การก่อตัว ของ แพขยะใหญ่แปซิฟิก

แพขยะทะเลตะวันออกก่อตัวขึ้นในลักษณะเช่นเดียวกันกับการเกิดขยะทะเลที่อื่น นั่นคือ ค่อยก่อตัวช้าๆ ที่ละน้อยเป็นเวลานานซึ่งเป็นผลจากมลภาวะทะเลที่มารวมตัวกันโดยกระแสน้ำในมหาสมุทร

แพขยะทะเลจะกินที่กว้างขวางและนิ่งอยู่กับที่ในย่านมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือที่กำกับโดยวังวนใหญ่แปซิฟิกเหนือ (บริเวณห่างไกลที่เรียกันว่า “ละติจูดม้า” หรือ horse latitudes) รูปแบบวงวนที่กระทำโดยวงวนแปซิฟิกเหนือได้ดึงเอาวัสดุต่างๆ ที่เป็นขยะลอยจากมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือทั้งหมดรวมทั้งอเมริกาเหนือและญี่ปุ่น ในขณะที่วัสดุเหล่านั้นถูกจับไว้โดยกระแสน้ำ ลมที่ผิวน้ำก็จะพัดขยะเข้าสู่ศูนย์กลางและติดกับรวมอยู่ด้วยกันในภูมิภาคนั้น

ขนาดที่แท้จริงของบริเวณภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบยังไม่เป็นที่ทราบแน่นอน เพราะขนาดใหญ่ของชิ้นขยะที่สามารถมองเห็นได้จากเรือมีน้อยและอยู่ห่างกัน ขยะเกือบทั้งหมดประกอบด้วยพลาสติกชิ้นจิ๋วจำนวนมากแขวนตัวอยู่ใต้น้ำหรือใกล้ๆ ผิวน้ำ จึงมองเห็นได้ยากจากเครื่องบินหรือจากกล้องถ่ายภาพจากดาวเทียม[6] ขนาดของบริเวณประมาณได้ว่าอยู่ระหว่าง 700,000 กม² ถึงมากกว่า 15 ล้าน km², (0.41% ถึง 8.1% ของขนาดมหาสมุทรแปซิฟิก) ทั้งบริเวณอาจมีขยะทะเลรวมน้ำหนักได้มากกว่า 100 ล้านตัน[7] It has also been suggested that the patch may represent two areas of debris that are linked.[8]

แหล่งของสารมลพิษ

มีการประมาณการว่าร้อยละ 80 ของขยะมาจากแหล่งบนบก ร้อยละ 20 มาจากเรือที่แล่นไปมาในมหาสมุทร ขนาดขยะมีตั้งแต่ขนาดของอวนเก่าที่ถูกทิ้งลงทะเลลงไปจนถึงเม็ดกลมขนาดจิ๋วที่ใช้ในการขัดผิวในอุตสาหกรรมและงานทั่วไป[9] กระแสน้ำใช้เวลาประมาณ 5 ปี พัดขยะเหล่านี้จากชายฝั่งตะวันตกของอเมริกาเหนือเข้าสู่วงวนใหญ่ และ 1 ปีหรือน้อยกว่าจากชายฝั่งตะวันออกของเอเซีย[10][11] โครงการนานาชาตินำโดย ดร. ฮิเดชิเกะ ทากาดะ (Hideshige Takada) แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียวกำลังศึกษาว่าเม็ดพลาสติกกลมขนาดเล็ก หรือ เม็ดพลาสติก (nurdles) จากชายหาดทั่วโลกอาจช่วยเป็นเบาะแสไปถึงต้นตอของแหล่งที่มา รวมทั้งที่มาของแพขยะแปซิฟิกนี้ด้วย[12]

การสลายตัวด้วยแสงของพลาสติกในมหาสมุทร

แพขยะตะวันออกมีส่วนประกอบที่เป็นพลาสติกลอยแขวนในส่วนบนมากที่สุดแห่งหนึ่ง ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้แพขยะตะวันออกมีนักวิจัยศึกษาถึงแรงกระทบและผลกระทบของการเสื่อมสลายต้วยแสง (photodegradation) ของพลาสติกในน้ำทะเลชั้น “นูส์โตนิก” (neustonic) มากที่สุด[13] การเสื่อมสลายด้วยแสงแตกต่างจากการเสื่อมสลายทางชีวภาพ (biodegradation) เพราะเป็นการเสื่อมสลายเป็นชิ้นที่เล็กลงไปเรื่อยๆ โดยยังคงความเป็นพอลิเมอร์ไว้ได้ กระบวนการนี้ต่อเนื่องเล็กลงไปถึงระดับโมเลกุล (molecular level)

ในขณะที่ของลอยในทะเล (flotsam) เสื่อมสลายมีขนาดเล็กลงๆ มันจะแขวยลอยรวมตัวกันอยู่ที่ชั้นบนของน้ำ ขณะที่มันเสื่อมสลาย มันจะมีขนาดเล็กลงมากพอที่จะถูกย่อยด้วยสิ่งมีชีวิตในน้ำทะเลที่อาศัยอยู่ใกล้ส่วนผิวบนของมหาสมุทร ดังนั้น ขยะพลาสติกขนาดจิ๋วเหล่านี้จึงสะสมในห่วงโซ่อาหาร (food chain) ของสิ่งมีชีวิตที่ชุกชุมในน้ำชั้นบน (neuston) ใกล้ผิวมหาสมุทร

ความหนาแน่นของพลาสติกในน้ำทะเลชั้นใกล้ผิว (neustonic plastics)

แม้ ชาลส์ มูร์จะได้พรรณาไว้บ้างแล้วก็ตาม แพขยะตะวันออกก็ยังไม่อาจบอกถึงลักษณะได้ว่าเป็นแพขยะทะเลลอยน้ำหนาแน่นที่มองเห็นได้อย่างต่อเนื่อง กระบวนการเสื่อมสลายทำให้เม็ดพลาสติกที่สร้างผลกระทบในภูมิภาคขนาดใหญ่ของมหาสมุทรมีขนาดเล็กที่ไม่อาจมองเห็นได้ง่าย นักวิจัยประมาณว่าความหนาแน่นทั้งหมดของมลพิษพลาสติกในแพขยะทะเลตะวันออกด้วยการเก็บตัวอย่างที่พบในบางบริเวณเฉพาะของแพขยะว่ามีความหนาแน่นมากถึง 1.6 ล้านชิ้นต่อตารางกิโลเมตร[14] การศึกษาพบว่าการรวมตัวหนาแน่นของพลาสติกอยู่ที่ 3.34 ชิ้นที่มวลเฉลี่ย 5.1 มก. ต่อ 1 ตารางเมตร ในหลายบริเวณที่ได้รับผลกระทบ การรวมตัวหนาแน่นของพลาสติกมีมากกว่าการรวมตัวหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์ (zooplankton) ในบริเวณเดียวกันถึง 7 เท่า ตัวอย่างที่เก็บในชั้นที่ลึกลงไปพบว่ามีการรวมตัวขยะพลาสติกน้อยลง ส่วนมากเป็นเส้นใยอวน ซึ่งเป็นการยืนยันข้อสังเกตที่ว่าขยะพลาสติกเกือบทั้งหมดรวมตัวอยู่ที่ส่วนบนของน้ำทะเล


แหล่งที่มา

WikiPedia: แพขยะใหญ่แปซิฟิก http://www.news.com.au/story/0,23599,23156399-2,00... http://www.alguita.com/gyre.pdf http://kaisei.blipback.com http://www.huffingtonpost.com/laurie-david/e-mails... http://www.mauitime.com/Articles-i-2009-01-29-6858... http://www.naturalhistorymag.com/1103/1103_feature... http://www.nytimes.com/2008/06/22/magazine/22Plast... http://www.aviso.oceanobs.com/fileadmin/documents/... http://www.reuters.com/article/latestCrisis/idUSN0... http://www.sfgate.com/cgi-bin/article.cgi?f=/c/a/2...