำไปสู่ช่องเปิดในทะเลอันดามัน (จากทางใต้) โดยการ "ดัน" หมู่เกาะรูปโค้งอันดามัน-นิโคบาร์-สุมาตราออกจากแผ่นดินใหญ่ของเอเชีย ซึ่งเป็นกระบวนการที่เริ่มต้นอย่างจริงจังเมื่อประมาณ 4 ล้านปีก่อนทางตะวันตกเป็นแผ่นอินเดียที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งมุดตัวลงทางตะวันตกของแผ่นพม่า เขตมุดตัวที่กว้างขวางนี้เกิดเป็นร่องลึกซุนดา

แผ่นพม่า

ลักษณะภูมิศาสตร์ ทะเลอันดามัน
ประเภท ขนาดเล็ก
อัตราเร็ว1 46 มม./ปี
การเคลื่อนตัว1 ทิศเหนือ
พื้นที่โดยประมาณ 1,100,000 กม.2[1]