การค้นพบ ของ แพขยะใหญ่แปซิฟิก

แพขยะเกิดในวงวนใหญ่ของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือตรงรอยบรรจบของเขตกึ่งร้อน

ได้มีการทำนายการมีแพขยะใหญ่มาตั้งแต่ พ.ศ. 2531 ในรายงานวิจัยตีพิมพ์โดยสำนักงานสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ หรือ (NOAA) ของสหรัฐฯ (National Oceanic and Atmospheric Administration) บนพื้นฐานของผลงานของนักวิจัยประจำสถานีอะแลสการะหว่าง พ.ศ. 2528พ.ศ. 2531 ที่ทำการวัดพลาสติกที่มี “นูสตอน” หรือ จุลชีวินผิวน้ำ (neuston) เกาะอาศัยอยู่[3] ผลงานวิจัยชิ้นนี้พบว่ามีขยะทะเลรวมตัวกันหนาแน่นโดยเฉพาะในย่านที่กำกับโดยกระแสน้ำที่มีรูปแบบเฉพาะ จากการหาค่าด้วยตัวแปรที่ได้จากทะเลญี่ปุ่น นักวิจัยได้นำผลมาใช้เป็นมูลบทว่าในสภาพคล้ายคลึงกันนี้ น่าจะเกิดปรากฏการณ์อย่างเดียวกันในบางส่วนมหาสมุทรแปซิฟิกที่ซึ่งกระแสน้ำประจำเอื้อให้เกิดมวลน้ำที่ค่อนข้างเสถียร กลุ่มนักวิจัยจึงได้บ่งชี้ไปที่วงวนใหญ่มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ[4]

การปรากฏตัวตนของแพขยะขนาดยักษ์นี้ได้รับความสนใจจากสาธารณชนและวงการวิทยาศาสตร์ในวงกว้างขึ้นหลังจาก ชาร์ล มูร์ (Charles Moore) กัปตันเรือและนักวิจัยสมุทรศาสตร์ของแคลิฟอร์เนียได้รวบรวมไว้ในบทความวิชาการหลายรื่อง มูร์ได้กลับเข้าฝั่งผ่านวงวนใหญ่แปซิฟิกเหนือหลังจากเสร็จสิ้นการแข่งเรือ “ทรานแพ็ค” (Transpac) และได้เห็นขยะทะเลที่สะสมลอยตัวอยู่อย่างสุดลูกหูลุกตา

มูร์ได้ส่งสัญญาณเตือนไปถึง นักสมุทรศาสตร์ (oceanographer) ชื่อ เคอร์ติส เอบเบสเมเยอร์ (Curtis Ebbesmeyer) ให้ทราบถึงปรากฏารณ์นี้ รวมทั้งยังได้ตั้งชื่อขยะทะเลนี้ว่า “แพขยะตะวันออก” (East Garbage Patch - EGP) พื้นที่บริเวณนี้ได้ปรากฏรายงานข่าวและเรื่องราวในสื่อต่างๆ มากมายโดยยกเป็นตัวอย่างสำคัญของมลภาวะทางทะเล (marine pollution)[5]

แหล่งที่มา

WikiPedia: แพขยะใหญ่แปซิฟิก http://www.news.com.au/story/0,23599,23156399-2,00... http://www.alguita.com/gyre.pdf http://kaisei.blipback.com http://www.huffingtonpost.com/laurie-david/e-mails... http://www.mauitime.com/Articles-i-2009-01-29-6858... http://www.naturalhistorymag.com/1103/1103_feature... http://www.nytimes.com/2008/06/22/magazine/22Plast... http://www.aviso.oceanobs.com/fileadmin/documents/... http://www.reuters.com/article/latestCrisis/idUSN0... http://www.sfgate.com/cgi-bin/article.cgi?f=/c/a/2...