แผ่นหน่วงคลื่น
แผ่นหน่วงคลื่น

แผ่นหน่วงคลื่น

แผ่นหน่วงคลื่น (waveplate หรือ retarder) เป็นอุปกรณ์ทางทัศนศาสตร์ ที่ใช้เปลี่ยนสถานะโพลาไรเซชัน ของคลื่นแสงที่เคลื่อนที่ผ่านหลักการทำงานคือทำให้เกิดการเลื่อนเฟส ระหว่างสององค์ประกอบในแนวตั้งฉากกันของโพลาไรเซชัน แผ่นหน่วงคลื่นโดยทั่วไปทำจากผลึกที่มีสมบัติทำให้เกิดการหักเหสองแนวได้ เช่น ไอซ์แลนด์สปาร์ ที่มีความหนาเฉพาะซึ่งเลือกมาอย่างระมัดระวัง ผลึกจะถูกตัดเพื่อให้แกนวิสามัญขนานกับพื้นผิวของแผ่น เมื่อดรรชนีหักเหของแสงวิสามัญมีค่าน้อยกว่าดรรชนีหักเหของแสงสามัญ เช่น ในแคลไซต์ แกนวิสามัญจะเรียกว่าแกนเร็วและแกนสามัญจะเรียกว่าแกนช้า แสงโพลาไรซ์บนแกนเร็วจะเคลื่อนที่เร็วกว่าบนแกนช้า ดังนั้นแล้ว องค์ประกอบโพลาไรซ์บนแกนทั้งสองจะเกิดสถานะโพลาไรซ์ที่แตกต่างกัน ได้เป็นแสงแสงที่มีคุณสมบัติการโพลาไรซ์ที่เปลี่ยนไป ความต่างเฟสที่เกิดขึ้นจากแผ่นหน่วงคลื่น Γ {\displaystyle \Gamma } จากองค์ประกอบที่มีความต่างดัชนีหักเหระหว่างคลื่นสามัญกับคลื่นวิสามัญเป็น Δn ที่ความยาวคลื่น λ {\displaystyle \lambda } และความหนา L จะคำนวณได้ตามสูตรต่อไปนี้[1] Γ = 2 π Δ n L / λ {\displaystyle \Gamma =2\pi \,\Delta n\,L/\lambda } ตัวอย่างเช่น แผ่นหน่วงคลื่นแบบหนึ่งในสี่คลื่น (quarter-wave plate) ซึ่งสามารถใช้เป็นโพลาไรเซอร์สำหรับสร้างแสงโพลาไรซ์แบบวงกลม โดยทำให้เกิดความต่างคลื่นหนึ่งในสี่ของความยาวคลื่น คือ 90 องศา และสามารถเปลี่ยนโพลาไรเซชันแบบเส้นตรงไปเป็นโพลาไรเซชันแบบวงกลม หรืออาจทำกลับกันก็ได้[1] ซึ่งทำได้โดยการปรับระนาบของแสงที่ตกกระทบเพื่อให้ทำมุม 45º กับแกนเร็ว จึงทำให้มีแอมพลิจูดเท่ากันสำหรับคลื่นสามัญและคลื่นวิสามัญแผ่นหน่วงคลื่นอีกแบบที่พบได้ทั่วไปคือ แผ่นหน่วงคลื่นแบบครึ่งคลื่น (half-wave plate) ซึ่งจะหน่วงโพลาไรเซชันลงครึ่งหนึ่งของความยาวคลื่น หรือ 180 องศา แผ่นหน่วงคลื่นประเภทนี้จะมีไว้หมุนทิศทางของแสงโพลาไรซ์นอกจากนี้ยังมี แผ่นหน่วงคลื่นแบบเต็มคลื่น (full-wave plate) ซึ่งกำจัดความยาวคลื่นค่าหนึ่ง ๆ ที่กำหนดโดยสิ้นเชิง (มักใช้กับความยาวคลื่นในช่วงแสงสีเขียว)เนื่องจาก การกระเจิง ความแตกต่างของเฟสที่รีทาร์เดอร์แนะนำจะขึ้นอยู่กับ ความยาวคลื่น ของแสง

ใกล้เคียง

แผ่นหน่วงคลื่น แผ่นดินไหว แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 แผ่นดินไหวในคาบสมุทรโนโตะ ค.ศ. 2024 แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง ค.ศ. 1995 แผ่นดินไหวใน พ.ศ. 2561 แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งจังหวัดฟูกูชิมะ ค.ศ. 2022 แผ่นดินไหวในประเทศตุรกีและประเทศซีเรีย พ.ศ. 2566 แผ่นดินไหวใน พ.ศ. 2559